วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข่อยหยอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus ilicifolius (Vidal) Corner

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ข่อยหยอง , ข่อยหนาม , กะชึ่ม , ข่อยเตี้ย , ผักรูด (ประจวบฯ) ข่อยดิน, หัสสะท้อน (เหนือ) ,ชาป่า (ศรีราชา) , กันทรง (สุราษฎร์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น : สมุนไำพรข่อยหยองเป็นพรรณไม้ยืนต้นพุ่มขนาดกลาง มีหนามยาว 2 – 3 ซม. เรียงสลับรอบลำต้น

ใบ : ใบข่อยหยองเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ขนาดใบ 2 x 4 ซม. ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ใบเหนียว แข็ง ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน ริมขอบใบเป็นจักรมีหนามแหลมคม

ดอก : ดอกข่อยหยองมีขนาดเล็กเป็นช่อเล็ก ๆ ออกตามกิ่ง

ผล : ลักษณะผลฉ่ำน้ำ มีเมล็ดเดี่ยว แข็ง

ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ ราก ใบ ใช้เป็นยา

สรรพคุณของสมุนไพร

เนื้อไม้และราก ใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับเมือกในลำไส้ และรักษาโรคกษัย ไตพิการ

ใบ รสเมาเฝื่อน ตำกับข้าวสาร คั้นเอาน้ำดื่มทำให้อาเจียนถอนพิษยาเบื่อเมาหรืออาหารแสลง

อื่น ๆ : ข่อยหยองเป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามป่าบนเนินเขา

ถิ่นที่อยู่ : ข่อยหยองมีถิ่นกำเนิดอยู่ในปากถ้ำวิมาณจักรี จังหวัดสระบุรี และที่เขากระวาน จังหวัดจันทบุรี กับตำบลทุ่งกร่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...