วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

กูดหูกวาง

วงศ์ Dryopteridaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectaria impressa (Fee’) Holtt.

ชื่อพื้นเมือง กูดซาง กูดกวาง กูดหก (เหนือ) กูดเกียว (เพชรบูรณ์) กูดฮ่มค่า
(ลำปาง) โชนป่า (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นสั้น ทอดนอน เกล็ดรูปแถบ ยาว 6-7 มิลลิเมตร กว้าง 0.7-0.8 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้มถึงดำ โคนตัด ขอบเรียบ ปลายแหลมยาว ใบมีภาวะทวิสัณฐาน ใบไม่สร้างสปอร์ มีก้านใบยาว 35-45 เซนติเมตร กว้าง 1-2 มิลลิเมตร เกล็ดหนาแน่นที่โคนก้าน ใบหยักแบบขนนกสามชั้นที่โคนใบ ใบรูปห้าเหลี่ยม ยาว 35-40 เซนติเมตร กว้าง 28-30 เซนติเมตร ใบย่อยเรียงกึ่งตรงข้าม 3-4 คู่ ใบย่อยคู่แรกรูปสามเหลี่ยมไม่สมมาตร ยาว 12-15 เซนติเมตร กว้าง 13-15 เซนติเมตร ก้านยาว 1.5-2 เซนติเมตร ขอบใบย่อยหยักเป็นแฉกปลายมน แฉกหรือใบย่อยชั้นที่สองด้านล่างยาวกว่าด้านปลาย ใบย่อยชั้นที่สองหรือสามคู่แรกด้านล่าง รูปหอกยาว 10-11 เซนติเมตร กว้าง 1.5-4.5 เซนติเมตร ปลายใบย่อยชั้นที่สองเรียวแหลม ขอบหยัก ใบย่อยบริเวณกึ่งกลางใบก้านสั้นถึงไร้ก้าน รูปหอก ยาว 10-15 เซนติเมตร กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร โคนมนถึงรูปหัวใจ ปลายใบย่อยเรียวแหลม ขอบหยักเป็นแฉกเฉียง ปลายมน ใบย่อยที่ปลายแกนกลางรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 12 เซนติเมตร โคนรูปลิ่ม ขอบหยักลึกเกือบถึงแกนกลาง แฉกรูปขอบขนานถึงรูปเคียว ปลายแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน แกนกลาง เส้นกลางใบ และเส้นกลางใบย่อยด้านล่างเกลี้ยง เส้นใบร่างแห มีเส้นใบย่อยอยู่ภายใน ใบสร้างสปอร์มีก้านใบที่ยาวกว่าและแผ่นใบขนาดเล็กและแคบกว่าใบไม่สร้างสปอร์ชัดเจน ก้านใบยาว 50-55 เซนติเมตร แผ่นใบยาว 15-20 เซนติเมตร กว้าง 15-20 เซนติเมตร กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ปลายเส้นใบย่อยในช่องร่างแห เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เกลี้ยง (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับกระถาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...