วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

กะตังใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Leea indica (Burm.f.) Merr.

ชื่อพื้นเมือง: คะนางใบ บังบายต้น

ชื่อวงศ์: LEEACEAE

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์

ไม้ลัมลุกอายุหลายปีทอดนอนตามพื้นดินหรืออาจสูงได้ถึง 1 ม. มีหัวใต้ดิน หูใบติดบนก้านใบเป็นปีกแคบๆ กว้าง 0.3-0.5 ซม. ยาว 1-3 ซม. ใบมี 3 ใบย่อยหรือใบประกอบย่อย 1-3 ใบ แกนกลางยาวได้ประมาณ 10 ซม. มีขนละเอียด บางครั้งเป็นปีกแคบๆ ก้านใบยาว 3-10 ซม. ใบย่อยมีหลายรูปแบบ ส่วนมากรูปไข่ รูปขอบขนานหรือเกือบกลม ยาว 3-12 ซม. มีขนกระจาย ขอบจักฟันเลื่อยหรือจักมนเป็นคลื่น ปลายกลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบกลมหรือรูปลิ่ม ไม่เท่ากัน ก้านใบย่อยยาวได้ถึง 0.8 ซม. มีปีกแคบๆ ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 8 ซม. มีขนกระจาย ดอกแน่น ใบประดับรูปสามเหลี่ยมยาวประมาณ 0.3 ซม. ติดทน ก้านช่อดอกยาว 1-5 ซม. กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงติดเป็นหลอดยาวประมาณ 0.2 ซม. กลีบยาวประมาณ 0.1 ซม. หลอดกลีบดอกยาวเท่าๆ หลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอกยาวประมาณ 0.2 ซม. หลอดเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันยาวประมาณ 0.1 ซม. ปลายแยกกัน ยาวประมาณ 0.1 ซม. รังไข่มี 4-6 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 0.1-0.2 ซม. ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 0.5-0.8 ซม. สีม่วงดำ เมล็ดมี 4-6 เมล็ด กลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 0.3 ซม.กะตังใบเตี้ยมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาคยกเว้นภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ ขึ้นหนาแน่นตามทุ่งหญ้าในป่าเต็งรัง หรือป่าเบญจพรรณ ระดับความสูงจนถึงประมาณ 250 เมตร

นิเวศวิทยา: พบขึ้นได้ทั่วไป

การใช้ประโยชน์: รากต้มกินเป็นยาแก้ท้องเสีย ผลกินได้ เป็นยาขับเหงื่อ ระงับความร้อน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย รากแก้บิดและท้องร่วง

การขยายพันธุ์:ใช้เมล็ด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...