วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

โกงกางใบเล็ก

โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata B1.)

วงศ์ : RHIZOPHORACEAE

ชื่ออื่น : โกงกาง (ระนอง); พังกาใบเล็ก (พังงา); พังกาทราย (กระบี่)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ไผ่ผลัดใบขนาดกลาง – ใหญ่ สูง ๒๐ – ๔๐ เมตร เปลือก สีเทาดำ ผิวเปลือกเรียบ แตกเป็นร่องเล็กตามยาวของลำต้น เด่นชัดกว่าร่องตามขวาง เมื่อทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่จะพบว่าด้านในของเปลือกเป็นสีแสดอมแดง เรือนยอดแคบรูปปิระมิด รอบ ๆ บริเวณโคนต้นมีรากค้ำจุน ทำหน้าที่พยุงลำต้น และมักมีรากอากาศซึ่งเกิดจากกิ่งตอนบนเป็นจำนวนมาก

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทางกัน แผ่นใบรูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรี ขนาดใบ ๔ – ๘ x ๗ – ๑๘ ซม. ฐานใบสอบเข้าหากัน คล้ายรูปลิ่ม ปลายใบแหลมมีติ่งแหลมอ่อน เส้นกลางใบด้านท้องใบสีแดงเรื่อ ๆ ก้านใบอ่อนสีแดง ยาว ๑.๕ – ๓.๕ ซม. หูใบที่ปลายยอดสีชมพูถึงแดงยาว ๔ – ๘ ซม. ใบเกลี้ยง ท้องใบสีเขียวอมดำ มีจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่เต็มท้องใบ

ดอก ช่อดอกเกิดที่ง่ามใบ ช่อหนึ่ง ๆ มี ๒ ดอก ก้านช่อดอกใหญ่ ยาว ๐.๖ – ๒ ซม. ไม่มีก้านดอกย่อย กลีบเลี้ยงรูปไข่ สีเขียวอมเหลือง ๔ กลีบ ร่วงง่าย รูปใบหอกสีขาว ขนาด ๐.๑ – ๐.๒ x ๐.๗ – ๑.๒ ซม. ออกดอกในราวเดือนกันยายน – มกราคม

ผล รูปผลแพร์กลับ ผิวหยาบ ยาว ๒ – ๓ ซม. สีน้ำตาลเข้ม จะงอกตั้งแต่ผลยังติดอยู่ตามบนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงซึ่งมักเรียกว่า “ฝัก” มีผิวเรียบสีเขียว ขนาด ๑ – ๑.๒ x ๒๐ – ๔๐ ซม. มักโค้งงอทางด้านปลายฝัก โคนฝักทู่ เมื่อฝักแก่ส่วนของใบเลี้ยงที่ยื่นออกมา ยาว ๑ – ๒ ซม. ที่อยู่ระหว่างผลและฝักจะมีสีน้ำตาลแดงและฝักจะหลุดหล่นได้เอง ฝักแก่ในราวเดือนเมษายน - ธันวาคม

โกงกางใบเล็ก มักขึ้นได้ดีในบริเวณที่ดินเลนอ่อน ไม่ลึกมากนัก มีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะพื้นที่ติดทะเล ปากแม่น้ำ ลำคลอง





กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...