วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

สมอพิเภก

ชื่ออื่น ๆ : สมอแหน (กลาง), ซิปะดู้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แหนต้น, แหน, แหนขาว (เหนือ), สะดู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อสามัญ : Beleric myrobalan, Ink Nut.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.

วงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะ ทั่วไป :


ต้น : เป็นพรรณไม้ผลัดใบ มีตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ซึ่งมีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ผิวเปลือกของต้นแตกเป็นร่องเล็ก ๆ รอยถากมีสีเหลือง เปลือกของมันมีสีเทาอมน้ำตาลหรือสีดำ ๆ ด่าง ๆ บริเวณกิ่งอ่อนของมันจะมีขนติดอยู่ประปราย

ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนและเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเข้าหากัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-6 นิ้วยาว 5-7.5 นิ้ว หลังใบสีเขียวเข้มและจะปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาลอ่อน ใต้ท้องใบมีสีเทาจาง ๆ มีขนอ่อน ๆ เมื่อใบแก่ขนทั้ง 2 ข้างก็จะหลุดออกไป

ดอก : ออกเป็นช่อเดี่ยว ๆ ปลายช่อดอกจะห้อยลงดิน ช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกมี 5 กลีบ ๆ ดอกแต่ละกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ภายในดอกจะมีเกสรอยู่ 10 อันแบ่งออกเป็น 2 แถว

ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปแบบผลมะละกอ ตรงกลางค่อนข้างจะป่อง มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. มีอยู่ 5 เหลี่ยม ผิวนอกเป็นขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาทึบ

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณ ป่าไม้เต็งรัง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขึ้นได้ดีในดินที่มีความร่วนซุย และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำกิ่ง ตอนกิ่งและเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ผล และเปลือกผล

สรรพคุณ : ผล จะต้องเป็นผลที่โตเต็มที่ หรือแก่จนใช้การได้แล้ว จะใช้เป็นยาระบายได้ดี

เปลือกผล ใช้เป็นยาแก้ท้องเดิน

สารเคมีที่พบ : ในเปลือกจะมีแทนนินถึง 42% ซึ่งผลสุกและเปลือกนี้จะมีแทนนินสูง




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...