วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ส้มเขียวหวาน

การผลิตส้มเขียวหวานนอกฤดู

ส้มเขียวหวาน เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นที่รู้จักและนิยมบริโภคของบุคคลทั่วไปเนื่องจากมีรสชาติดีและราคาไม่แพงจนเกินไป ส้มเขียวหวานนอกจากจะใช้บริโภคภายในประเทศอย่างแพร่หลายแล้ว ยังมีการส่งส้มเขียวหวานไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอีก เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และมาเลเซียซึ่งปีหนึ่ง ๆ มีมูลค่าหลายสิบล้านบาท และจากการที่ส้มเขียวหวานเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมบริโภคประกอบกับมีการส่งไปขายยังตลาดต่างประเทศ จึงทำให้มีพื้นที่การผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี

ดังนั้นพอถึงช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม จึงมักมีปัญหาในเรื่องผลผลิตล้นตลาดอยู่เสมอ ๆ ประกอบกับมีผลไม้ชนิดอื่นเริ่มทยอยอกสู่ตลาดมากขึ้น จึงทำให้ราคาของส้มเขียวหวานลดต่ำลงมา เมื่อเป็นเช่นนี้เกษตรกรที่ปลูกส้มเขียวหวานก็พยายามที่จะหาวิธีการที่จะผลิตส้มเขียวหวานนอกฤดูกาลขึ้นเพื่อให้ผลผลิตมีขายตลาดปีและจำหน่ายได้ในราคาสูง

วิธีการบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดูกาล

ปกติแล้วส้มเขียวหวานที่ปลูกกันโดยทั่วไปนั้นจะออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม และผลแก่สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ระยะเวลานับจากออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 9 เดือน แต่ถ้าจะนับจากเริ่มมีการกักน้ำจนเก็บผลผลิตก็ตกประมาณ 10 เดือนเต็ม

หากคำนึงถึงความเป็นไปได้ของการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกนอกฤดู จะเห็นได้ว่าส้มเขียวหวานที่ปลูกแบบยกร่องสามารถทำให้ออกดอกตามเวลาที่ต้องการได้ เนื่องจากสามารถควบคุมระดับน้ำได้ง่ายนั่นเอง แต่ถ้าเป็นส้มที่ปลูกในที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง เช่น จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมักจะมีปัญหาในเรื่องการให้น้ำเป็นประจำก็ต้องปล่อยให้มีการออกดอกติดผลตามฤดูปกติ และนับว่าธรรมชาติได้เป็นใจที่ให้ส้มที่ปลูกในภาคเหนือออกดอกช้ากว่าส้มที่ปลูกในภาคกลาง คือ จะเริ่มมีการออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และจะเก็บผลได้ในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ส้มในภาคกลางกำลังจะหมดไปจากตลาดพอดี มีผลทำให้ส้มที่ปลูกในภาคเหนือจำหน่ายได้ในราคาที่ดีพอสมควร

การบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดู

จะนิยมทำกับสวนที่ปลูกแบบยกร่องเพราะสามารถทำได้ง่าย กล่าวคือ ถ้าต้องการจะให้ผลส้มแก่ในช่วงไหนก็ต้องนับย้อนหลังไปประมาณ 10 เดือน แล้วเริ่มทำการงดให้น้ำ (การงดน้ำนี้จะเป็นกระตุ้นให้ต้นส้ม มีการสะสมสารประกอบประเภทแป้งและน้ำตาลภายในต้นให้สูงขึ้นจนทำให้อัตราส่วนระหว่างแป้งและน้ำตาลเปลี่ยนไปในลักษณะที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าเดิม ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นปัจจัยทำให้ส้มเขียวหวานสามารถออกดอกได้) ในขณะที่ทำการงดน้ำนั้นจะต้องสังเกตว่าส้มเขียวหวานไม่มีใบอ่อน หากมีใบอ่อนจำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยเร่งใบเพื่อให้มีใบแก่ตลอดทั้งต้น ปุ๋ยที่ใช้เร่งใบได้แก่ปุ๋ยสูตร 1:3:3 เช่น สูตร 8-24-24 และเมื่อใบแก่แล้วจึงค่อยทำการงดน้ำต่อไป สำหรับเหตุผลที่ไม่ทำการงดน้ำในช่วงที่ส้มยังมีใบอ่อนก็คือจะทำให้ต้นโทรมมากและระบบรากก็จะเสียไป ทั้งนี้เพราะรากจะต้องดูดน้ำและธาตุอาหารอย่างมากเพื่อเลี้ยงใบอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต

วิธีการงดน้ำที่ชาวสวนกระทำกันทั่วไป ๆ ไป

ส้มเขียวหวานเป็นไม้ผลที่คนไทยนิยมบริโภคกันทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตขึ้นเพื่อบริโภคกัน ภายในประเทศแต่ก็สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศปีละหลายสิบล้านบาท เช่นกัน ตลาดส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย อย่างไรก็ตามส้มเขียวหวานมีโรคสำคัญอยู่คือ โรคกรีนนิ่ง และ ทริสเตซ่า ซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตลดลงและต้นส้มตาย เป็นปัญหาสำคัญอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ได้มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ การใช้พันธุ์ส้มเขียวหวานปลอดโรค ซึ่งถ้าหากสามารถแก้ไขได้ก็จะทำให้การผลิตส้มเขียวหวานสามารถผลิตได้มากขึ้น และสามารถส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น

ลักษณะทั่วไปของพืช
ส้มเขียวหวานเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน มีทรงพุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5 – 3 เมตร ปลูกได้ดีในดิน ทุกภาคของประเทศไทย ดินควรมีสภาพเป็น
กรด – ด่าง ประมาณ 5.7 – 6.9 แต่ถ้าปลูกในเขตภาคเหนือที่มีอากาศหนาวเย็นจะช่วยให้ผิวของผลมีสีเหลืองส้มมากขึ้น

อายุการเก็บเกี่ยว
เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ปี ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดี

ระยะเก็บเกี่ยว
ระยะเวลาออกดอกถึงดอกบานประมาณ 20 – 25 วัน อายุตั้งแต่ดอกบานถึงผลแก่ประมาณ 8 เดือน อายุ 10 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 150 – 180 กก./ต้น/ปี จำนวนเฉลี่ยของผลใน 1 กิโลกรัมจะมีประมาณ 8 ผล

ฤดูกาลเก็บเกี่ยว
ช่วงที่ให้ผลผลิตมากอยู่ระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม แต่โดยทั่วไปประเทศไทยสามารถผลิตส้มได้ตลอดปี

โดยการสูบน้ำออกจากร่องสวนให้หมด ต่อมาอีกประมาณ 15-20 วัน จะเห็นส้มแสดงอาการขาดน้ำโดยใบจะเริ่มห่อเข้าหากัน ต่อจากนั้นควรให้น้ำอย่างเต็มที่ โดยปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลงจนถึงโคนต้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร แล้วจึงลดระดับน้ำลงอยู่ในระดับปกติเหมือนกับระดับก่อนที่จะทำการงดน้ำ แต่ถ้าเป็นส้มเขียวหวานที่มีใบแก่ แต่ยังไม่มีการใส่ปุ๋ยเร่งใบมาก่อน พอถึงช่วงนี้ควรให้น้ำอย่างเต็มที่โดยการรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นประมาณ 7 วันจะเริ่มมีการแทงตาดอกออกมาให้เห็น เมื่อมีดอกออกมาแล้วก็ให้น้ำตามปกติประมาณ 30 วัน

ต่อมาดอกจะบานและมีการติดผลในช่วงนี้ควรมีการฉีดยาป้องกันกำจัดแมลงศัตรูด้วย และเมื่อผลโตได้ขนาดเท่าหัวแม่มือให้ใส่ปุ๋ยเกรด 1:1:1 เช่นปุ๋ยสูตร 15-15-16 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงผลให้มีการเจริญอย่างเต็มที่ จนเมื่อส้มเขียวหวานมีอายุผลได้ประมาณ 5 เดือนควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหลังสูง เช่น สูตร 13-13-21 เพื่อทำให้คุณภาพของส้มดีขึ้น และเป็นการเพิ่มความหวานให้กับผลส้มด้วย และก่อนเก็บเกี่ยวผลประมาณ 10 วันควรหยุดการให้น้ำเพื่อให้ผลส้มมีรสชาติเข้มข้น เนื้อจะไม่ฉ่ำน้ำและสามารถเก็บรักษาผลส้มไว้ได้นานกว่าแบบที่ไม่งดน้ำในช่วงนี้

วิธีการปลูกส้มเขียวหวาน

-ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
-ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
-ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
-ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
-ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
-ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
-กลบดินที่เหลือลงไปในหลุม
-กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
-ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดเพื่อป้องกันลมพัดโยก
-หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
-รดน้ำให้โชก
-ทำร่มเงาเพื่อช่วยพรางแสงแดด

ระยะปลูก
3.5 x 7 เมตร หรือ 4 x 7 เมตร

จำนวนต้น/ไร่
60 ต้น/ไร่

การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ย ดังนี้

1) บำรุงต้น ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
2) สร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 8-24-24
3) บำรุงผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
4) ปรับปรุงคุณภาพผล ใช้สูตร 13-13-21

การให้น้ำ ระยะที่เพิ่งปลูกใหม่ๆ ต้องให้น้ำทุกวัน เมื่อต้นส้มตั้งตัวได้แล้วให้น้ำวันเว้นวันในกรณีฝนไม่ตก


การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
1) ระยะแตกใบอ่อนให้ป้องกันหนอนชอนใบ โดยฉีดพ่นสารอิมิดาโคลปริด เมทธามิโดฟอสและป้องกันด้วงงวงกัดกินใบ โดยการฉีดพ่นสารคาร์บาริล
2) ระยะออกดอกให้ป้องกันเพลี้ยไฟ โดยฉีดพ่นสารอิมิดาโคลปริด คาร์โบซัลแฟน หรือโฟซาโลน
3) ระยะติดผลให้ป้องกันหนอนกินลูก โดยการฉีดพ่นสารคาร์ยาริล เพลี้ยไฟ ไรแดงฉีดพ่นด้วย โปรพาร์ไจท์และอิมิดาโคลปริด
4) ป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยไก่แจ้ โดยสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการระบาดของโรคกรีนนิ่ง และทริสเตซ่าด้วยการฉีดพ่นสารคาร์บาริลหรือมาลาไธออน






กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...