วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

สัตตบรรณ (สัตบรรณ)

ชื่อ อื่น ๆ : จะบัน (เขมร-ปราจีนบุรี), ตีนเป็ด, ชบา, พญาสัตตบรรณ (กลาง), กะโน้ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ตีนเป็ดขาว (ยะลา), หัสบรรณ (กาญจนบุรี), ยางขาว(ลำปาง), บะซา, ปูลา, ปูแล (มาเลย์-ยะลา, ปัตตานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris R.Br.

วงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะ ทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ข้อต้น ลำต้นจะเป็น พูพอน มีเปลือกสีเทาและเมื่อหักดูจะมีน้ำยางมาก ลำต้นสูงถึง 30 เมตร

ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว จะออกเรียงรอบ ๆ ข้อต้นข้อละ 4-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี หรือไข่กลับ ปลายใบจะมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบแคบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเรียบ ด้านบนสีเขียวสด ด้านล่างสีขาวนวล ผิวเกลี้ยง ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้วยาว 2-7 นิ้ว

ดอก : ออกเป็นช่อที่ส่วนยอดของต้น หรือตามปลายกิ่ง และในแต่ละช่อนั้นจะแยกออกเป็น ก้าน ดอกอีก ซึ่งลักษณะของการแยกนั้นคล้ายกับซี่ร่ม ดอกจะมีจำนวนมากติดรวมกันอยู่เป็นกระจุกกลม ๆ ดอกมีอยู่ 5 กลีบสีขาวอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันท่อ ปลายกลีบมนและมีขน เกสรกลางดอกมี 5 อัน

ผล : เป็นฝัก ออกเป็นคู่ ๆ เมื่อแก่จัดจะแตกออกเป็น 2 ซีกเห็นเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก ผลโตประมาณ 2.5-3.5 มม.

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด หรือตอน

ส่วนที่ใช้ : ใบ ยาง เมล็ด ราก และเปลือก

สรรพคุณ :
ใบ ใช้พอกดับพิษต่าง ๆ หรือใช้ใบอ่อนปรุงเป็นยารักษาโรคลักปิดลักเปิดโดยการชงดื่มน้ำยาง ใช้ปรุงเป็นยารักษาแผลเน่าเปื่อย เป็นยาบำรุงกระเพาะ บำรุงคนไข้ภายหลังที่เจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้เจริญอาหาร

เมล็ด นี้จะเป็นยาพิษ มีสารพวก cardiac glycoside

ราก เป็นยาแก้โรคมะเร็ง แก้ลมในลำไส้

เปลือก เป็นยาสมานแผลในลำไส้ รักษาเบาหวาน แก้ไอ แก้ไข้ ขับน้ำนม ขับพยาธิไส้เดือน รักษาโรคบิด แก้โรคตับ หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วงเรื้อรัง

ถิ่นที่อยู่ : จะพบได้ตามป่าดงดิบทั่ว ๆ ไป หรือตามป่าละเมาะ





กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...