
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleracea var. alboglabra
คะน้ายอด หรือคะน้าก้าน จัดอยู่ในตระกูล Cruciferaceae มีแหล่งกำเนิดแถบเอเชียไมเนอร์ ลักษณะโดยทั่วไปของคะน้ายอด หรือคะน้าก้าน ลำต้น และก้านใบ อวบ ใหญ่ มีข้อตามลำต้น ใบค่อนข้างแหลม เรียบ สีเขียวอมเทา จำนวนใบต่อต้นน้อยกว่าคะน้าทั่วไป และปล้องยาวกว่า มีน้ำหนักส่วนต้นและก้านมากกว่าใบ ตามักจะแตกออกเป็นยอดใหม่ หลังจากเก็บยอดแรกที่มีช่อดอกตูมติด
สภาพแวดล้อมในการปลูกคะน้ายอด
โดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการปลูกคะน้ายอด อยู่ระหว่าง 20-25 ‘C การปลูกในสภาพอากาศหนาวเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำกว่า 15′C จะทำให้การเจริญเติบโตช้า ลำต้นและใบอวบใหญ่กว่าปกติ ข้อถี่ การปลูกในสภาพอากาศร้อนสูงกว่า 30′C คุณภาพผลผลิตต่ำ เยื่อใยสูง เหนียว จำเป็นต้องให้น้ำมากกว่าปกติ สำหรับพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-800 เมตร สามารถปลูกได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิการยน-กุมภาพันธ์ ส่วนพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
สำหรับดินปลูกควรร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกการระบายน้ำดี ค่าความเป็นกรด-ด่างดินควรอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 หากพื้นที่ปลูกเป็นกรดควรปรับด้วยปูนขาว หรือโดโลไมท์ ดินปลูกควรมีความชื้นสูงมากกว่าพืชทั่วไป ดังนั้นต้องให้นน้ำอย่างสม่ำเสมอ และพอเพียง และำ้ได้รับแสงอย่างเต็มที่ หากขาดน้ำจะชะงักการเจริญเติบโต เส้นใยมาก รสชาติไม่อร่อย
การใช้ประโยชน์ และคุณค่าอาหารของคะน้ายอด
นิยมนำมาผัด หรือเป็นเครื่องเคียงกับอาหารประเภทยำ คะน้าโดยทั่วไปมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง นอกจากนั้นยังมีวิตามินซีสูงกว่าผักใบอื่นๆ โดยทั่วไป นับเป็นผักที่มีคุณค่ายิ่ง ช่วบบำรุงสายตา ผิวพรรณ ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคกระดูกบาง
การปฏิบัติดูแลรักษาคะน้ายอด ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า มี 2 วิธี เพาะเมล็ดในกระบะที่มีส่วนผสมระหว่าง ทราย : ขุยมะพร้าว : หน้าดิน อัตราส่วน 2:1:1 ต้นกล้ามีอายุประมาณ 5 วัน ย้ายลงถาดหลุมที่ใช้วัสดุเพาะ หยอดเมล็ดลงในถาดหลุมเพาะกล้าโดยตรง หลังจากต้นกล้ามีอายุประมาณ 18-21 วัน หรือมีใบจริงอย่างน้อย 2-3 ใบ จึงทำการย้ายปลูก
การเตรียมดิน ขุดดินลึก 10-15 ม. ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7-14 วัน โรยปูนขาวหรือโดโลไมท์อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 ม. หรือตามสภาพพื้นที่ ใส่ปุ๋ยรองพื้นปุ๋ยคอก(มูลไก่) หรือปุ๋ยหมักอัตรา 3 กก./ตร.ม. และหว่านปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
การปลูก ย้ายปลูกเมื่อต้นกล้าอายุ 18-21 วัน ในกรณีที่ต้องการเก็บหน่อข้าง ฤดูร้อน (ไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส) 30×30 ซม. ฤดูฝนและหนาว 30×40 ซม. เก็บเกี่ยวครั้งเดียวควรใช้ระยะปลูก 25×25 ซม.
การให้น้ำ ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ 1-2 วัน/ครั้ง
การให้ปุ๋ย เนื่องจากคะน้ายอดเป็นผักกินใบ ในระยะแรกจึงต้องการปุ๋ยไนโตรเจน ค่อนข้างสูง
-ใส่ปุ๋ยครั้งแรก 7 วัน หลังปลูกใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 21-0-0 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ใส่บริเวณลำต้น
-ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังปลูก 14 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ผสม 15-15-15 อัตรา 1 : 2 ผสมกัน ใช้อัตรา 50 กรัม/ตร.ม.
-ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 หลังย้ายปลูก 21 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 30-20-10 อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้น
-การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 45-60 วัน ตั้งแต่เริ่มเพาะกล้า หรือเมื่อเริ่มมีดอก
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของคะน้ายอดในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน โรคโคนเน่า, โรคราน้ำค้าง, ด้วงหมัดผัก, เพลี้ยอ่อน,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคโคนเน่า, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืบ,
ระยะเจริญเติบโต 40-45 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืบ,
ระยะโตเต็มที่ 45-50 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืบ,
จากเว็บ http://www.vegetweb.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น