วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตะแบกนา

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ: ตะแบกนา ตะแบกไข่ เปื๋อยนา เปื๋อยหางค่าง

ลักษณะ: ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร

ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ
ดอก: สีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์: โดยเมล็ด

ประโยชน์:เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณพื้นที่ที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้มีขึ้นอยู่มากใน ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม และตามท้องนา ทั่ว ๆ ไป

ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม

จากเว็บ http://my.dek-d.com/chinjung-jomjun/blog/?blog_id=10025127


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...