วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ขมิ้นอ้อย

ชื่อวิทยาศาตร์ Curcuma zedoaria Roscoe.1
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้นขึ้น (ภาคเหนือ); ละเมียด (เขมร)1

ลักษณะของพืช

เป็นไม้ล้มลุกสูง 50-70 ซม. มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอม ใบออกเป็นรัศมีติดผิวดิน รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 8-10 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบยาว 8-15 ซม. ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว 5-8 ซม. ใบประดับสีเขียวอ่อน ๆ หรือสีขาว รูปหอกเรียงซ้อนกัน ใบประดับ 1 ใบ มี 2 ดอก ใบประดับย่อยรูปขอบขนานยาว 3-3.5 ซม. ด้านนอกมีขน กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ปลายแยกเป็น 3 ส่วน เกสรผู้คล้ายกลีบดอก มีขน อับเรณูอยู่ที่ใกล้ ๆ ปลาย ท่อเกสรเมียเล็ก ยาว ยอดเกสรเมียรูปปากแตร เกลี้ยง รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 ใบ2

ส่วนที่ใช้ทำยา เหง้าสดหรือแห้ง2

สรรพคุณและวิธีใช้

แก้อาการท้องเดินที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค
ใช้เหง้าหั่นเป็นชิ้นๆ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ หรือน้ำหนักสด 20-30 กรัม น้ำหนักแห้ง 10-20 กรัม ใส่น้ำพอควรต้มให้เหลือ 1 ใน 3 เอาน้ำดื่มวันละครั้ง2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...