วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

เฟิร์นราชินี

วงศ์ Pakeriaceae

ชื่อวิทยาศาตร์ Dryopteris ludens Wall. ex Hook.

ชื่อท้องถิ่น กูดฮู้กวาว (เหนือ) เฟิร์นราชินี (กรุงเทพฯ) กะปรอกว่าว (ชลบุรี) แพน
ตาโก (สงขลา, นครศรีธรรมราช)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นยาว ทอดนอน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร ปกคลุมด้วยเกล็ด รูปขอบขนาน บริเวณกลางสีน้ำตาลเข้ม บริเวณขอบสีน้ำตาลอ่อนถึงสีเหลือง ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร กว้าง 0.8-0.9 มิลลิเมตร โคนมน ขอบเรียบ ปลายเรียวแหลม ใบเป็นใบเดี่ยว ใบไม่สร้างสปอร์ มีก้านใบกลม ยาว 30-32 เซนติเมตร กว้าง 2-3 มิลลิเมตร สีม่วงดำเป็นมันวาว ขนปกคลุมหนาแน่นทั่วก้าน บริเวณโคนปกคลุมด้วยเกล็ดหนาแน่น ใบรูปหอกถึงรูปสามเหลี่ยม ยาว 15-16 เซนติเมตร กว้าง 13-15 เซนติเมตร โคนรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักแบบนิ้วมือ 3-5 แฉก แฉกหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ แฉกแรกนับจากโคนใบมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีแฉกย่อยที่โคนด้านล่าง แต่ละแฉกรูปหอกถึงขอบขนาน ยาว 8-10 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร ปลายแฉกเรียวแหลม เนื้อใบคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายหนัง เส้นกลางใบบนและเส้นกลางใบด้านล่างนูนเป็นสัน สีม่วงดำ และเป็นร่องด้านบน เส้นใบร่างแห ไม่มีเส้นใบย่อยในช่องร่างแห ใบสร้างสปอร์มีก้านใบยาว 50-55 เซนติเมตร ซึ่งยาวกว่าใบไม่สร้างสปอร์ ใบรูปไข่กึ่งรูปสามเหลี่ยม ยาว 16-18 เซนติเมตร กว้าง 14-18 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบหยักแบบขนนก 3-4 คู่แฉก แฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ แฉกแรกนับจากโคนใบมีขนาดใหญ่ที่สุด มีแฉกที่โคนด้านล่าง 1-2 แฉก ปลายแฉกเรียวแหลม ยาว 8-12 เซนติเมตร กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร กลุ่มอับสปอร์ เกิดเป็นแถบยาวต่อเนื่องตามแนวยาวขอบใบ ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ แต่ใช้ขอบใบพับมาปกคลุมกลุ่มอับสปอร์ (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับกระถาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...