วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แอปเปิ้ล

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae

ส่วน Magnoliophyta

ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Rosales

วงศ์ Rosaceae

วงศ์ย่อย Maloideae

สกุล Malus

สปีชีส์ M. domestica

ชื่อวิทยาศาสตร์ Malus domestica Borkh.


ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบ กิ่งก้านอ่อนจะมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 15 เมตร

ใบ : จะมีลักษณะโต หรือยาวรี ตรงปลายใบจะแหลม ขอบใบมีรอยหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบจะมีความยาวประมาณ
4.5-10 ซม. กว้างประมาณ 3.-5.5 ซม. ส่วนใบอ่อนนั้นจะมีขนอ่อนนุ่มสั้น ๆ ปกคลุมอยู่ทั้ง 2 ด้าน และก้านใบจะมีความยาวประมาณ 1.5-3 ซม.

ผล : จะมีลักษณะเป็นทรงกลมออกจะแบนเล็กน้อย ผลโตวัดผ่ากลางได้ประมาณ 7 ซม. ส่วนตรงขั้ว และก้นของผลนั้นจะเป็นรอยบุ๋มเข้า

การขยายพันธุ์ : โดยการตอนกิ่ง

ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เปลือกผล ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : ใบ ใช้สดประมาณ 3-10 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน หรือใช้ภายนอกโดยการตำพอก ใช้ต้มกินรักษาเลือดคั่งค้างหลังคลอดรักษาอาการไข้ ขับน้ำคาวปลา รักษาแผลจากไฟใช้ใบเผาจนเป็นเถ้า ผสมน้ำมันพืชทา

ผล ใช้สดปริมาณพอสมควร คั้นเอาแต่น้ำกิน หรือใช้เคี่ยวให้ข้นกิน ส่วนภายนอกนั้นใช้คั้นเอาแต่น้ำถูทา ผลนั้นจะมีรสหวาน ชุ่ม และเย็น ใช้เป็นยารักษาอาการท้องผูกเป็นประจำ นอนไม่ค่อยหลับ และรักษาโรคเกี่ยวกับตับ รักษาโลหิตจาง บำรุงร่างกายทารก บำรุงปอด ทำให้เจริญอาหาร รักษาพิษสุรา บรรเทาอาการกระหายน้ำ ร้อนกระวนกระวาย จุกเสียด อึดแน่นหลังกินอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ใช้ทารักษาผิวหนังเป็นผื่นแดงเรื้อรัง

เปลือกผล ใช้สดประมาณ 1.5-3 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน หรือชงน้ำกิน แบบน้ำชา ใช้บรรเทาอาการอืด แน่น เรอ อาเจียนมีแต่น้ำลายเป็นฟอง

ข้อห้ามใช้ : สำหรับผลนั้น ถ้ากินมากเกินไห จะทำให้เกิดอาการอืดแน่น โดยเฉพาะในคนไข้ที่นอนป่วยอยู่

อื่น ๆ : ผลนั้นจะมีคาร์โบไฮเดรตที่ละลายน้ำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลในปริมาณมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของแอปเปิล มี sucrose ประมาณ 5% invert sugars 6-9% ส่วนผลดิบนั้นจะมีแป้งมาก และปริมาณแป้งจะลดน้อยลงก็ต่อเมื่อผลนั้นสุก จะมีกรดประมาณ0.5% และกลิ่นหอมของแอปเปิลนั้นจะเป็นพวกแอลกอฮอล์ประมาณ 92. และสารที่มี carbonyl ประมาณ 6% และ esters และกรด ส่วนเปลือกผลนั้น ก็จะมีสารมีสีได้แก่ cyaniding และใบนั้นก็จะมีสาร phoretin (w-p-hydroxyphenyl propiophenone)

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นทั่วไป ในเขตอบอุ่นในบ้านเรามักมีปลูกกันตามภูเขาสูง ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น เช่น ดอยอ่างขาง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : ยาฉีดที่ได้เตรียมมาจากผลแอปเปิลที่เอา gum ออกแล้ว ฉีดเข้าหลอดเลือดดำของกระต่ายบ้าน จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ส่วนฤทธิ์ในการขับปัสสาวะสูงกว่า ที่ให้กลูโคส 2-3 เท่า และนอกจากนี้ยังสามารถทำให้ลำไส้เล็กของกระต่ายที่แยกจากตัวบีบตัวผิดปรกติ ไป

หมายเหตุ : ผลแอปเปิลที่เน่าใช้เป็นยาพอก รักษาอาการตาเจ็บ และผลต้มจนเละใช้กิน รักษาอาการเจ็บคอ มีไข้ บริเวณตาอักเสบไฟลามทุ่ง และใช้เป็นยาระบาย ส่วนยาต้มจากเปลือกต้นใช้รักษาโรคไข้จับสั่น โดยน้ำในผลและความแข็งของเนื้อผลจะช่วยนวดเหงือก ทำให้เหงือสะอาดขึ้น และช่วยกำจัดคราบหินปูนอีกด้วย

แอปเปิ้ลผลขนาดกลางเพียง 1 ผล ล้างให้สะอาดโดยไม่ปอกเปลือก มีคุณค่าทางโภชนาการโดยประมาณดังนี้
- พลังงาน 80 แคลอรี
- วิตามิน บี6 0.1 กรัม
- วิตามิน ซี 7.9 มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.2 มิลลิกรัม
- ทองแดง 0.1 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 158.7 มิลลิกรัม
แต่ถ้าปอกเปลือกปริมาณสารสำคัญจะลดลง
บทความในวารสารการแพทย์สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 เคยยกย่องว่า แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยภาวะเลือดเป็นกรด ไขข้อรูมาติก เกาต์ ดีซ่าน และอื่นๆ

แอปเปิ้ลมีสารสำคัญบางตัว เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ที่ชื่อว่า เพคติน และยังมีกรด 2 ชนิด คือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริก ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมัน

ปัจจุบันมีการกล่าวอ้างสรรพคุณของแอปเปิ้ลมากมาย เช่น บำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดความอยากอาหาร ช่วยกระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ และฆ่าเชื้อไวรัส เป็นต้น

แอปเปิ้ลช่วยควบคุมน้ำหนัก
หากคุณรู้สึกหิวในเวลาที่มิใช่มื้ออาหาร แอปเปิ้ลสักลูกช่วยลดความหิวได้ดีค่ะ เพราะแอปเปิ้ลมีแป้งและน้ำตาลถึง 75% ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาที ดังนั้นความอยากอาหารจึงลดลง ทำให้ไม่รู้สึกหงุดหงิด อ่อนเพลียระหว่างเวลาอาหารมื้อใหญ่ๆ

ประโยชน์ของแอปเปิ้ลข้อนี้ สาวๆ สามารถนำไปเป็นเทคนิคควบคุมน้ำหนักอย่างง่ายๆ เวลาที่ต้องไปงานเลี้ยง คือเมื่อเริ่มตักอาหาร ให้ตักผลไม้ก่อน เลือกแอปเปิ้ล ส้ม หรือผลไม้ที่มีกากใยมากๆ รับประทานรองท้องแทนอาหารออเดิร์ฟ ในเวลาไม่เกิน 10 นาที น้ำตาลผลไม้โมเลกุลเดี่ยวจะถูกดูดซึม ทำให้ความอยากอาหารลดลง คุณจึงรับประทานอาหารคาวได้น้อยลง แต่รู้สึกอิ่มได้ดีกว่าอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาลอื่นๆ

จากการทดลองพบว่า แอปเปิ้ลผลสดๆ เท่านั้นที่มีสรรพคุณเช่นนี้ การดื่มน้ำแอปเปิ้ลไม่ทำให้คุณหายหิว แถมจะทำให้น้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้นด้วย

แอปเปิ้ลช่วยลดคอเลสเตอรอล
แอปเปิ้ล 2-3 ผลต่อวัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่พบว่าแอปเปิ้ลลดคอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชาย

นักวิทยาศาสตร์ในหลายประเทศ เช่น อิตาลี ไอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ได้รายงานผลการวิจัยตรงกันว่า แอปเปิ้ลมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอลซาบาทิเอร์ เมืองตูลูส พบว่า แอปเปิ้ลช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ในหนูทดลอง ต่อมาได้มีการทดลองในอาสาสมัครวัยกลางคน ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จำนวน 30 คน โดยให้รับประทานอาหารเหมือนเดิมทุกประการ แต่รับประทานแอปเปิ้ลร่วมด้วยวันละ 3 ผลทุกวัน เป็นเวลา 1 เดือน พบว่าอาสาสมัครจำนวน 24 คนมีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง บางคนลดลงมากกว่า 10%

แอปเปิ้ลมีสารเพคตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ การวิจัยบ่งชี้ว่า เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมัน แยกคอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจากแอปเปิ้ลจะไปคอยดักจับคอเลสเตอรอลเหล่านั้น และนำไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง

แอปเปิ้ลช่วยลดน้ำตาลในเลือด
แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารแต่ละชนิดจะถูกย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนังกระเพาะลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้นๆ เช่น ถ้ารับประทานน้ำผึ้ง น้ำตาลในเลือดจะขึ้นฮวบฮาบทันที แต่สำหรับแอปเปิ้ล ถึงแม้จะมีน้ำตาลธรรมชาติในเนื้อแอปเปิ้ลมาก แต่ก็ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เท่านั้น เช่นเดียวกับอาหารจำพวกถั่ว

นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า คนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มากๆ จะมีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย และสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย แอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำสูงมาก จึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นเบาหวาน

ผลการทดลองยังพบด้วยว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มาก จะเกิดอาการความดันโลหิตสูงได้ยากกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...