วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ชะพลู

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจัก พืช (Plantae)

ส่วน Magnoliophyta

ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Piperales

วงศ์ Piperaceae

สกุล Piper

สปีชีส์ sarmentosum

ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum Roxb.

ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ

ทางภาคเหนือ เรียกว่า "ผักปูนา","ผักพลูนก","พลูลิง","ปูลิง","ปูลิงนก"

ทางภาคกลาง เรียกว่า "ช้าพลู"

ทางภาคอีสาน เรียกว่า "ผักแค","ผักปูลิง","ผักนางเลิด","ผักอีเลิด"

ทางภาคใต้ เรียกว่า "นมวา"

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นชะพลูมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ แบบทรงพุ่ม ต้นเตี้ย มีขนาดเล็ก และ แบบไม้เลื่อย

ใบ: มีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า มีสีเขียวเข้มเป็นใบเดี่ยว รสชาติเผ็ดอ่อนๆ

ดอก: ออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่า

การดูแล: ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื่น

การขยายพันธุ์: วิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้

สรรพคุณทางยา

ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้

ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง

ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก

ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก

ข้อควรระวัง

ใบชะพลูมีสารกลุ่มออกซาเลต (Oxalate) ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสารที่สามารถทำให้เกิดนิ่วในไตได้ ถ้าหากร่างกายได้รับการสะสม จึงควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้สารดังกล่าวถูกเจือจ่าง ถูกขับถ่ายมาทางปัสสวะ หรือทานอาหารจำพวกโปรตีนสูงๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วก็ได้


จากเว็บ http://th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...