วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แตงกวาญี่ปุ่น

แตงกวาญี่ปุ่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Cucumis sativas

จัดอยู่ในตระกูล Cucurbitaceae มีถิ่นกำเนิดแถบเอเซียและแอฟริกา เป็นพืชล้มลุก ที่มีลำต้น เป็นเถาเลื้อย มีความยาวตั้งแต่ 40 เซนติเมตรขึ้นไป ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนปกคลุม ขึ้นอยู่ทั่วไป มีระบบรากเป็นรากแก้ว ใบเป็นใบเดี่ยว มีมุมแหลม ใบมีขนปกคลุม แตงกวามีดอกตัวผู้และตัวเมียในต้นเดียวกัน แต่จะแยกกัน ดังนั้นจึงต้ิองใช้ผึ้ง ช่วยผสมเกสร ดอกตัวผู้จะเกิดเป็นกลุ่ม ส่วนดอกตัวเมีย จะเกิดเดี่ยวๆ ดอกสีเหลือง ดอกตัวเมียมีลักษณะสังเกตคือ คล้ายแตงกวาผลเล็กๆ ตัดกับกลีบดอก ส่วนดอกตัวผู้จะมีเฉพาะก้านดอก

ผลแตงกวาอ่อนมีหนามสั้นๆ เมื่อแก่จะหลุดออก ผิวเป็นร่องหรือปุ่ม ผลมีสีเขียว เนื้อผลหนาฉ่ำน้ำ เนื้อแ่น่น กรอบ ไส้ผลมีขนาดเล็กลักษณะคล้าย Jeiil

สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแตงกวาญี่ปุ่น
อุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อการปลูกอยู่ระหว่าง 18-24′C ความชื้นในอากาศต่ำ และได้รับแสงอย่างเต็มที่ ตลอดทั้งวัน การปลูกในฤดูหนาว จะใช้เวลานานกว่าการปลูกในฤดูร้อน หากสภาพอากาศร้อนเกินไป จะมีแต่ดอกตัวผู้ ผสมไม่ติด ทำให้ผลผลิตต่ำ

ดิน แตงกวาญี่ปุ่นสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมคือ ดินร่วนปนทราย ที่มีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย pH ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ดินควรมีอินทรีย์วัตถุสูง การระบายน้ำดี มีความชื้นในดินพอเหมาะ น้ำไม่ขังแฉะ เพราะหากน้ำขังจะทำให้เกิดโรคได้ง่าย อย่างไรก็ตามในช่วงการปลูก ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ตลอดฤดูกาลผลิต

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของแตงกวาญี่ปุ่น
แตงกวาญี่ปุ่นมีเอ็นไซม์อีเรพซิน (erepsin) ช่วยย่อยโปรตีนได้ สรรพคุณของแตงกวา ขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ ใบแตงกวาแก้ ท้องเสีย และช่วยลดความดันโลหิตสูง

แตงกวาญี่ปุ่นนิยมรับประทานสด แต่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ผัด ต้ม ดอง นึ่ง หรือนำมาคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม หรือนำมาตกแต่งจานอาหาร

การปฏิบัติดูแลรักษาแตงกวาญี่ปุ่นในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

การเตรียมกล้า

ใส่น้ำให้ท่วมเมล็ด 4 ชั่วโมง และเทน้ำทิ้ง
ผึ่งเมล็ดให้แห้ง
ใส่น้ำอุ่นอุณหภูมิ 50-55′C ให้ท่วมเมล็ด 15 นาที และเทน้ำทิ้ง การเตรียมน้ำอุ่น 55′C ทำได้โดยผสมน้ำร้อนจากกระติก ต้มน้ำไฟฟ้า และน้ำอุณหภูมิห้อง ในอัตรา 3:2 โดยปริมาตร และการเปลี่ยนน้ำอุ่นแช่เมล็ดทุก 5 นาที 3 ครั้ง
* อุณหภูมิน้ำร้อนที่วางนอกกระติกลดลงเร็วมาก จึงควรกดน้ำร้อนจากกระติกทันเมื่อต้องการผสม
ผึ่งเมล็ดในที่ร่มให้แห้ง
หยอดเมล็ดในถาดหลุมที่มีวัสดุปลูกเมล็ดละหลุม และให้น้ำสม่ำเสมอ
พ่นานเคมีป้องกันหนอนชอนใบ(โตกุไธออน) และเชื้อรา(ดูมลัสเอส) 1-2 วันก่อนย้ายปลูก
ย้ายปลูกต้นกล้าเมื่อใบจริงใบที่สองเริ่มคลี่ ประมาณ 10-14 วัน หลังเพาะกล้า การย้ายปลูกต้นกล้าช้าเกินไป พืชจะชงัก การเจริญเติบโต
คัดต้นกล้าที่ถูกเชื้อรา และหนอนชอนใบเข้าทำลาย เนื่องจาก พืชจะชะงักการเจริญเติบโตหลังย้ายปลูก

การเตรียมดิน

พลิกดินลึก 25 ซม. และตากดิน 7-14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค ไข่และตัวอ่อนแมลงในดิน
ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ตามแนวยาวของโรงเรือน มีทางเดินระหว่างแปลง 0.5 เมตร
คลุมแปลงด้วยพลาสติกบรอนซ์-ดำ และเจาะพลาสติกเป็น วงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซม. ห่างเท่ากับระยะปลูก (50×60 ซม.)
วางระบบน้ำ
ให้น้ำจนดินอิ่มตัวที่ระดับความลึก 25 ซม. หลังให้น้ำ 2 วัน ปริมาณน้ำในดินเท่ากับปริมาณน้ำสูงสุดที่ดินสามารถดูดซับได้

การปลูก

ขุดดินตรงรอยเจาะพลาสติก ลึก 10 ซม. และรองก้นหลุม ด้วยปุ๋ยหมัก อัตรา 200 กรัมต่อหลุม
ผสมหัวเชื้อไตรโครเดอมา หัวเชื้อรา Baecilomy Taecilomyces รำและปุ๋ยหมัก อัตรา 1 : 1 : 4 : 10 โดยน้ำหนัก และนำเชื้อที่ผสมแล้ว 3 ช้อนแกง(40 กรัม) คลุกกับปุ๋ยหมักที่รองกันหลุม
ย้ายปลูกต้นกล้า 3 วัน หลังใส่เชื้อไตรโครเดอร์มา

* ฤดูฝน มีจิ้งหรีดกัดลำต้น แตงกวาญี่ปุ่นในแปลงปลูก อาจแก้ไขโดยสวมลำต้นด้วยปลอกพลาสติกดำ
การให้ปุ๋ยและน้ำ

การให้ปุ๋ยและน้ำในระบบ Fertigation


การเตรียมสารละลายปุ๋ย


- ปุ๋ยระบบ fertigation แบ่งเป็น 2 ถัง (A และ B)
- ถัง A มีสารละลาย 100 ลิตร ประกอบด้วย Ca(NO2)
การผสมปุ๋ย
ถัง A
- ละลาย Ca(NO2) ในน้ำ 60 ลิตรคนให้ละลาย ทิ้งให้ตกตะกอนก่อนกรอง ด้วยผ้าขาวบาง 2 ชั้น
- เติมน้ำคนให้ละลาย
- ปรับปริมาณน้ำในถังให้ได้ 100 ลิตร
ถัง B
- ละลายปุ๋ยเคมีทั้งหมดในน้ำ 60 ลิตร คนให้ละลาย และปรับปริมาณน้ำในถังให้ได้ 100 ลิตร

การให้ปุ๋ยและน้ำ

- ปริมาณปุ๋ยและน้ำที่ให้แต่ละวัน
- การผสมปุ๋ยควรใส่น้ำในถังจ่ายปุ๋ยก่อนแล้ว จึงใส่สารละลายปุ๋ยจากถัง A และ ถัง B เนื่องจากการผสมปุ๋ยจากถัง A และถัง B ทันที จะทำให้ปุ๋ยตกตะกอนไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช
- ปริมาณปุ๋ยที่ให้จะเพิ่มอัตราการเพิ่มน้ำหนักต้น
- ปริมาณน้ำที่ให้จะเพิ่มตามน้ำหนักต้น ควรใช้ถังจ่ายปุ๋ยและน้ำขนาด 200 ลิตร ต่อการปลูกแตงกวา 100 ต้น

การให้ปุ๋ยและน้ำตามร่อง โดยการปล่อยน้ำตามร่อง 2 วัน/ครั้ง(ตามความเหมาะสม)

การให้ปุ๋ยเม็ด

ครั้งที่ 1 หลังจากย้ายปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 20 กรัม/ต้น โรยห่างจากต้น 10 ซม.

ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 จำนวน 20 กรัม/ต้น หลังปลูก 17 วัน

ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ย 13-13-21 จำนวน 25 กรัม/ต้น หลังปลูก 25 วัน

การทำค้าง เมื่อพืชอายุ 10 วัน ควรติดตั้งค้างเพื่อพยุงลำต้นและผล ค้างมีลักษณะเป็นเสาแถวคู่ สูง 3 เมตร ห่าง 50 ซม. แถวคู่ของเสาจะขนานกับความยาวแปลง และอยู่ชิดด้านในของต้นแตงกวาญี่ปุ่น ระยะห่างของเสาแต่ละคู่ขึ้นอยู่กับความแข็งแรง ของเสา จากนั้นขึ้งตาข่ายระหว่างเสาให้ตาข่ายด้านล่างและด้านบนอยู่สูง จากพื้น 5 และ 200 ซม. ตามลำดับ

การตัดแต่งกิ่ง

1.ข้อที่ 1-5 ใช้มือเด็ดกิ่งแขนงทันทีที่ปรากฏ ไม่ควรปล่อยให้กิ่งยาว เนื่องจากกิ่งจะเหนียวและต้องใช้มีดตัด ทำให้เชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
2.ไว้กิ่งแขนงข้อที่ 6-25 และตัดปลายกิ่งแขนงเมื่อกิ่งติดผล 2 ข้อ ตัดกิ่งควรแช่มีดในสาร Na3PO4 ความเข้มข้น 10 PPM.
3.เด็ดยอดเมื่อพืชมี 25 ข้อ (ยอดสูงจากพื้นแปลง 200 ซม.) ถ้าผลอ่อนมีลักษณะบิดงอ ควรเด็ดทิ้งทันที เนื่องจากจะพัฒนาเป็นผล แตงกวาเกรด U หรือ R ซึ่งราคาต่ำมาก
4.ตัดแต่งใบเป็นโรคทิ้ง

การพัฒนาดอกและผล

หลังออกดอก 2 และ 4 วัน ดอกจะบานและติดผลตามลำดับ
-เก็บเกี่ยวเมื่อผลอายุ 8-10 วัน หลังดอกบาน เพื่อให้ได้ผลแตงกวาญี่ปุ่นเกรด 1 และ 2
-อาการขาดธาตุอาหาร การขาดโบรอนทำให้ข้อสั้น ใบย่น และยอดชะงัดการเจริญเติบโต

*ข้อควรระวัง

1.หลีกเลี่ยงการนำเชื้อเข้าพื้นที่
-กำจัดพืชอาศัยของเชื้อโรคโดยเฉพาะไวรัส บริเวณรอบพื้นที่ปลูก เช่น ต้นลำโพง กระทกรก ตำลึง และต้นขี้กา
-ใช้เมล็ดปลอดโรค หรือทำให้เมล็ดปลอดโรค โดยการแช่ในน่ำอุ่น 50-55′C 15 นาที ก่อนนำไปเพาะกล้า
2.ลดปริมาณโรคและแมลงในแปลง
-ปลูกพืชหมุนเวียนตัดวงจรแมลง
-ขุดดินลึก 25 ซม. และตากดินอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนปลูก
-ทำความสะอาดเครื่องมือ เช่น มีดที่ใช้ในการตัดแต่งกิ่งโดยแช่ใน Na3PO4 ความเข้มข้น 10 ppm. ก่อนตัดแต่งต้น ใหม่ทุกครั้ง(ใช้มีด 2 ด้ามสลับกัน)
-ควรให้ปุ๋ยและน้ำให้พอเพียง ต่อการเจริญเติบโตของพืชตลอดฤดูปลูกจะทำให้พืชสมบูรณ์ แข็งแรง และต้านทานโรค
-ตัดแต่งใบที่เป็นโรคทิ้งนอกบริเวณพื้นที่ปลูก
-ตัดแต่งใบที่เป็นโรคทิ้งนอกบริเวณพื้นที่ปลูก
-ควรเดินตรวงแปลงสม่ำเสมอ เนื่องจากการกำจัดโรคและแมลง เมื่อเริ่มระบาดจะได้ผลดีกว่า เมื่อระบาดรุนแรงมากแล้ว
-ใช้สารเคมี ควรมีโปรแรมฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันโรคและแมลง และการใช้ยาควรใช้สลับกัน เพื่อป้องกันการดื้อยา
-ใช้พันธุ์ต้านทานโรคและแมลง


โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของแตงกวาญี่ปุ่นในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต


ระยะกล้า 7 วัน โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, โรครากปม, หนอนชอนใบ,

ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 7-10 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคไวรัส, โรครากปม, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ,

ระยะเริ่มติดดอกและการเจริญเติบโต 37-45 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคแอนแทรกโนส, โรคไวรัส, โรครากปม, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ,

ระยะเก็บเกี่ยว 45-75 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคแอนแทรกโนส, โรคไวรัส, โรครากปม, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ, แมลงวันแตง,



จากเว็บ http://www.vegetweb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...