วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

โกโบ้

โกโบ้

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arctium lappa

เป็นพืชที่ใช้ราก ประกอบอาหาร ซึ่งต้นหนึ่งจะมีความยาวของรากประมาณ 70-120 ซม.

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
โกโบ้ ชอบดินร่วนปนทราย ที่มีการเติมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก มีการระบายน้ำดี และควรมีหน้าดินลึก พอสมควร เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้ราก และอายุยาวนาน ซึ่งดินบนดอย ที่เหมาะสม คือ ดินที่มีลักษณะ สีออกสีแดง มีหน้าดินลึก และต้องไม่มีก้อนหิน ต้องการน้ำมาก ควรเป็นพื้นที่ ที่สามารถให้น้ำแบบสปิงเกอร์ได้ และช่วงเวลาปลูก ที่เหมาะสมคือ เืดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ แต่ก็สามารถปลูกได้ตลอดปี อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับ การเจริญเติบโต อยู่ระหว่ง 18-24′C และชอบแสงแดดเต็มที่ ไม่ควรปลูกในที่ร่ม

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
โกโบ้ เป็นผักที่สำคัญ ของชาวญี่ปุ่น เป็นเครื่องเคียงรับประทาน กับข้าวแบบชิงดอง ซึ่งถือเป็นผักที่ รับประทานเพื่อลดไขมัน

การปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมดิน ขุดดินลึก เป็นรูปแบบร่องน้ำกว้าง 30-40 ซม. ลึก 60-90 ซม. ยาวตลอด โดยการเอาหน้าดิน ที่ขุดขึ้นมา เตรียมใส่ลงปลูก อีกครั้ง โดยใส่ลงในก้นหลุม และผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักอัตรา 0.5-1 กก./ตร.ม. ผสมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. แล้วใส่กลับลงไปในร่อง เหมือนเดิม ยกแปลงสูง 30 ซม. โดยมีระยะห่างระหว่างแปลง 1 ม.

การปลูก หยอดเมล็ดเป็นแนวยาว ตามร่องปลูก ที่เตรียมไว้ให้เมล็ดห่างกัน ประมาณ 3-5 ซม. ใช้ดินละเอียด หรือแกลบกลบปิด โดยให้เมล็ดอยู่ลึกประมาณ 2 ซม. แล้วใช้ฟางปิด ให้หนา ปลูกแบบ แถวเดียว ให้ระยะหว่างแถวห่างกัน ประมาณ 1 ม. เพื่อสะดวก ต่อการกลบโคน ในภายหลัง ถอนแยกต้นที่ อยู่ชิดกัน ให้มีระยะระหว่างต้น 10 ซม.

การให้น้ำ เมื่อปลูกได้ 20 วัน โรยปุ๋ย 21-0-0 และ 15-15-15 อัตราชนิดละ 20 กรัม/ตร.ม. ลงในร่องปลูกแล้ว กลบดินพูนโคน อายุได้ 40 วัน โรยปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. แล้วกลบดินพูนโคนต้น ถึงระดับใบล่าง จากนั้นใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. อีกครั้งเมื่ออายุ 75 วัน ตอนต้นฤดูฝน ความชื้นในดินสูง อาจมีเชื้อรา ให้ฉีดพ่นสารเคมี ป้องกัน นอกจากนี้ ให้ถอนต้นเป็นโรค เผาหรือทำลายทิ้ง

ข้อควรระวัง

ถ้าต้นยังไม่โตดี ให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และดูแลป้องกันโรคแมลงต่อไปอีก เป็นการชะลอการเก็บเกี่ยว
อาจพบต้นโคนเน่าในช่วงแรก และอาจพบโรคใบไหม้ ในช่วงกำลังเติบโต
ให้ระวังเสี้ยนดิน

การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 105 วัน ขึ้นไป หรือเมื่อรากมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. อย่าเก็บเมื่อเส้นผ่าศูนย์กลาง ต่ำกว่า 1.5 ซม. และต้องไม่ปล่อย ให้เกิน 2.5 ซม. เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วตัดใบเหลือ 2-3 ซม. ทำความสะอาดราก โดยใช้มือรูดเอาดินออก แต่ไม่ต้องล้างน้ำ ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ และเก็บไว้ในห้องเย็น อุณหภูมิ 1 องศาเซลเซียส ได้นาน 2-3 เดือน

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต


ระยะหยอดเมล็ด-ถอนแยก 21 วัน โรคโคนเน่า, เสี้ยนดิน,

ระยะเจริญเติบโต-คลุมโคน 60 วัน โรคโคนเน่า, เสี้ยนดิน,

ระยะเจริญเติบโต 60-105 วัน โรคโคนเน่า, โรคใบไหม้, เสี้ยนดิน,

ระยะเก็บเกี่ยว 105-150 วัน โรคโคนเน่า, เสี้ยนดิน,


จากเว็บ www.VegetWeb.com

1 ความคิดเห็น:

  1. มีผักปลอดสารพิษ ผักญี่ปุ่น ผักสลัดไฮโดร มิซูนา ไควาเระ ใบโอบะ ผักโต้วเหมี่ยว อฟาลฟ่า เห็ดชิเมจิ เห็ดซิทาเกะ (เห็ดหอม) ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า Bazil และอื่น ๆ อีกมากมายหาผักอะไรอยู่ลองติดต่อสอบถามเข้ามาได้ค่ะ พร้อมส่งให้ถึงที่ สนใจติดต่อ คุณนัท 084 6397059 (niya@greenie.co.th)

    ตอบลบ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...