วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อุตพิต

อุตพิต

ชื่ออื่น ๆ : มะโหรา (จันทบุรี) , บอนแก้ว (เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Typhonium trilobatum Schott.

วงศ์ : ARACEAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน หัวจะเล็กเป็นรูปเกือบจะกลม วัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1.2 ซม.

ใบ : จะมีลักษณะเป็นแฉกกลางรูปไข่ปลายแหลม ใบเป็นสีเขียวมีลาย หรือจุดประสีม่วง ก้านใบมีความยาวประมาณ
37.5 ซม. ใบจะเป็นหยัก 3 แฉก มีความกว้างและยาวประมาณ 25-30 ซม.

ดอก : จะออกเป็นช่อ เป็นแท่งยาว ช่อดอกมีกาบหุ้มยาวประมาณ 23 ซม. กาบจะกว้างประมาณ 7.5 ซม. ก้านช่อดอกจะเป็นสีเลือดนกปนน้ำตาล หรือสีแดงเข้ม ดอกเพศเมียจะอยู่ตรงโคนแท่ง เหนืออกเพศเมียจะเป็นดอกฝ่อ เป็นสีขาวถัดไปเป็นที่ว่าง เหนือที่ว่างนั้นจะเป็นดอกเพศผู้
เป็นสีชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีกลิ่นเหม็น

ผล : ผลสดจะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ภายในจะมีเมล็ดอยู่

การขยายพันธุ์ : โดยการแยกหน่อ

ส่วนที่ใช้ : หัว กาบ ก้านใบ และราก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : หัว ใช้เป็นยากัดเถาดานในท้อง กัดฝ้าหนองสมานแผลหรือใช้หุงเป็นน้ำมันใส่แผล และใช้ปิ้งไฟใช้กินได้

กาบ นำไปหั่นให้ละเอียด ใช้ดองกินเป็นอาหารผักได้

ก้านใบ ลอกเปลือกออกใช้แกงส้มแบบเดียวกับแกงบอนได้

ราก จะมีฤทธิ์เป็นยากระตุ้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร ใช้กินกับกล้วยรักษาโรคปวดท้อง หรือใช้ทาภายนอกและกินรักษาพิษงูกัดได้

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน ของทวีปเอเชีย มักพบขึ้นทั่ว ๆ ไป ตามที่ร่มเย็น




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...