ชื่อ : กระแตไต่หิน
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Drynaria bonii Christ
วงศ์ : Polypodiaceae
ชื่อพ้อง : Drynaria meeboldii Rosenst.
ชื่ออื่น : กระปรอกเล็ก, กระแตไต่หิน, กระจ้อน , Krajont (Thai
กระแตไต่หินต้นนี้พบที่เขาตะกุดรัง อำเภอปักธงชัย
ลักษณะโดยทั่วไป : เฟิร์นเลื้อยเกาะ เหง้ามีเกล็ดสีน้ำตาลเหลือบเงินปกคลุม ใบมีภาวะทวิสัณฐาน ใบไม่สร้างสปอร์หรือใบรังนก (nest-leaves) รูปไข่กว้างเกือบกลม ฐานใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ เรียงสลับซ้อนเหลื่อมกันปิดเหง้าไว้ และใบที่สร้างสปอร์ (foliage-leaves) ก้านใบมีครีบแคบๆบริเวณโคน แผ่นใบเว้าลึกเป็นแฉก สปอร์เกิดเป็นกลุ่มของอับสปอร์รูปร่างค่อนข้างกลม เรียงไม่เป็นระเบียบ อยู่ระหว่างเส้นใบ
นิเวศวิทยา : พบทั่วไปตามก้อนหินหรือลำต้นของต้นไม้ในป่าดิบแล้ง
ประโยชน์/โทษ : ยาพื้นบ้านล้านนาใช้เหง้าต้มน้ำดื่มรักษามะเร็งในปอด ปอดพิการ ขนจากเหง้าบดให้ละเอียดแก้หืด สามารถปลูกเป็นเฟิร์นประดับตามโขดหินหรือต้นไม้ในสวนได้ ชอบพื้นที่ที่มีแสงไม่จัดนัก
ใช้รากฝนน้ำมะนาวกิน ทา แก้เนื้อตายจากพิษของงูเขียวหางไหม้
กระแตชนิดนี้เป็นเฟินเกาะอาศัยอยู่บนคาคบไม้สูง หรือพบอยู่ตามซอกหิน บนโขดหิน ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ตั้งแต่ระดับต่ำถึงระดับสูง 800 ม. MSL. มักพบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่
ลักษณะทั่วไป ลำต้นเป็นเหง้าเลื้อย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ปกคลุมแน่นด้วยเกล็ดสีน้ำตาล ตอนกลางเกล็ดเป็นสีดำ ใบมี 2 แบบ
ใบปกติ sterile frond ใบนี้ไม่สร้างสปอร์ รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 15-25 ซ.ม. ยาวได้ถึง 25 ซ.ม. ขอบใบเป็นแฉก หยักเว้า ลึกเข้าไปเกือบครึ่งของความกว้างจากขอบใบถึงเส้นกลางใบ แฉกเป็นรูปกึ่งสามเหลี่ยม ปลายแฉกมน ขอบเรียบ ใบนี้ทำหน้าที่เก็บสะสมความชื้นและเศษซากอินทรีย์วัตถุ
ใบสปอร์ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายแหลม หยักเว้าเกือบถึงเส้นกลางใบ แฉกรูปขอบขนาน ปลายเรียว ขอบเรียบ เส้นกลางใบเป็นสันนูนเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน แผ่นใบเรียบ แข็งหนา ขนาดของใบ ยาวได้ถึง 50-60 ซ.ม.กว้าง 25-35 ซ.ม. อับสปอร์มีขนาดเล็ก เป็น 2 แถว อยู่ระหว่างเส้นกลางใบ จัดเรียงตัวไม่เป็นระเบียบอับสปอร์ กระจายไม่เป็นระเบียบบนเส้นใยใบร่างแห
กระแตชนิดนี้ พบที่ภาคตะวันออก ที่เขาใหญ่ และที่ยะลา กระจายพันธุ์ใน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตเลียเขตร้อน และโพลินีเซีย
ในตำราสมุนไพรจีน เฟินสกุลนี้เป็นสมันไพรที่มีความสำคัญมากตัวหนึ่ง ใช้สำหรับบำบัดอาการป่วยเนื่องจากกระดูกแตกและเส้นเอ็นฉีกขาด โดยนำเฟินสกุลนี้ไปเข้ากับสมุนไพรตัวอื่น หรือใช้เดี่ยว นอกจากนี้นังครอบคลุมไปถึงอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว ซึ่งสรรพคุณนี้ชาวจีนโบราณค้นพบมานานร่วมพันปีแล้ว และเรียกมันว่า "Mender of Shattered Bones." เฟินสกุลนี้นำไปผสมกับ Dipsacus และอื่นๆ เพื่อใช้บำบัดอาการป่วยได้ดีนอกจากนี้ เฟินในสกุลนี้ ใช้สำหรับบำบัดอาการปวดหลังและหัวเข่า แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน ในตำราสมุนไพรไทยโบราณ ใช้เหง้าต้มดื่ม แก้โรคหืดหอบ ได้อีกด้วย
เหง้าของ Drynaria มีรสขม มีสรรพคุณช่วยให้โลหิตหมุนเวียน แก้อาการมือเท้าเย็น ขยายหลอดเลือด ลดอาการเจ๊บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อฉีกขาด แก้ไขข้ออักเสบ ปวดหลัง ปวดข้อ กระดูกแตก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น