วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

หญ้ากินนีสีม่วง

หญ้ากินนี่สีม่วง Panicum maximum

ประวัติความเป็นมา

หญ้ากินนีสีม่วง (Purple guinea) เป็นหญ้าในสกุลกินนี (Panicum maximum) นายกีร์ โรแบร์ ที่ปรึกษา กรป.กลาง นำมาจากประเทศไอเวอรี่โคส ทวีปอัฟริกา ประมาณปี พ.ศ. 2518 ปลูกครั้งแรกที่จังหวัดสกลนคร ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ดี เป็นที่นิยมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคอย่างแพร่หลาย กรมปศุสัตว์ได้เริ่มขยายพันธุ์เพื่อผลิตเมล็ดในหน่วยงานของกองอาหารสัตว์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และส่งเสริมให้เกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่าย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2537 สามารถผลิตเมล็ดได้ทั้งหมด 14.8 ตัน โดยสถานีอาหารสัตว์ ผลิตได้ 4.8 ตัน ที่เหลือผลิตโดยเกษตรกร ส่วนในปี พ.ศ. 2538 มีเป้าหมายการผลิตถึง 183 ตัว (กองอาหารสัตว์, 2537)

ลักษณะทั่วไป

หญ้ากินนีสีม่วงเป็นพืชที่มีอายุหลายปี การเจริญเติบโตเป็นแบบกอตั้งตรง มีใบขนาดใหญ่ ดก อ่อนนุ่ม มีลำต้นสูงใหญ่กว่าหญ้ากินนีธรรมดา ส่วนของข้อปล้อง กลุ่มดอก (Spilelets) และเมล็ดสีม่วงอมเขียวต่างจากหญ้ากินนีพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีสีเขียว ขนาดของเมล็ดใหญ่กว่ากินนีธรรมดา หญ้ากินนีสีม่วงมีช่วงเวลาของการเจริญเติบโต ก่อนออกดอกอยู่ระหว่าง 90-110 วัน ความสูงเมื่อเริ่มออกดอก ประมาณ 220 เซนติเมตร (ศศิธร และคณะ, 2536 ก) สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพร่มเงา เช่นเดียวกับหญ้ากินนีธรรมดาหญ้ากินนีสีม่วงสามารถปลูกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ตั้งแต่ดินเหนียว จนถึงดินทราย ทนทานต่อสภาพดินค่อนข้างเค็ม ทนแล้ง และสามารถตอบสนองต่อการให้น้ำ และปุ๋ยได้ดี

การผลิตเมล็ดพันธุ์

การปลูกและการดูแลรักษา ช่วงเวลาปลูก

ควรปลูกตั้งแต่ต้นฤดูฝน ในเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เพื่อให้ญ้าตั้งตัวได้ในช่วงฤดูฝน

การเลือกพื้นที่ปลูก


ควรเป็นที่ดอน มีการระบายน้ำดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร

การปลูก

ปลูกเช่นเดียวกับการปลูกเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ แต่ใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่าคือ ระยะระหว่างแถว 50x50 เซนติเมตร หรือ 75x25 เซนติเมตร

การใส่ปุ๋ย

ปุ๋ยไนโตรเจน ค่อนข้างมีความสำคัญต่อผลผลิตเมล็ดหญ้า ดังนั้น ควรใช้ปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และให ้ปู่ยอีกครั้งก่อนหญ้าออกดอก 1 เดือน โดยใช้แอมโมเนียมซัลเฟต 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือยูเรีย 15 กิโลกรัมต่อไร่ ควรใส่ในขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสม

การเก็บเกี่ยว

หญ้ากินนีสีม่วง จะออกดอกในเดือนกันยายน-ตุลาคม ช่วงการออกดอกช้า และยาวนานกว่ากินนีพันธุ์อื่น ๆ (ศศิธร และคณะ, 2536ก) โดยทั่วไปหญ้ากินนีจะออกดอกไม่พร้อมกัน ทำให้การสุกแก่ไม่พร้อมกัน การกำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์เพียงครั้งเดียวทำได้ยาก วิธีการที่น่าจะได้ผลดี ควรเป็นวิธีการเคาะช่อดอก ให้เมล็ดแก่ร่วงลงในภาชนะทุก 3-5 วัน จนเมล็ดหมด สำหรับในพื้นที่ขนาดใหญ่ ที่มีความจำเป็นต้องเกี่ยวให้ทัน ก่อนที่เมล็ดจะร่วงหล่นเสียหาย ยังต้องใช้วิธีการเกี่ยวช่อดอกบ่ม แต่วิธีนี้จะทำให้ได้ผลผลิต และคุณภาพต่ำกว่าวิธีการเคาะช่อดอก การเคาะช่อดอกควรเริ่มเคาะในช่วงประมาณ 10 วันหลังออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ (วีระศักดิ์ และคณะ, 2536) ในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรจะมีการมัดช่อดอกภายในกอรวมกันเมื่อเริ่มออกดอก เพื่อสะดวกในการเคาะ และถ้าใช้ถุงตาข่ายไนล่อนคลุมช่อดอก เพื่อให้เมล็ดร่วงลงในถุง แล้วเอาเมล็ดออกทุก 3-5 วัน จะทำให้ผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดสูงขึ้น (ตา รางที่ 9) แต่ค่าใช้จ่ายก็จะสูงเพิ่มมากขึ้นด้วย ในแปลงทดสอบของสถานีอาหารสัตว์สกลนคร การเคาะช่อดอกจะทำให้ได้ผลผลิต 60 กิโลกรัมต่อไร่ (ธวัช และชุมพล, 2537)

คุณภาพเมล็ดพันธุ์

คุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีสีม่วง จะดีกว่าหญ้ากินนีธรรมดาและเฮมิลกินนี ไม่ว่าจะเป็นความบริสุทธิ์หรือความงอก (ตารางที่ 10) กองอาห ารสัตว์กำหนดมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ หญ้ากินนีสีม่วงที่ผลิตได้ ต้องมีความบริสุทธิ์ 50 เปอร์เซนต์ ความงอก 40 เปอร์เซ็นต์

สรุป

หญ้ากินนีสีม่วงเป็นหญ้าอายุหลายปี ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพร่มเงา ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด ใช้อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดมีคุณภาพดีกว่าหญ้าในกลุ่มกินนีด้วยกัน ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และปุ๋ยคอกได้ดีควรตัดหญ้าเลี้ยงสัตว์ครั้งแรกหลังปลูก 70 วัน และหลังจากนั้น ควรตัดทุก 30-45 วันได้ผลผลิตปีละ 1.5-4 ตันต่อไร่ มีโปรตีนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นหญ้าที่มีคุณค่าทางอาหารอยู่ในเกณฑ์ที่ดี สามารถนำไปเลี้ยงแม่โคที่ให้นมในระดับวันละ 8-10 กิโลกรัม ได้โดยไม่ต้องให้อาหารข้นเสริม ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ หญ้ากินนีสีม่วงเริ่มออกดอกระหว่างเดอนกันยายน-ตุลาคม และเก็บเมล็ดในเดือนพฤศจิกายน ให้ผลผลิตเมล็ดประมาณ 50-90 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีเคาะช่อดอก ซึ่งจะให้เมล็ดที่มีคุณภาพดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...