หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่คนไทยเริ่มรู้จัก และมีการบริโภคกันมากขึ้น แต่ผลผลิตใหญ่ที่ผลิตได้ในขณะนี้ ถูกส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศมากกว่าครึ่งหรือเกือบทั้งหมด ทั้งในรูปของหน่อไม้ฝรั่งสด และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น หน่อไม้ฝรั่งบรรจุกระป๋อง บรรจุขวดและแช่แข็ง ตลาดต่างประเทศที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ๋น สิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศในแถบยุโรป เพราะประเทศเหล่านี้ไม่สามารถผลิตหน่อไม้ฝรั่งให้เพียงพอแก่ความต้องการการบริโภคได้ จึงจำเป็นต้องรับซื้อจากประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่สามารถผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่ได้คุณภาพประเทศหนึ่ง เนื่องจากตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการหน่อไม้ฝรั่งหน่อขาวในปริมาณมาก การปลูกเพื่อผลิตหน่อไม้ฝรั่งหน่อขาวจึงจำเป็นจะต้องรักษาและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตให้ดี และได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอเพื่อสนองความต้องการของตลาด ดังนั้นในขั้นตอนการปลูกจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการปฏิบัติตามคำแนะนำทางวิชาการจากเอกสารและจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ทั้งนี้เพราะหน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการให้เอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ควรจะเริ่มต้นปลูกแต่น้อยก่อน เพื่อเป็นการศึกษาถึงธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เมื่อเกิดความชำนาญแล้ว จึงขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
การเตรียมดิน
การเตรียมดิน
1. ควรปรับปรุงสภาพดินโดยใช้ปูนขาว ปุ๋ยอินทรีย์โรยบริเวณพื้นที่ที่ปลูกแล้วไถกลบ เพื่อให้ดินมีสภาพร่วนซุย ช่วยในการระบายและถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น
2. ควรไถดินให้ลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อให้รากเจริญเติบโตและหาอาหารเลี้ยงลำต้นได้ดี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่
3. ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 50 x 150-200 เซนติเมตร
การปลูก
2. ควรไถดินให้ลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อให้รากเจริญเติบโตและหาอาหารเลี้ยงลำต้นได้ดี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่
3. ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 50 x 150-200 เซนติเมตร
การปลูก
1. เตรียมดินให้ลึก 30-35 เซนติเมตร เพื่อให้รากเจริญเติบโตและหาอาหารเลี้ยงลำต้นได้ดี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่
2. ระยะปลูกที่ใช้คือ 50 x 150-200 เซนติเมตร
3. กล้าที่ใช้ปลูกควรมีลักษณะดังนี้
3.1 อายุ 4-6 เดือน
3.2 ความสูงของต้นมากกว่า 50 เซนติเมตร
3.3 มีรากสะสมอาหารสมบูรณ์และมีจำนวนรากมาก
3.4 มีตาสมบูรณ์ขนาดใหญ่ โดยรอบเหง้า
3.5 กล้าต้องปราศจากโรคแมลง
4. เมื่อย้ายกล้าจากแปลงกล้าแล้วควรปลูกทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 3 วัน
5. ใช้กล้า 1 ต้นต่อ 1 หลุม
6. ในหลุมปลูกควรลึก 10-15 เซนติเมตร กว้างยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และทำเนินตรงกลางหลุม
7. วางกล้าในลักษณะแผ่รากให้กระจายบนเนิน ทิศทางของตาไปแนวเดียวกันกับแถว แล้วกลบดิน
เทคนิคการผลิตหน่อขาว
2. ระยะปลูกที่ใช้คือ 50 x 150-200 เซนติเมตร
3. กล้าที่ใช้ปลูกควรมีลักษณะดังนี้
3.1 อายุ 4-6 เดือน
3.2 ความสูงของต้นมากกว่า 50 เซนติเมตร
3.3 มีรากสะสมอาหารสมบูรณ์และมีจำนวนรากมาก
3.4 มีตาสมบูรณ์ขนาดใหญ่ โดยรอบเหง้า
3.5 กล้าต้องปราศจากโรคแมลง
4. เมื่อย้ายกล้าจากแปลงกล้าแล้วควรปลูกทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 3 วัน
5. ใช้กล้า 1 ต้นต่อ 1 หลุม
6. ในหลุมปลูกควรลึก 10-15 เซนติเมตร กว้างยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และทำเนินตรงกลางหลุม
7. วางกล้าในลักษณะแผ่รากให้กระจายบนเนิน ทิศทางของตาไปแนวเดียวกันกับแถว แล้วกลบดิน
เทคนิคการผลิตหน่อขาว
การพูนดินกลบโคน จะเป็นวิธีการที่กำหนดชนิดของหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งหน่อไม้ฝรั่งหน่อขาวจำเป็นต้องกลบดินสูงกว่าหน่อไม้ฝรั่งหน่อเขียว เนื่อจากหน่อไม้ฝรั่งหน่อขาวจะเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งเป็นหน่อที่อยู่ใต้ดิน ความสูงของดินที่กลบจะต้องสัมพันธ์กับความยาวของหน่อที่ตลาดต้องการ
วิธีการ
วิธีการ
1. พูนดินกลบโคนด้วยดินหรือดินผสมแกลบให้สูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร
2. การพูนดินกลบโคนควรทำ 2-3 ครั้งต่อไป โดยทำพร้อมกับการกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ย
3. หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องกลบดินพูนโคนไว้เช่นเดิม
การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา
2. การพูนดินกลบโคนควรทำ 2-3 ครั้งต่อไป โดยทำพร้อมกับการกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ย
3. หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องกลบดินพูนโคนไว้เช่นเดิม
การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา
1. อายุเก็บเกี่ยว 8-10 เดือน หลังจากเพาะเมล็ด
2. การเก็บเกี่ยวควรทำช่วงเช้า 6.00-10.30 น.
3. เมื่อเห็นหน่อโผล่สูงจากดินประมาณ 0.5 เซนติเมตร คุ้ยดินลงไปเก็บหน่อแล้วกลบดินไว้ตามเดิม
4. การเก็บระวังอย่าให้กระทบกระเทือนถึงหน่ออื่นที่จะแทงขึ้นมา
5. หน่อที่เก็บได้ให้รีบนำเก็บไว้ในที่ร่มเพื่อทำการคัดเกรด
6. ถ้าเก็บหน่อไว้ไม่นาน ให้ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำสะอาดบิดให้หมาด คลุมตะกร้าไว้ อย่าให้หน่อเปียกน้ำ
7. ถ้าต้องการเก็บรักษาไว้นาน ให้นำเอาตะกร้าที่บรรจุหน่อไม้ฝรั่งเก็บใส่ถังน้ำแข็ง หรือตู้เย็น ที่อุณหภูมิประมาณ 2 องศาเซลเซียส และอย่าให้หน่อเปียกน้ำ
โรคแมลงเป็นศัตรูที่มีความสำคัญต่อการปลูกหน่อไม้ฝรั่งเป็นอย่างมาก หากปล่อยให้มีการระบาดรุนแรงแล้ว จะทำให้ได้ผลผลิตลดลง และมีคุณภาพต่ำ เป็นผลเสียอย่างมากต่อการส่งผลผลิตออกไปจำหน่ายสู่ตลาดภายใน และต่างประเทศ ฉะนั้น จึงควรได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี
โรคที่สำคัญของหน่อไม้ฝรั่ง ได้แก่
1. โรคลำต้นไหม้ (Stem blight)
2. การเก็บเกี่ยวควรทำช่วงเช้า 6.00-10.30 น.
3. เมื่อเห็นหน่อโผล่สูงจากดินประมาณ 0.5 เซนติเมตร คุ้ยดินลงไปเก็บหน่อแล้วกลบดินไว้ตามเดิม
4. การเก็บระวังอย่าให้กระทบกระเทือนถึงหน่ออื่นที่จะแทงขึ้นมา
5. หน่อที่เก็บได้ให้รีบนำเก็บไว้ในที่ร่มเพื่อทำการคัดเกรด
6. ถ้าเก็บหน่อไว้ไม่นาน ให้ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำสะอาดบิดให้หมาด คลุมตะกร้าไว้ อย่าให้หน่อเปียกน้ำ
7. ถ้าต้องการเก็บรักษาไว้นาน ให้นำเอาตะกร้าที่บรรจุหน่อไม้ฝรั่งเก็บใส่ถังน้ำแข็ง หรือตู้เย็น ที่อุณหภูมิประมาณ 2 องศาเซลเซียส และอย่าให้หน่อเปียกน้ำ
โรคแมลงเป็นศัตรูที่มีความสำคัญต่อการปลูกหน่อไม้ฝรั่งเป็นอย่างมาก หากปล่อยให้มีการระบาดรุนแรงแล้ว จะทำให้ได้ผลผลิตลดลง และมีคุณภาพต่ำ เป็นผลเสียอย่างมากต่อการส่งผลผลิตออกไปจำหน่ายสู่ตลาดภายใน และต่างประเทศ ฉะนั้น จึงควรได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี
โรคที่สำคัญของหน่อไม้ฝรั่ง ได้แก่
1. โรคลำต้นไหม้ (Stem blight)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ ลักษณะอาการของโรคนี้จะพบว่า มีการทำลายเกิดขึ้นบริเวณโคนต้น ลำต้น กิ่งก้านและใบ ทำให้เกิดแผลรูปกระสวยขอบแผลสีน้ำตาล แผลที่เกิดจะขนานไปกับลำต้น ที่แผลจะมีจุดสีดำเล็กๆ ขึ้นเต็มเนื้อเยื่อ ขอบแผลจะแห้งเป็นสีเทา ต่อมาขนาดของแผลจะขยายเพิ่มขึ้นทำให้ลำต้นไหม้แห้งเป็นทางยาว เมื่อระบาดรุนแรงต้นจะหักตรงรอยแผล ต้นทรุดโทรมทำให้ใบร่วง และต้นแห้งตายในที่สุด
การแพร่ระบาด
โรคนี้แพร่ระบายได้ง่าย โดยเชื้อราจะปลิวไปกับลม หรือถูกน้ำชะพัดพาไป โดยเฉพาะในฤดูฝน โรคจะระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรง
การป้องกันและกำจัด
1. ก่อนย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลง ควรแช่ต้นกล้าด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างใดอย่างหนึ่งในกลุ่มต่อไปนี้
คาร์เบนดาซิม เช่น เดอโรซาล เดลซิน 50 บาวีซาน
โปรปิเน็บ เช่น แอนทราโคล
ซิเน็บ + มาเน็บ เช่น เอซินแมก
แมนโคเซ็บ เช่น ไดเทนเอ็ม - 45
การใช้ให้เพิ่มปริมาณสารอีก 1 เท่า จากอัตราส่วนตามคำแนะนำข้างภาชนะ แช่นาน 10 นาที แล้วผึ่งกล้าให้แห้งในที่ร่มก่อนนำไปปลูก
2. ทำทางระบาย อย่าให้น้ำขังแฉะ
3. ถอนหรือตัดต้นที่เป็นโรค รวมทั้งเศษพืชที่ร่วงหล่นตามพื้นแล้วรวบรวมเผาทำลายให้มด ไม่ควรนำไปกองไว้ข้างแปลง เพราะจะทำให้หน่อที่งอกใหม่ถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้
4. ในช่วงฤดูฝนถ้าพบว่า มีการระบาดของโรคในแปลงกล้า และแปลงปลูกมาก ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชพวก คาร์เบนดาซิมโปรปิเน็บ ทุก 5-7 วัน และถ้าการระบาดของโรคลดลงให้ระยะเวลาการพ่นเป็น 10-15 วัน
2. โรคเซอร์คอสปอร์ร่า ไบลท์ หรือลีฟ พร๊านซ์เซ็ทสปอท (โรคใบเทียมร่วง) (Cercospora blight or Leaf branchlet spot)
โรคเซอร์คอสปอร์ร่า ไบลท์ หรือลีฟ พร๊านซ์เซ็ทสปอท (โรคใบเทียมร่วง) (Cercospora blight or Leaf branchlet spot)
การแพร่ระบาด
โรคนี้แพร่ระบายได้ง่าย โดยเชื้อราจะปลิวไปกับลม หรือถูกน้ำชะพัดพาไป โดยเฉพาะในฤดูฝน โรคจะระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรง
การป้องกันและกำจัด
1. ก่อนย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลง ควรแช่ต้นกล้าด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างใดอย่างหนึ่งในกลุ่มต่อไปนี้
คาร์เบนดาซิม เช่น เดอโรซาล เดลซิน 50 บาวีซาน
โปรปิเน็บ เช่น แอนทราโคล
ซิเน็บ + มาเน็บ เช่น เอซินแมก
แมนโคเซ็บ เช่น ไดเทนเอ็ม - 45
การใช้ให้เพิ่มปริมาณสารอีก 1 เท่า จากอัตราส่วนตามคำแนะนำข้างภาชนะ แช่นาน 10 นาที แล้วผึ่งกล้าให้แห้งในที่ร่มก่อนนำไปปลูก
2. ทำทางระบาย อย่าให้น้ำขังแฉะ
3. ถอนหรือตัดต้นที่เป็นโรค รวมทั้งเศษพืชที่ร่วงหล่นตามพื้นแล้วรวบรวมเผาทำลายให้มด ไม่ควรนำไปกองไว้ข้างแปลง เพราะจะทำให้หน่อที่งอกใหม่ถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้
4. ในช่วงฤดูฝนถ้าพบว่า มีการระบาดของโรคในแปลงกล้า และแปลงปลูกมาก ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชพวก คาร์เบนดาซิมโปรปิเน็บ ทุก 5-7 วัน และถ้าการระบาดของโรคลดลงให้ระยะเวลาการพ่นเป็น 10-15 วัน
2. โรคเซอร์คอสปอร์ร่า ไบลท์ หรือลีฟ พร๊านซ์เซ็ทสปอท (โรคใบเทียมร่วง) (Cercospora blight or Leaf branchlet spot)
โรคเซอร์คอสปอร์ร่า ไบลท์ หรือลีฟ พร๊านซ์เซ็ทสปอท (โรคใบเทียมร่วง) (Cercospora blight or Leaf branchlet spot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ โรคนี้เกิดพร้อมกับโรคลำต้นไหม้ในฤดูฝน โดยจะมีแผลสีม่วงอมน้ำตาล หรือสีม่วงแดงเป็นจุดค่อนข้างกลมตรงกลางมีสีเทา ขอบแผลไม่สม่ำเสมอ ขนาดของแผลเป็นจุดไม่แน่นอน แผลจะมีมากตามใบเทียมที่เจริญเต็มที่แล้ว ทำให้ใบแห้งเหลืองร่วงหล่น ต้นที่เป็นโรคระบาดรุนแรง กิ่งจะแห้งและตายในที่สุด
การแพร่ระบาด สามารถแพร่ระบาดไปกับลมหรือติดไปกับละอองน้ำ
การป้องกันและกำจัด จะทำความเสียหายมากขึ้น ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง
1. ก่อนปลูกควรแช่ต้นกล้าด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มดังต่อไปนี้
คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ เช่น คูปร๊อก คูปราวิท
คาร์เบนดาซิม เช่น บาวีซาน เบ็นท๊อกซ์ เบนเลท 75 ซี
มาเน็บ เช่น ทวินมาเน็บ
เบนโนบิล เช่น เบนเลท ฟันดาโซล 50
โดยเพิ่มปริมาณสารอีก 1 เท่า จากอัตราส่วนตามคำแนะนำข้างภาชนะนาน 10 นาที แล้วผึ่งให้แห้งก่อนนำไปปลูก
2. หมั่นตรวจดูแปลงให้สะอาดเสมอ บำรุงต้นให้แข็งแรงสมบูรณ์ตลอดเวลา เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
3. ควรถอนหรือตัด้นที่เป็นโรคทิ้ง แล้วเผาทำลายให้หมด ไม่ควรนำไปวางกองสุมไว้ในแปลง เพราะจะทำให้หน่อที่งอกใหม่ถูกเชื้อโรคทำลายได้
4. ถ้ามีการระบาดของโรคให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชพวกคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ คาร์เบนดาซิม มาเน็บ และเบนโนมิล อัตราส่วนตามคำแนะนำข้างภาชนะ การปฏิบัติเช่นเดียวกับการใช้สารป้องกันกำจัดโรคลำต้นไหม้
3. โรคเน่าเปียก (Wet rot)
ลักษณะอาการ โรคนี้เกิดพร้อมกับโรคลำต้นไหม้ในฤดูฝน โดยจะมีแผลสีม่วงอมน้ำตาล หรือสีม่วงแดงเป็นจุดค่อนข้างกลมตรงกลางมีสีเทา ขอบแผลไม่สม่ำเสมอ ขนาดของแผลเป็นจุดไม่แน่นอน แผลจะมีมากตามใบเทียมที่เจริญเต็มที่แล้ว ทำให้ใบแห้งเหลืองร่วงหล่น ต้นที่เป็นโรคระบาดรุนแรง กิ่งจะแห้งและตายในที่สุด
การแพร่ระบาด สามารถแพร่ระบาดไปกับลมหรือติดไปกับละอองน้ำ
การป้องกันและกำจัด จะทำความเสียหายมากขึ้น ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง
1. ก่อนปลูกควรแช่ต้นกล้าด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มดังต่อไปนี้
คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ เช่น คูปร๊อก คูปราวิท
คาร์เบนดาซิม เช่น บาวีซาน เบ็นท๊อกซ์ เบนเลท 75 ซี
มาเน็บ เช่น ทวินมาเน็บ
เบนโนบิล เช่น เบนเลท ฟันดาโซล 50
โดยเพิ่มปริมาณสารอีก 1 เท่า จากอัตราส่วนตามคำแนะนำข้างภาชนะนาน 10 นาที แล้วผึ่งให้แห้งก่อนนำไปปลูก
2. หมั่นตรวจดูแปลงให้สะอาดเสมอ บำรุงต้นให้แข็งแรงสมบูรณ์ตลอดเวลา เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
3. ควรถอนหรือตัด้นที่เป็นโรคทิ้ง แล้วเผาทำลายให้หมด ไม่ควรนำไปวางกองสุมไว้ในแปลง เพราะจะทำให้หน่อที่งอกใหม่ถูกเชื้อโรคทำลายได้
4. ถ้ามีการระบาดของโรคให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชพวกคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ คาร์เบนดาซิม มาเน็บ และเบนโนมิล อัตราส่วนตามคำแนะนำข้างภาชนะ การปฏิบัติเช่นเดียวกับการใช้สารป้องกันกำจัดโรคลำต้นไหม้
3. โรคเน่าเปียก (Wet rot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ เกิดกับหน่อไม้ฝรั่งที่เป็นต้นอ่อนเริ่มแตกกิ่งแขนงหรือยอดอ่อน เชื้อโรคจะเข้าทำลายตรงปลายหน่อ ทำให้มีลักษณะฉ่ำน้ำสีเขียวเข้ม ต่อมายอดอ่อนจะมีสีเหลืองและเหี่ยว ถ้าสังเกตบนแผลจะมีเส้นใยราสีเทาอ่อน งอกขึ้นมาเป็นก้านตั้งตรงสั้นๆ ที่ปลายโป่งออก เป็นหัวสีดำเล็กๆ มองเห็นชัดเจน อาการเน่าลุกลามรวมเร็ซมากในขณะที่ฝนตกชุกต้นจะเน่ายุบไปทั้งแปลง ภายใน 2-3 วัน
การแพร่ระบาด โรค จะระบาดรุนแรง เนื่องจากอาการมีความชื้นสูง มีฝนตกสลับกับแดดออก และฝนตกซ้ำอีก
การป้องกันและกำจัด
การแพร่ระบาด โรค จะระบาดรุนแรง เนื่องจากอาการมีความชื้นสูง มีฝนตกสลับกับแดดออก และฝนตกซ้ำอีก
การป้องกันและกำจัด
1. ถอนต้นทิ้ง เผาทำลายเสีย
2. ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มต่อไปนี้
ไตรโฟรีน เช่น ซาพรอล
ไธอะเบนดาโซล เช่น พรอนโต
แมนโคเซ็บ เช่น ไดเทนเอ็ม 45
ฉีดพ่อนทุก 5-7 วัน ถ้ามีการระบาดรุนแรงอันเนื่องมาจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง ควรฉีดพ่อนทุก 3 วัน จนกว่าโรคจะเบาบางลง จึงลดการพ่นให้ห่างออกไป
4. โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
2. ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มต่อไปนี้
ไตรโฟรีน เช่น ซาพรอล
ไธอะเบนดาโซล เช่น พรอนโต
แมนโคเซ็บ เช่น ไดเทนเอ็ม 45
ฉีดพ่อนทุก 5-7 วัน ถ้ามีการระบาดรุนแรงอันเนื่องมาจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง ควรฉีดพ่อนทุก 3 วัน จนกว่าโรคจะเบาบางลง จึงลดการพ่นให้ห่างออกไป
4. โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ จะเกิดแผลสีน้ำตาลเห็นได้ชัดเจนบนลำต้นที่ไม่อ่อนและแก่จนเกินไป ลักษณะเป็นวงสีเข้ม หรือดำซ้อนๆ กัน ขอบแผลชั้นนอกจะช้ำคล้ายน้ำร้อนลวก มีสีเขียวเข้ม แผลจะยุบตัวลงตามความยาวของลำต้น เมื่อเป็นมากขึ้นแผลจะขยายออกไป ทำให้ลำต้นยุบตัวลงจะเห็นแผลเป็นวงซ้อนๆ กัน สีดำเล็กๆ ตรงบริเวณแผลต้นแห้งหักตรงกลางรอยแผล ใบร่วงยอดแห้ง
การแพร่ระบาด โรคนี้แพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วในฤดูฝนหรือในช่วงที่ความชื้นสูง สามารถปลิวไปกับลม และถูกน้ำชะพาไป
การป้องกันและกำจัด
การแพร่ระบาด โรคนี้แพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วในฤดูฝนหรือในช่วงที่ความชื้นสูง สามารถปลิวไปกับลม และถูกน้ำชะพาไป
การป้องกันและกำจัด
1. ทำทางระบายอย่าให้น้ำขังแฉะ
2. เก็บเศษซากพืช
และถอนส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อและรักษาความสะอาดของแปลง
3. ถ้ามีการระบาดให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มต่อไปนี้
เบนโนมิล เช่น เบนเลท
ซิเน็บ + มาเน็บ เช่น เอซินแมก
คาร์เบนดาซิม เช่น มัยซิน เดอโรซาน 50
โปรปิเนบ เช่น แอนทราโคล
สำหรับอัตราส่วนผสมตามคำแนะนำข้างภาชนะบรรจุ ฉีดพ่นทุก 7 วัน
5. โรคหน่อเน่าหรือเน่าเละ (Soft rot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อบักเตรี
2. เก็บเศษซากพืช
และถอนส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อและรักษาความสะอาดของแปลง
3. ถ้ามีการระบาดให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มต่อไปนี้
เบนโนมิล เช่น เบนเลท
ซิเน็บ + มาเน็บ เช่น เอซินแมก
คาร์เบนดาซิม เช่น มัยซิน เดอโรซาน 50
โปรปิเนบ เช่น แอนทราโคล
สำหรับอัตราส่วนผสมตามคำแนะนำข้างภาชนะบรรจุ ฉีดพ่นทุก 7 วัน
5. โรคหน่อเน่าหรือเน่าเละ (Soft rot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อบักเตรี
ลักษณะอาการ หน่ออ่อนจะเกิดจุดช้ำน้ำและเน่า มีลักษณะเป็นน้ำเมือกเยิ้ม กลิ่นเหม็นฉุน แผลจะยุ่ยและเป็นสีเทาหรือน้ำตาลจางๆ ชิ้นส่วนหรือต้นที่แสดงอาการเน่าดังกล่าว หากไม่รีบแยกออก จะทำให้ต้นและส่วนที่เหลืออื่นๆ เกิดการติดเชื้อและเสียหายหมดในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะเวลาอากาศร้อนและความชื้นสูง
การแพร่ระบาด จะสร้างความเสียหายรุนแรงในฤดูฝนที่มีความชื้นสูงและอากาศร้อนอบอ้าว โรคนี้เกิดได้ทั้งอยู่ในแปลงและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้ว โดยเชื้อจะเข้าทางบาดแผลที่เกิดจากหนอนกัดกินจากการพรวนดิน หรือกำจัดวัชพืช
การป้องกันและกำจัด
1. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำได้ดีไม่ขังแฉะ
2. กำจัดแมลง เพื่อไม่ให้กัดกินหน่อและระมัดระวังบาดแผล
3. ควรเก็บเกี่ยวหน่อด้วยความระมัดระวัง อย่าให้เกิดแผลช้ำ หรือฉีกขาดกับต้นตอที่ยังเหลืออยู่ในแปลง
4. เก็บหรือบรรจุผลิตผลที่เก็บเกี่ยวแล้วภาชนะที่สะอาด เมื่อพบชิ้นส่วนหรือต้นใดเป็นโรคให้รีบแยกออกไปทำลายเสีย
5. ผลิตผลที่เก็บเกี่ยวขณะรอการขนส่งหรือจำหน่าย ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะจดความเสียหายจากการเน่าลงได้
จากเว็บ http://www.doae.go.th/LIBRARY/html/detail/normai/norm6.htm
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
การแพร่ระบาด จะสร้างความเสียหายรุนแรงในฤดูฝนที่มีความชื้นสูงและอากาศร้อนอบอ้าว โรคนี้เกิดได้ทั้งอยู่ในแปลงและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้ว โดยเชื้อจะเข้าทางบาดแผลที่เกิดจากหนอนกัดกินจากการพรวนดิน หรือกำจัดวัชพืช
การป้องกันและกำจัด
1. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำได้ดีไม่ขังแฉะ
2. กำจัดแมลง เพื่อไม่ให้กัดกินหน่อและระมัดระวังบาดแผล
3. ควรเก็บเกี่ยวหน่อด้วยความระมัดระวัง อย่าให้เกิดแผลช้ำ หรือฉีกขาดกับต้นตอที่ยังเหลืออยู่ในแปลง
4. เก็บหรือบรรจุผลิตผลที่เก็บเกี่ยวแล้วภาชนะที่สะอาด เมื่อพบชิ้นส่วนหรือต้นใดเป็นโรคให้รีบแยกออกไปทำลายเสีย
5. ผลิตผลที่เก็บเกี่ยวขณะรอการขนส่งหรือจำหน่าย ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะจดความเสียหายจากการเน่าลงได้
จากเว็บ http://www.doae.go.th/LIBRARY/html/detail/normai/norm6.htm
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น