วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

โปรงแดง

โปรงแดง (Ceriops tagal (Perr.) C. B. Rob.)

วงศ์ : RHIZOPHORACEAE

ชื่ออื่น : โปรง, โปรงใหญ่ ; ปรง (สมุทรสาคร, จันทุบรี); แสม (ใต้)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก – กลาง สูง ๗ – ๑๕ เมตร โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนกลม ยาว ๑๒ – ๒๐ ซม. เหนือผิวดิน สีน้ำตาลอมชมพู เรือนยอดเป็นกลุ่มกลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็ก ๆ เปลือกสีชมพูเรื่อ ๆ หรือน้ำตาลอ่อน เรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ต้นแก่มีรอยแผลเป็น ช่องอากาศเห็นเด่นชัดสีน้ำตาล

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบชี้ใบทางปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมขอบขนานถึงรูปไข่กลับ ขนาด๓–๘x๕–๑๒ ซม. ปลายใบป้านมน หรือเว้าตื้น ๆ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบมักเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีซีด ก้านใบยาว ๑.๕ – ๔ ซม. หูใบยาว ๑ – ๓ ซม.

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ แต่ละช่อมี ๔ – ๘ ดอก ก้านช่อดอกเรียวยาว ๑ – ๑.๕ ซม. ก้านดอกย่อยสั้น วงกลีบเลี้ยงยาว ๐.๕ – ๐.๗ ซม. กลีบเลี้ยงหยักลึก เชื่อมติดกันที่โคนหลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอก ๕ กลีบ รูปขอบขนาน สีขาว

ผล รูปผลแพร์กลับ ยาว ๑ – ๓ ซม. สีเขียวถึงน้ำตาลแกมเขียว เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ “ฝัก” รูปทรงกระบอก ขนาด ๐.๕ – ๐.๘ x ๑๕ – ๓๕ ซม. ปลายเล็กขยายใหญ่ไปทางส่วนโคน แล้วสอบแหลม มีสันแหลมตามยาว ผิวขรุขระ สีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ห้อยลงในแนวดิ่งออกดอกและผลเกือบตลอดปี ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน ตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ที่น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ และดินมีการระบายน้ำดี







กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...