วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หญ้าไข่เหา

ชื่อพื้นบ้านอีสาน หญ้าไข่เหา, นกเขา, สร้อยนกเขา

ชื่อทั่วไป หญ้าไข่เหา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mollugo pentaphylla Linn.

วงศ์ Aizoaceae


ชื่อสามัญ หญ้าไข่เหา ( ลำปาง )

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นพืชค้างปี (annual) พบขึ้นอยู่ตามชายป่า ใต้ที่ร่มและชุ่มชื้น มีกิ่งแขนงแตกออกจากซอกใบจำนวนมาก ลำต้นทอดเลื้อยปลายยอดตั้งชันขึ้น (ascending) ความสูงของต้น 71.28- 145.18 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 3.95- 7.67 มิลลิเมตร ลำต้นกลมและค่อนข้างเหนียว สีเขียวเข้มผิวมัน มีขนสีขาวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตรปกคลุมจำนวนมาก ข้อ (node) สีเขียวมีขนสีขาวคลุมรอบๆหนาแน่น ลักษณะของข้อพองออกเล็กน้อย ข้อที่แตะดินไม่มีรากงอก ใบเป็นแบบรูปใบหอก (lanceolate) โคนใบมน แผ่นใบกว้าง ปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ใบยาว 23.29- 27.43 เซนติเมตร กว้าง 1.62- 1.96 เซนติเมตร เส้นกลางใบ (mid rib) ด้านหน้าใบจากโคนใบถึงกลางใบเป็นร่องเห็นชัดเจน ด้านหลังใบเป็นสันเล็กค่อนข้างแข็ง สีใบเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างหนาและนุ่ม มีขนสีขาวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตรปกคลุมหนาแน่น ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยถี่ (serrulate) กาบใบ (sheath) สีเขียวเข้มมีขนคลุมจำนวนมาก บริเวณขอบกาบใบมีขนยาว 3-4 มิลลิเมตรขึ้นอยู่จำนวนมาก กาบใบกลมหุ้มลำต้น ความยาวกาบใบ 5.66- 7.66 เซนติเมตร ลิ้นใบ (ligule) เป็นแผ่นเยื่อขอบลุ่ยเป็นเส้นๆ (membranous frayed) ยอดอ่อนโผล่แบบม้วน (rolled in bud) ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง (panicle) ช่อดอกมีช่อดอกย่อยจำนวนมาก กลุ่มดอกดกหนาแน่น ช่อดอกสดสีเขียวอมเหลืองอ่อนมีน้ำเหนียวจับจะติดมือ ช่อดอก (inflorescence) ยาว 21.0- 35.3 เซนติเมตร ส่วน Head ยาว 19.5- 26.5 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยยาว 7.13- 11.53 เซนติเมตร กลุ่มดอกย่อย (spikelet) เกาะกันอยู่เป็นคู่ๆ มีก้านดอกยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลุ่มดอกย่อยรูปรี ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีกาบหุ้ม (glume) บนยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร glume ล่างยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร glume บนมีดอก (floret) ที่มี lemma และ palea หุ้มเป็นดอกสมบูรณ์เพศ (fertile) floret ล่างเป็นดอกหมัน (sterile) ดอกแก่ร่วงทั้งชุด

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่ในที่ร่มเงาและชุ่มชื้น ริมหนองน้ำ ดินร่วน ร่วนปนเหนียว พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 124- 442 เมตร เช่นเขตพื้นที่ตำบลบ้านโป่ง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล (PC 386, PC 585, SN 43 )

คุณค่าทางอาหาร อายุประมาณ 40 วัน มีค่า โปรตีน 12.90 เยื่อใยส่วน ADF 31.60 NDF 56.72 แคลเซียม 0.66 ฟอสฟอรัส 0.25 โปแตสเซียม 1.82 มิโมซีน 0.89 ไนเตรท 36.62 ppm. กรดออกซาลิค 0.82 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.50 เปอร์เซ็นต์
การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของ โค กระบือ ปลูกขึ้นปรับตัวได้ดีในสภาพดินเหนียวเนื้อละเอียดและดินเหนียวปนลูกรัง



กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...