วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

โหราผักกูด

วงศ์ Dennataedtiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Microlepia speluncae (L.) Moore

ชื่อพื้นเมือง กูดผี กูดยี โหราผักกูด (กลาง) โชน (ประจวบคีรีขันธ์)
เนระพูสี(ยะลา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นเลื้อย ปลายยอดเหง้าปกคลุมแน่นด้วยขน ส่วนมากผิวเปลือย เหง้าสีน้ำตาลเข้ม ขนาดใหญ่กว่า 7 มิลลิเมตร ก้านใบ สีฟางข้าว มีร่องตื้นๆ มีขนสั้นนุ่ม ใบประกอบแบบขนนกสามชั้นหรือหยักแบบขนนกสี่ชั้น แผ่นใบรูปกึ่งสามเหลี่ยม ยาว 70 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร แกนกลางใบสีฟาง หรือสีออกน้ำตาล ด้านบนเป็นร่องมีขนใบย่อยชั้นแรกเป็นใบที่มีขนาดใหญ่กว่า เป็นรูปขอบขนานถึงรูปกึ่งสามเหลี่ยม โคนรูปลิ่มอย่างกว้าง ขนาดใหญ่สุดเป็นใบย่อยที่สองหรือสาม จากโคนขึ้นมา ค่อยๆ สอบแคบสู่ปลาย ปลายสุดแหลม มีใบย่อยเล็กอีกชั้นด้านข้างจำนวนมากกว่า 20 คู่ ยาว 60 เซนติเมตร กว้าง 20 เซนติเมตร เส้นกลางใบย่อย ผิวด้านบนเป็นร่องมีขน ใบย่อยส่วนบนค่อยๆ ลดขนาดลง ใบย่อยชั้นที่สอง ในใบที่มีขนาดใหญ่กว่า เป็นรูปขอบขนานแกมกึ่งสามเหลี่ยม หรือรูปขอบขนานแกมหอก ค่อยๆ สอบแคบลงสู่ปลาย โคนใบรูปลิ่มสองข้างไม่เท่ากัน ยาว 15 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร มีก้านใบย่อยชัดเจน ใบย่อยชั้นเล็กสุด ขอบหยักลึกเหมือนใบประกอบย่อยลงไปอีกชั้น ส่วนของหยัก เป็นรูปขอบขนานแกมกึ่งสีเหลี่ยม ปลายสุดมนกลมถึงแหลม โคนรูปลิ่มสองข้างไม่เท่ากัน ขนาดทั่วไป ยาว 1.5-2 เซนติเมตร กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร ปลายสุดของส่วนหยักรูปมนกลมหรือรูปใบพาย และปลายสุดของใบย่อยรูปมนถึงแหลม ขอบเรียบ หรือเป็นคลื่นในส่วนหยักที่ใหญ่กว่า ทั้งใบ เนื้อใบบาง อ่อนนุ่ม ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อนกว่า มีขนบนแกนและผิวใบ เส้นใบแยกสาขาแบบขนนก 1-2 ชั้น เห็นไม่ชัดทั้งด้านบนและล่าง กลุ่มสปอร์ ขนาดเล็ก เกิดที่ส่วนหยักของขอบใบย่อย มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์รูปถ้วย มีขน (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...