ชื่ออื่นๆ : ขอบชะนางขาว หนอนตายอยากขาว หนอนขาว (ไทยภาคกลาง) ขอบชะนางแดง หนอนตายอยากแดง หนอนแดง (ไทยภาคกลาง) หญ้าหนอนตาย (เหนือ) หญ้ามูกมาย (สระบุรี) ตาสียาเก้อ ตอสีเพาะเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pouzolzia pentandra Benn.
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป้นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า และเลื้อยแผ่ไปตามดินแต่ยอดจะตั้งขึ้น มี ๒ ชนิด คือ ขอบชะนางแดง กับ ขอบชะนางขาว และมีลำต้นขนาดโตกว่าก้านไม่ขีดไฟเล็กน้อย
ใบ : เป็นใบเดี่ยวจะออกสลับกัน รูปเป็น รูปปลายหอก ในขอบใบชะนางแดง ส่วนรูปใบของขอบใบชะยางขาว จะมีลักษณรูปค่อนข้างมนและกลม เส้นใบของทั้งสองชนิด จะเห็นเด่นชัดเป็น ๓ เส้น ใบจะโตประมาณ ๒ กระเบียดนิ้ว ยาวประมาณ ๑ นิ้วครึ่ง ถึง ๑ นิ้วฟุต ส่วนสีและใบของต้นขอบชะนางจะสีม่วงอมแดง เฉพาะแผ่นใบนั้นสีจะเด่นชัดคือ หลังใบจะมีสีเขียวเข้มอมแดง ท้องใบจะเป็นสีแดงคล้ำ และสีของขอบใบชะนางเป็นสีขางอ่อน ๆ รวมทั้งชนิดจะมีขนเล็กน้อยบนต้นและแผ่นใบ
ดอก : จะมีขนาดเล็ก และจะออกเป็นกระจุกระหว่างซอกใบและกิ่งเป็นดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย ดอกของขอบชะนางแดงมีสีแดงส่วนดอกของขอบชะนางขาว จะเป็นสีเขียวอมเหลือง
ผล : แห้งไม่แตกแบบ achene
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้ผล เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามเรือกสวนริมร่อง และตามพื้นที่ร่มเย็นี่มีอิฐปูนเก่า ๆ หรือที่ผุพัง
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ต้นและดอก ใบสด เปลือกของต้น
สรรพคุณ
- ทั้งต้น นำมาปิ้งไฟและชงกับน้ำเดือด ใช้ขับพยาธิในเด็ก
- ต้นและดอกใบ จะมีรสเมาเบื่อ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก เอามาในปากไหปลาร้าที่หนอน อีกไม่นานหนอนก็จะตาย
- ต้นสด ใช้ตำเป็นยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลง วัวควายที่เป็นแผลจนเน่าขนาดใหญ่ หนอนจะตายและจะช่วยรักษาแผลด้วย
- เปลือกของต้น ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น หุงน้ำมันทาริดสีดวง หรือจะใช้ต้มผสมเกลือให้เค็มนำมารักษาโรครำมะนาด ขอบชะนางทั้ง ๒ ชนิด นำมาปรุงรับประทานเป็นยาขับเลือด และขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน
ตำรับยา
ปวดฟัน ให้ใช้ผลแห้ง บดเป็นผง แล้วใช้ทาบาง ๆ ตามบริเวณจมูกและอุดฟัน
ปวดท้อง อาเจียนเป็นฟอง เบื่ออาหาร ให้ใช้ผลแห้งเอกเปลือกออกใส่พริกห้าง (Piper longum) เปลือกอบเชย แปะซุก (Atractylodes macrocephala koidz.) ตังกุย (Angelica sinensis Diels) นำมาคั่วและบดหยาบ ๆ โสม (Panax ginseng C.A. Mey.) แล้วตัดส่วนหัวออก ใช้อย่างละ ๑๕ กรัม หู่จี้ (Aconitum carmichaeli Debx.) แล้วคั่วให้แตกบดพอหยาบ ๆ เปลือกส้ม ๑ กรัมนำมาแช่น้ำเอาใยสีขาวออก แล้วคั่วไฟพอเหลือง ซวงเจีย (Zanthoxylum bugeanum Maxim.) คั่วพอให้หอม ๑ กรัม นำทั้งหมดมารวมกันบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วทำเป็นยาเม็ดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ใช้รับประทานกับน้ำขิงครั้งละ ๓๐ เม็ด เมื่อเริ่มมีอาการ
ขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตร และเป็นยาระบายใช้เหง้าสด เอามาตำแล้วคั้นเอาน้ำ ๑ แก้ว ผสมมะขามเปียกและเกลือใช้รับประทานได้
เป็นเกลื้อน ให้นำเหง้าสดามหั่นเป็นแผ่น จุ่มเหล้าขาวทาบริเวณที่เป็น ๒ เวลา เช้า-เย็น หรือใช้เหง้าแห้งนำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำมะพร้าวใช้ทา
ข้อมูลทาง เภสัชวิทยา
เมล็ดพบว่ามีสาร l -acetoxychavicol acetate และ l- acetoxyeugenol cetate ที่มีฤทธิ์รักษาแผลเรื้อรังที่กระเพาะอาหารและลำไส้
สารที่สกัดด้วยปิโตเลียมอีเธอร์จกเหง้า จะมีฤทธิ์ สามารถช่วยขับเสมหะในกระต่ายได้ค่อนข้างดี และทำใมีเมือกในหลอดลมมากขึ้น และส่วนที่ระเหยไปช่วยกระตุ้นต่อมขับน้ำเมือกที่มีหลอดลม และส่วนที่ไม่ระเหยจะซึมผ่านเยื่อที่กระเพาะอาหาร จะมีผลทำให้ขับเสมหะ น้ำมันระเหยของพรรณไม้นี้มีฤทธิ์ระคายเคือง ต่อผิวหนังและเยื่อเมือก เมื่อกินเข้าไปจะมีฤทธิ์ขับลมและลดกการบีบตัของลำไส้ที่บีบตัวแรงผิดปรกติ นอกจากนี้ยังใช้ทำยาพ่น มีฤทธิ์ฆาแมลงวันได้ดี
หมายเหตุ : ยอดอ่อนที่แตกใหม่ นำมากลั่นด้วยไอน้ำ รักษาอาการปวดหู ดอกสด ใช้รักษาโรคเกลื้อน เหง้าอ่อน ใช้ปรุงอาหาร บรรเทาอาการปวดมวนท้องดีช่วยขับลมในลำไส้ ใบ ใช้รักษากลาก แล้วใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอด และรัาาอาการปวดเมือยตามข้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น