หญ้าหวาน (Stevia) |
หญ้าหวาน เป็นพืชพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัยและประเทศบลาซิล ต่อมาประเทศญี่ปุ่นได้นำมาใช้อย่างแพร่หลาย ส่วนประเทศไทยของเราเพิ่งมีการใช้หญ้าหวานกันเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา หญ้าหวานเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศค่อนข้างเย็นจึงนิยมปลูกกันมากในภาคเหนือ
หญ้าหวาน มีสารให้ความหวานที่ชื่อว่า สตีวิโอไซด์(Stevioside) สารนี้ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 150-300 เท่า และยังทนทานต่อกรดและความร้อนไม่ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์
ลักษณะของหญ้าหวาน หญ้าหวานเป็นพืชล้มลุกระยะยาว คล้ายๆต้นกะเพราและต้นแมงลัก ลำต้นจะกลมและมีความแข็งแรง
หญ้าหวาน เป็นพืชใบเลี้ยงคู่แต่แตกใบออกใบเดี่ยวๆเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆตามลำต้นและกิ่ง เหนือซอกใบจะมียอดเล็กๆทั้ง 2 ข้าง ใบเป็นรูปวงรีโค้งเข้าหาปลายแหลม ใบมีสีเขยวสดและรสหวาน แผ่นใบเรียบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ดอกจะออกเป็นช่อ ก้านดอกสั้นมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมีสีขาว(ยกเว้นฤดูฝนจะเป็นสีม่วง) ด้านในดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอมน้ำตาลและมีเกษรตัวเมียที่มีก้านเกสรสีขาวยื่นออกมาจากกลางดอก ผลจะเป็นผลแห้งเล็กๆไม่แตก ด้านในจะมีเมล็ดสีดำมีขนปุยปกคลุมเป็นเมล็ดเดี่ยวจำนวนมาก
สรรพคุณหญ้าหวาน หญ้าหวานมีสรรพคุณทางยา ช่วยลดน้ำตาลในเลือดเหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงตับอ่อน ลดไขมันในเส้นเลือดและความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และโรคอ้วน ทั้งนี้ยังช่วยสมานแผลทั้งภายนอกและภายในทำให้แผลหายได้ไวขึ้น รวมทั้งทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
หญ้าหวาน มีความหวานแต่เป็นพืชที่ไม่ให้พลังงานจึงทำให้เหมาะกับการนำไปใช้ลดความอ้วนได้ดี สำหรับใครที่รู้สึกร่างกายไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงสามารถดื่มน้ำต้มหญ้าหวานเพื่อเพิ่มกำลังวังชาได้ ส่วนการใช้หญ้าหวานในการลดความดันโลหิตนั้นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ยิ่งถ้ามีการกินยาลดความดันโลหิตอยู่แล้วไม่ควรรับประทานหญ้าหวานควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเช่นเดียวกันกับผู้ที่เป็นความดันโลหิตต่ำไม่ควรรับประทานหญ้าหวาน
การขยายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งทางเมล็ดและการปักชำกิ่ง การเพาะเมล็ดข้อดีคือ ทำได้เร็ว ลำต้นแตกกิ่งมาก ให้ผลผลิตสูงและให้ผลผลิตนานหลายปี ทนโรคทนแมลง การปักชำ ข้อดีคือ ประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ ข้อเสียคือ ลำต้นแตกกิ่งน้อย อายุการให้ผลผลิตสั้น ลำต้นอ่อนแอไม่ทนโรคทนแมลง
ข้อควรระวัง
-สตรีตั้งครรภ์แลพะให้นมบุตรไม่ควรบริโภคหญ้าหวาน
-ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อรับประทานหญ้าหวานให้หมั่นตรวจวัดน้ำตาลในเลือด
-ผู้ที่เป็นความดันโลหิตต่ำไม่ควรรับประทาน
-ผู้ที่แพ้พืชตระกูลเดียวกับหญ้า เช่น ดาวเรือง เบญจมาศ ไม่ควรบริโภคเพราอาจทำให้แพ้ได้
-รับประทานหญ้าหวานดิบอาจมีผลข้างเคียงกับไต ระบบสืบพันธุ์ ระบบหัวใจรวมทั้งหลอดเลือดได้
bfd53 | shopping booksmark | welcome robot | music online | bioly1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น