วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

ตะบูนดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylocarpus moluccensis

วงศ์ MELIACEAE

ชื่ออื่น ตะบูน, ตะบัน (กลาง,ใต้)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-35 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกขรุขระ สีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกลอกเป็นแถบแคบๆ เปลือกหนาประมาณ 0.3-0.5 ซม. เนื้อไม้สีน้ำตาล มีรากหานใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ กลม หรือ แบน ปลายมน ยาว 20-40 ซม.
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ชั้นเดียว ไม่มียอด เรียงสลับ ใบย่อยมักมักมี 1-3 คู่เรียงตรงข้าม แผ่นใบรีถึงรูปขอบแกมรี ขนาด 2-6 x 5-15 ซม. ปลายใบมน ฐานใบแหลม ผิวใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม และจะเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองทั้งต้น ก่อนที่จะร่วงหล่น ก้านใบย่อยสั้นมาก

ดอก ออกดอกที่ง่ามใบ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 7-17 ซม.ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ยาว 1-1.5 ซม. กลีบดอก 4 กลีบไม่ติดกัน เกสรเพศผู้ 8 อันออกดอกพร้อมกับแตกใบใหม่ประมาณเดือนกุมภาพันธ์- มีนาคม

ผล ค่อนข้างกลม มีร่องเล็กน้อย สีเขียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-12 ซม. มี 7-11 เมล็ด ลักษณะโค้งนูน หนึ่ง ด้าน กว้าง 4-6 ซม. ผลแก่ประมาณเดือนสิงหาคม - ตุลาคม

ลักษณะเด่น มีรากหายใจกลมบ้างแบนบ้างแล้วแต่สภาพของดินเลนโคนต้น
มีพูพอนต้นเล็กสภาพลำต้นจะแตกต่างไปบ้าง คือ เปลือกเรียบ สีออกสีแดง มีร่องสีขาวเป็นทางยาวตามลำต้น เป็นไม้ผลัดใบชนิดหนึ่งของไม้ป่าชายเลน ลำต้นมักเป็นโพรงเมื่อต้นแก่การเจริญเติบโต ขึ้นกระจายในบริเวณที่ดินเลนค่อนข้างแข็ง เนื้อไม้มีสีสวย และลวดลายสวยงามใช้ตกแต่ง ทำเฟอร์นิเจอร์





กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...