ประเทศจีนและอินเดียนิยมดื่มชากันมาก และนั่นก็หมายความว่าพลโลกร่วม 2,000 ล้านคน บริโภคชาเป็นประจำ
ชามีต้นกำเนิดในจีนตอนใต้ และอินเดียตอนเหนือ ทุกวันนี้แหล่งชาที่สำคัญได้แก่ บริเวณไหล่เขาของประเทศศรีลังกา จีน อินเดีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย เป็นต้น
ชาเป็นพืชยืนต้นที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีความสูงถึง 6 เมตร ชาบางชนิดสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 100 ปี ตามปกติชาวไร่จะนิยมปลูกชาตามบริเวณไหล่เขา ทั้งนี้ก็เพื่อให้รากชาช่วยยึดดิน และเพราะเหตุว่าคุณภาพ
ของชาขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศ ดังนั้นชาที่ปลูก
ในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละฤดู จะให้ชาที่มีรสไม่เหมือนกัน และโดยทั่วไปแล้วชาที่ปลูกในที่สูงจะมีกลิ่นและรสชาติที่ละมุนละไมกว่าชาที่ปลูกในพื้นที่ที่ต่ำกว่ามาก
เมื่อต้นชามีอายุได้ 4-5 ปี ชาวไร่จะเลือกเก็บใบชา โดยเขาจะเลือกเก็บเฉพาะยอดอ่อนและใบอ่อน และเมื่อเก็บใบแล้วใบชาใหม่ก็จะแตกใหม่ในเวลาอีกไม่นาน
กระบวนการทำชาคือการแปรรูปใบชาอ่อนให้เป็นใบชาที่มีสภาพอย่างที่เราเห็น โดยในขั้นต้น เขาจะผึ่งใบชาที่เก็บมาได้ด้วยลมในตะแกรงให้แห้ง จนใบชาลดน้ำหนักเหลือเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเดิม กระบวนการผึ่งลมนี้ใช้เวลานาน 12 ชั่วโมง เมื่อใบอ่อนถูกผึ่งจนแห้งแล้ว เขาจะนำใบชามานวดเพื่อให้ใบม้วนตัวและกระตุ้นให้สาร tannin ที่มีอยู่ในใบถูกขับออกมา tannin ทำให้ใบชามีรสฝาดขม จากนั้นใบชาที่ถูกนวดแล้ว จะถูกนำมาหมักเพื่อให้ออกซิเจน
ทำปฏิกิริยากับใบชาจนใบเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล ชาฝรั่งที่มีสีน้ำตาลได้จากการหมักลักษณะนี้
ขั้นตอนต่อไปของการทำชา คือการอบ โดยใบชาจะถูกอบด้วยความร้อนนานประมาณ 30 นาที ในช่วงที่มีการอบ ปฏิกิริยาเคมีในชาจะหยุด ชาวไร่จะอบชาจนกระทั่งชามีความชื้นเหลืออยู่เพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ขั้นสุดท้ายคือนำใบชาไปผ่านเครื่องร่อน เพื่อคัดใบชาตามขนาด
ชาที่นิยมดื่มมี 3 ชนิด คือ ชาฝรั่ง หรือชา oolong ซึ่งเป็นชาที่ผ่านการนวดอย่างสมบูรณ์ ชาจีน หรือชาดำ เป็นชาที่ผ่านการนวดเพียงเล็กน้อย และชาเขียว ซึ่งเป็นชาที่ไม่ถูกนวดเลย ในการต้มชานั้นน้ำที่เหมาะกับการต้มชาควรมีอุณหภูมิสูงประมาณ 80 องศาเซลเซียส และน้ำที่ใช้ต้มชาฝรั่งควรเป็นน้ำเดือด
สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการดื่มชา หากดื่มเข้าไปมากๆ ขณะท้องว่าง บางคนอาจจะเมา ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือ เมา caffeine ที่มีอยู่ในชา ทำให้มีอาการวิงเวียนคล้ายเมารถ ประมาณกันว่าในชา 1 ถ้วย จะมี caffeine ประมาณ 60 มิลลิกรัม caffeine จะกระตุ้นให้คนดื่มรู้สึกสดชื่นและ
กระปรี้กระเปร่า
ชาวจีนมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับชามากมายและเชื่อว่าชามีสรรพคุณเป็นยารักษาสารพัดโรค เช่น โรคท้องเสีย และโรคหัวใจ เป็นต้น
ในวารสาร Journal of the National Cancer Institute ฉบับเดือนมกราคม 2540 A. Goldbohm แห่ง Nutrition and Food Research Institute ได้รายงานว่า ชาดำ หรือชาจีน ไม่มีผลในการรักษา
มะเร็งแต่อย่างใด ไม่ว่ามะเร็งนั้นจะเป็นมะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด หรือมะเร็งเต้านม
ผู้วิจัยกล่าวว่า ถึงแม้สารประกอบ catechins และ flavonols ที่พบในเซลล์ของสัตว์ จะมีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งก็ตาม แต่เมื่อสารเหล่านี้
อยู่ในชาดำ การถูก oxidized ทำให้มันหมดฤทธิ์ที่จะต่อสู้มะเร็ง
ผู้วิจัยกล่าวเสริมว่า จากความจริงที่ว่า คนที่นิยมดื่มชามักจะเป็น
มะเร็งน้อยกว่าคนทั่วไป เพราะคนเหล่านี้มักจะเป็นคนสูบบุหรี่น้อย และชอบบริโภคผลไม้ หาได้เป็นมะเร็งน้อยเพราะดื่มชาไม่
ชา เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งสกัดมาจากใบของต้นชา (Camellia sinensis) โดยนิยมใช้รับประทานเป็นเครื่องดื่มร้อน แต่มีให้เห็นในลักษณะเครื่องดื่มเย็นเช่นกัน กลิ่นของชาจะออกมาในขบวนการต่างๆ เช่น การออกซิเดชัน การให้ความร้อน การตากแห้ง ชามีการผลิตทั่วโลกประมาณ 3,000,000 ตัน ต่อปี
ในเมืองไทย ชาไทย ชานม ชามะนาว ชาไข่มุก ชาเขียว เป็นที่นิยม
ชนิดของชา
ขั้นตอนต่อไปของการทำชา คือการอบ โดยใบชาจะถูกอบด้วยความร้อนนานประมาณ 30 นาที ในช่วงที่มีการอบ ปฏิกิริยาเคมีในชาจะหยุด ชาวไร่จะอบชาจนกระทั่งชามีความชื้นเหลืออยู่เพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ขั้นสุดท้ายคือนำใบชาไปผ่านเครื่องร่อน เพื่อคัดใบชาตามขนาด
ชาที่นิยมดื่มมี 3 ชนิด คือ ชาฝรั่ง หรือชา oolong ซึ่งเป็นชาที่ผ่านการนวดอย่างสมบูรณ์ ชาจีน หรือชาดำ เป็นชาที่ผ่านการนวดเพียงเล็กน้อย และชาเขียว ซึ่งเป็นชาที่ไม่ถูกนวดเลย ในการต้มชานั้นน้ำที่เหมาะกับการต้มชาควรมีอุณหภูมิสูงประมาณ 80 องศาเซลเซียส และน้ำที่ใช้ต้มชาฝรั่งควรเป็นน้ำเดือด
สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการดื่มชา หากดื่มเข้าไปมากๆ ขณะท้องว่าง บางคนอาจจะเมา ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือ เมา caffeine ที่มีอยู่ในชา ทำให้มีอาการวิงเวียนคล้ายเมารถ ประมาณกันว่าในชา 1 ถ้วย จะมี caffeine ประมาณ 60 มิลลิกรัม caffeine จะกระตุ้นให้คนดื่มรู้สึกสดชื่นและ
กระปรี้กระเปร่า
ชาวจีนมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับชามากมายและเชื่อว่าชามีสรรพคุณเป็นยารักษาสารพัดโรค เช่น โรคท้องเสีย และโรคหัวใจ เป็นต้น
ในวารสาร Journal of the National Cancer Institute ฉบับเดือนมกราคม 2540 A. Goldbohm แห่ง Nutrition and Food Research Institute ได้รายงานว่า ชาดำ หรือชาจีน ไม่มีผลในการรักษา
มะเร็งแต่อย่างใด ไม่ว่ามะเร็งนั้นจะเป็นมะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด หรือมะเร็งเต้านม
ผู้วิจัยกล่าวว่า ถึงแม้สารประกอบ catechins และ flavonols ที่พบในเซลล์ของสัตว์ จะมีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งก็ตาม แต่เมื่อสารเหล่านี้
อยู่ในชาดำ การถูก oxidized ทำให้มันหมดฤทธิ์ที่จะต่อสู้มะเร็ง
ผู้วิจัยกล่าวเสริมว่า จากความจริงที่ว่า คนที่นิยมดื่มชามักจะเป็น
มะเร็งน้อยกว่าคนทั่วไป เพราะคนเหล่านี้มักจะเป็นคนสูบบุหรี่น้อย และชอบบริโภคผลไม้ หาได้เป็นมะเร็งน้อยเพราะดื่มชาไม่
ชา เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งสกัดมาจากใบของต้นชา (Camellia sinensis) โดยนิยมใช้รับประทานเป็นเครื่องดื่มร้อน แต่มีให้เห็นในลักษณะเครื่องดื่มเย็นเช่นกัน กลิ่นของชาจะออกมาในขบวนการต่างๆ เช่น การออกซิเดชัน การให้ความร้อน การตากแห้ง ชามีการผลิตทั่วโลกประมาณ 3,000,000 ตัน ต่อปี
ในเมืองไทย ชาไทย ชานม ชามะนาว ชาไข่มุก ชาเขียว เป็นที่นิยม
ชนิดของชา
ชาดำ
การผลิตชาดำ ทำได้โดยการนำใบชามาทำให้แห้งโดยการรีดน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ใบชาชุ่มชื้นออกมาเพื่อทำให้ใบชาเหี่ยวและอ่อนลีบ โดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำใบชาที่แห้งแล้วนั้นมากลิ้งด้วยลูกกลิ้ง บดและฉีก ต่อจากนั้นจึงนำไปหมัก ซึ่งหลังจากกระบวนการหมักทั้งสิ้นแล้ว จะได้ใบชาที่แห้งสนิท
ชาอูหลง
การผลิตชาอูหลง ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการหมักแต่เพียงครึ่งหนึ่ง จึงทำให้รสชาติและสรรพคุณอยู่ระหว่างชาดำและชาเขียว กระบวนการผลิตชาอูหลงเริ่มจากนำใบชามาทำให้แห้งลีบโดยใช้เวลาทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้ง ฉีก และหมักด้วยระยะเวลาสั้น ๆ
ชาเขียว
การผลิตชาเขียว ทำโดยนำใบชามาอบไอน้ำ หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้งและทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ด้วยวิธีการดังกล่าว จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว จากกระบวนการผลิตที่ง่ายและน้อยขั้นตอน ทำให้ชาเขียวยังคงมีสารในพืชที่มีประโยชน์หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่น ๆ
มีการทำผลิตภัณฑ์ชาหลากหลายชนิดในยุคปัจจุบัน เช่น ชาเย็นพร้อมดื่ม และ ผสมส่วนผสมอย่างอื่นเพื่อแต่งกลิ่นและรส เช่น เนสที ชาโออิชิ
ชาตะไคร้เตยหอม
เป็นชาที่ไม่ได้ใช้ส่วนผสมจากต้นชาเลย แต่ว่านำพืชที่มีกลิ่นหอม มาหั่นพอประมาณ และอบแห้ง เป็นชาที่มีกลิ่นค่อนข้างแรง และราคาถูกกว่าชาแท้ๆ แต่รสชาติจะสู้ไม่ได้
ชามะลิ
เป็นชาที่นำชาเขียว (หรืออาจเป็นชาอื่นๆ) มาใส่ดอกมะลิที่รีดน้ำ และกลิ้งแล้ว ใส่ลงไป ปกติถ้าเป็นชาที่คุณภาพต่ำ จะไม่ใช้มะลิแท้ๆมาทำ เพียงแค่แต่งกลิ่นประกอบเพิ่มเท่านั้น ส่วนชามะลิแท้ๆ จะใส่มะลิอบแห้งไปด้วย ทำให้ได้รส และกลิ่นมะลิเต็มตัว ทำให้ราคาของชามะลิแท้จะค่อนข้างแพง
ประโยชน์
นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์พบว่า การดื่มน้ำชา ช่วยให้สมองสดชื่น ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ [1]
ข้อห้ามสำหรับผู้ดื่มชา
สตรีมีครรภ์ เด็กที่อายุน้อยกว่า3ขวบ หรือ กำลังมีประจำเดือน ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากชา (โดยเฉพาะคุณภาพต่ำ) จะรวมตัวกับสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ เช่นธาตุเหล็ก ซึ่งจะทำให้ ผู้นั้นขาดสารอาหารบางชนิดได้
ผู้ป่วยไม่ควรดื่มชา เนื่องจากยาที่กินเข้าไป อาจทำปฏิกิริยากับชานั้นๆได้
ไม่ควรดื่มชา ใกล้ๆเวลาอาหาร ควรดื่มหลังอาหารไป2-3ชั่วโมง เนื่องจากจะไปรวมตัวกับสารอาหารสำคัญได้
การผลิตชาดำ ทำได้โดยการนำใบชามาทำให้แห้งโดยการรีดน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ใบชาชุ่มชื้นออกมาเพื่อทำให้ใบชาเหี่ยวและอ่อนลีบ โดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำใบชาที่แห้งแล้วนั้นมากลิ้งด้วยลูกกลิ้ง บดและฉีก ต่อจากนั้นจึงนำไปหมัก ซึ่งหลังจากกระบวนการหมักทั้งสิ้นแล้ว จะได้ใบชาที่แห้งสนิท
ชาอูหลง
การผลิตชาอูหลง ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการหมักแต่เพียงครึ่งหนึ่ง จึงทำให้รสชาติและสรรพคุณอยู่ระหว่างชาดำและชาเขียว กระบวนการผลิตชาอูหลงเริ่มจากนำใบชามาทำให้แห้งลีบโดยใช้เวลาทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้ง ฉีก และหมักด้วยระยะเวลาสั้น ๆ
ชาเขียว
การผลิตชาเขียว ทำโดยนำใบชามาอบไอน้ำ หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้งและทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ด้วยวิธีการดังกล่าว จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว จากกระบวนการผลิตที่ง่ายและน้อยขั้นตอน ทำให้ชาเขียวยังคงมีสารในพืชที่มีประโยชน์หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่น ๆ
มีการทำผลิตภัณฑ์ชาหลากหลายชนิดในยุคปัจจุบัน เช่น ชาเย็นพร้อมดื่ม และ ผสมส่วนผสมอย่างอื่นเพื่อแต่งกลิ่นและรส เช่น เนสที ชาโออิชิ
ชาตะไคร้เตยหอม
เป็นชาที่ไม่ได้ใช้ส่วนผสมจากต้นชาเลย แต่ว่านำพืชที่มีกลิ่นหอม มาหั่นพอประมาณ และอบแห้ง เป็นชาที่มีกลิ่นค่อนข้างแรง และราคาถูกกว่าชาแท้ๆ แต่รสชาติจะสู้ไม่ได้
ชามะลิ
เป็นชาที่นำชาเขียว (หรืออาจเป็นชาอื่นๆ) มาใส่ดอกมะลิที่รีดน้ำ และกลิ้งแล้ว ใส่ลงไป ปกติถ้าเป็นชาที่คุณภาพต่ำ จะไม่ใช้มะลิแท้ๆมาทำ เพียงแค่แต่งกลิ่นประกอบเพิ่มเท่านั้น ส่วนชามะลิแท้ๆ จะใส่มะลิอบแห้งไปด้วย ทำให้ได้รส และกลิ่นมะลิเต็มตัว ทำให้ราคาของชามะลิแท้จะค่อนข้างแพง
ประโยชน์
นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์พบว่า การดื่มน้ำชา ช่วยให้สมองสดชื่น ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ [1]
ข้อห้ามสำหรับผู้ดื่มชา
สตรีมีครรภ์ เด็กที่อายุน้อยกว่า3ขวบ หรือ กำลังมีประจำเดือน ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากชา (โดยเฉพาะคุณภาพต่ำ) จะรวมตัวกับสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ เช่นธาตุเหล็ก ซึ่งจะทำให้ ผู้นั้นขาดสารอาหารบางชนิดได้
ผู้ป่วยไม่ควรดื่มชา เนื่องจากยาที่กินเข้าไป อาจทำปฏิกิริยากับชานั้นๆได้
ไม่ควรดื่มชา ใกล้ๆเวลาอาหาร ควรดื่มหลังอาหารไป2-3ชั่วโมง เนื่องจากจะไปรวมตัวกับสารอาหารสำคัญได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น