วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

ตาลส้านดอย

ตาลส้านดอย วงศ์ PAPILIONOIDEAE
Desmodium renifolium var. renifolium (L.) Schindl..

ชื่อสามัญ ตาลส้านดอย (เชียงใหม่) เล็บมือนาง (นครราชสีมา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาเลื้อยทอดนอนไปตามพื้น (prostrate) ยาว 80-145 เซนติเมตร ลำต้นไม่มีขนมีสีเขียวถึงเขียวอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 2.5-4.5 มิลลิเมตร ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว (simple) ปลายใบมีรอยเว้าตื้น (emarginate) เช่นเดียวกับโคนใบ รูปร่างใบคล้ายรูปพัด ด้านกว้างของใบจะกว้างกว่าด้านยาว คือ กว้าง 3.8-6.2 เซนติเมตร ยาว 1.9-3.2 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ (entire) หน้าใบและหลังใบไม่มีขน ใบที่เจริญเติบโตเต็มที่มีสีเขียวค่อนข้างเข้มถึงเขียวเข้ม ก้านใบยาว 1.5-2.7เซนติเมตร ออกดอกที่ยอดและตาข้าง กลีบเลี้ยงสีขาวออกเหลืองอ่อนๆ กลีบดอกมีสีขาวครีม อับเรณูและเกสรเพศเมียสีเหลืองอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน ยาว 1.6-3.0 เซนติเมตร หักได้เป็นข้อๆ มี 2-6 ข้อ ออกดออกติดเมล็ดตลอดทั้งปี

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (PC 353) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น (PC 308)

คุณค่าทางอาหาร อายุ 75 – 90 วัน โปรตีน 13.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.25 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.77 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 1.22 เปอร์เซ็นต์ ADF 29.9 เปอร์เซ็นต์ NDF 42.3 เปอร์เซ็นต์ DMD 71.9 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag)

การใช้ประโยชน์ อาหารสัตว์ โค-กระบือ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...