วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ถั่วพู

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae

ส่วน Magnoliophyta

ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Fabales

วงศ์ Fabaceae

วงศ์ย่อย Faboideae

เผ่า Phaseoleae

สกุล Psophocarpus

สปีชีส์ P. tetragonolobus

ชื่อวิทยาศาสตร์ Psophocarpus tetragonolobus (L.) D.C.

ถั่วพู เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างแปลกไม่เหมือนใคร ลักษณะเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยได้ ส่วนที่เรานิยมนำมากินก็คือฝัก ที่มีความยาวประมาณ ๕-๖ นิ้ว และมี ๔ พู เป็นที่มาของชื่อถั่วพู

รสชาติของถั่วพูนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะนำไปประกอบอาหารอะไรก็อร่อยไปหมด ไม่ว่าจะเป็นยำถั่วพู ทอดมัน หรือจะกินสดๆ จิ้มน้ำพริกก็อร่อยได้ และประโยชน์ในการกินนอกจากจะทำให้อิ่มท้องอิ่มใจแล้ว ก็ยังเต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างวิตามิน เอ ซี และ อี และยังเป็นผักที่มีโปรตีนที่ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันบางชนิดขึ้น รวมทั้งมีแร่ธาตุฟอสฟอรัส ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน รวมทั้งแก้อาการอ่อนเพลียได้ด้วย

นอกจากนั้นการกินถั่วพูก็ยังมีกากใยอาหารมาก ทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้ว หัวของถั่วพูก็สามารถนำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลือง นำมาชงเป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับคนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย

ทั้งอร่อยทั้งมีประโยชน์มากเลยทีเดียว

การปลูกถั่วพู

การเพาะปลูก

ผสมดิน ปุ๋ยดินหมักชีวภาพ และแกลบดำ อย่างละเท่า ๆกัน กรอกถุงเพาะหยอดเมล็ดถั่วพู
ลงถุงละเมล็ด รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน เมื่อต้นถั่วมีใบจริง 2-3 ใบ ก็นำไปปลูกได้

การเตรียมหลุมและไม้ห้าง

1. ควรปลูกหลุมละ 1 ต้น ห่างกัน 2x2 เมตร
2. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพประมาณ 1/2 กก. ต่อหลุม
3. ห้างถั่วพู ควรเป็นเสาไม้ไผ่ที่แข็งแรง เพียง 1 หลักต่อหลุม ยาว 2-25. เมตร
4. ฝังหลักค้างให้มั่นคง

การปลูกและการดูแล

1. เตรียมหลุมและไม้ค้างปักให้เรียบร้อย
2. ปลูกต้นกล้า รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน
3. ใช้เชือกกล้วย ผูกเถาพันหลักค้าง
4. ควรเติมปุ๋ยหมักชีวภาพ ประมาณ 100 กรัมต่อต้นทุก 15 วัน
5. ฉีดน้ำสะเดาหมักทุกๆ 7 วัน ถ้ามีเพลี้ยอ่อนให้เพิ่มน้ำหมักยาฉุนและกากน้ำตาลฉีดพ่นยามสายของทุกวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...