วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

สมอไทย

ชื่ออื่น ๆ : สมออัพยา (กลาง) , มะนะ (พายัพ) , ม่าแน่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) , หมากแน่ะ (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน)

ชื่อสามัญ : Chebulic Myrobalans, Myrobalan Wood

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz.

วงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตรและกว้าง 1.5-12 ฟุต

ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้นลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือสอบ
ขอบใบเรียบและพื้นใบเป็นสีเขียว ใบยาวประมาณ 2.5-6 นิ้วมีก้านใบยาว

ดอก : ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ขนาดของดอกนั้นจะเล็ก ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่จำนวนมาก สีนวลมีกลิ่นหอม

ผล : เป็นลูกกลม ๆ คล้ายรูปไข่ ยาวประมาณ 0.8 นิ้วสีเขียวอมเหลือง หรือบางทีก็มีสีแดงปน ภายในผลมีเมล็ดแข็งและมีอยู่เมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการตอน และเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ดอก ผล เปลือก และเนื้อหุ้มเมล็ด

สรรพคุณ : ทั้งต้น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการเสียวคอและเสียวหน้าอก แก้ท้องผูก ใช้เป็นยาสมาน

ดอก เป็นยารักษาโรคบิด

ผล ใช้ทาภายนอกบดให้ละเอียดโรยแผลเรื้อรัง ถ้าเป็นผลอ่อนเป็นยาระบาย และผลแก่จะมีรสฝาด ซึ่งมีสารพวก tannin เป็นยาสมาน ยาระบายรู้จักปิด แก้ลมจุกเสียด เป็นยาเจริญอาหาร หรือยาบำรุง อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย

เปลือก เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ

เนื้อ หุ้มเมล็ด แก้บิด แก้ท้องผูก ท้องขึ้นอืดเฟ้อ รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี โรคท้องมาน ตับและม้ามโต อาเจียน อาการสะอึก โรคหืด ท้องร่วงเรื้อรัง

ตำรับ ยา : เป็นยาระบาย โดยการนำเอาผลมาประมาณ 5-7 ผลแล้วใช้เนื้อในของผล ต้มกับน้ำ 1 แก้วใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวให้เหลือครึ่งแก้ว แล้วทาน ประมาณ 1-2 ชั่วโมงก็จะถ่ายออกมา

สารเคมีที่พบ : ในผลอ่อนมีสารพวก anthraquinone และผลที่แก่มีกรด chebulinic, tannic ประมาณ 20-40% gallic acid



กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...