วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

สำมะนา

ชื่ออื่น ๆ : ส้มเนารา (ระนอง), เขี้ยวงู (ประจวบคีรีขันธ์), สักขรีย่าน (ชุมพร), สำปันงา (สตูล), สำลีงา, สำมะลีงา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), โฮวหลั่งเช่า, จุยหู่มั้ว (จีน)

ชื่อสามัญ : Petit Fever Leaves, Garden Quinine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendron inerme Gaertn

วงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งเถา แตกกิ่งก้านสาขามากมาย กิ่งก้านจะมีสีเทา หรือขาวมน ๆ ออก น้ำตาลเล็กน้อย ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร

ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคน ใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบ พื้นใบเป็นสีเขียวและมัน เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็นเขียว ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2 นิ้วยาว 1.5-3 นิ้ว

ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตรงง่ามใบ และส่วนยอดของต้นดอกมีขนาดเล็ก ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 3-7 ดอก แต่ส่วนมากจะพบ 3 ดอก ลักษณะของดอกเป็นหลอดเล็กยาว 1 นิ้วและส่วนปลายแยกออกเป็น 5 กลีบสีขาวบานกว้างประมาณ 8 มม. เกสรกลางดอกมี 4 อัน สีม่วงแดง

ผล : เมื่อดอกร่วงโรยไปก็จะกลายเป็นผล ซึ่งจะมีลักษณะเป็นทรงกลมยาว ประมาณ 12 มม. กว้าง 3 มม. และพอแก่จะแห้งแข็งแตกออกเป็น 4 ซีก

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบขึ้นในดินที่ชื้นแฉะหรือตามริมแม่น้ำลำคลอง ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก

สรรพคุณ : ใบ มีรสขม เย็น แต่ก็มีพิษ ใช้รักษาโรคมาลาเรีย แก้บวมแผลฟกช้ำ แก้โรคผิวหนังผื่น คัน ฆ่าพยาธิ แผลเน่าเปื่อย โดยจะใช้พอก หรือต้มกับน้ำชะล้างก็ได้ หรืออาจจะตาก แห้งแล้วบดเป็นผงทา โรย ตรงบริเวณที่เป็น

ราก มีรสเย็น ขม ต้มน้ำกินแก้ไข้หวัด ตับอักเสบ ตับม้ามไต หรือแก้อาการบวมตามร่างกายบางส่วน แผลบวมเจ็บถูกการกระทบกระแทก รากนี้จะมีกลิ่นเหม็นและเป็นพิษ

ข้อห้ามใช้ : ใบจะมีพิษมากกว่าราก ฉะนั้นห้ามรับประทาน

ตำรับยา : 1. ผิวหนังเป็นผื่นคันมีน้ำเหลือง แก้ฝี ใช้ใบต้มเคี่ยวเอาน้ำ ชะล้างตรงบริเวณที่เป็น

2. ปวดข้อ ปวดประสาทที่ก้นกบ ไข้หวัด ใช้รากแห้ง 30-60 กรัมต้มกับน้ำกิน แต่ต้องใช้ไฟอ่อน ๆ

3. แผลเลือดออก ใช้ใบที่ตากแห้งแล้ว บดเป็นผงแล้วนำไปโรยแผลที่เป็น

4. แผลฟกช้ำ บวมเนื่องจากถูกกระทบกระแทก เอวเคล็ดใช้ใบสดตำผสมกับเหล้า ถูทาตรงบริเวณที่เป็นหรือปวด

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : น้ำที่ได้จากการสกัดจากใบ จะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูก ของหนูใหญ่ที่แยกจากตัว และมีฤทธิ์ เพิ่มความดันเลือดของสุนัขที่ทำให้สลบชั่วคราว หรือถ้าเราให้ในปริมาณที่น้อยจะมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จากใบที่มีรสขม จะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูใหญ่ที่กำลังมีท้องและจากการสกัดแยกสารพวก sterols จากพืชชนิดนี้ ผลที่ออกไม่พบฮอร์โมนเพศหญิง หรือฮอร์โมนเพศชาย หรือของต่อ
เพศอื่น

สารเคมีที่พบ : ใบ มีสารที่ทำให้มีรสขม และละลายน้ำได้ด้วย ซึ่งเป็นพวกอัลคาลอยด์อยู่ 6 ชนิดคือ




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...