วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Flemingia lineata (L.) W.T.Aiton var. lineata
(syn. Moghania lineata (L.) O.Kuntze)
ชื่อสามัญ มะแฮะนก (เชียงใหม่) ; ขมิ้นธรณี ,ขมิ้นมัทรี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มลำต้นตั้งตรง สูง 80 - 125 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 4.2 - 6.6 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกมี 3 ใบย่อย (trifoliate) ใบรูปไข่กลับแกมใบหอก (obovate-lanceolate) ใบย่อยบนสุดยาว 6.34 - 8.22 เซนติเมตร กว้าง 1.86 - 2.34 เซนติเมตร ใบย่อยด้านข้างยาว 4.7 - 6.36 เซนติเมตร กว้าง 1.45 - 1.91 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 2.13 - 2.59 เซนติเมตร สีใบเขียว นุ่มปานกลาง หน้าใบ หลังใบ และก้านใบมีขนสั้นๆปกคลุมปานกลาง เส้นใบ (vein) และเส้นกลางใบ (mid rib) ของส่วนหลังใบเป็นสันนูนขึ้น ขอบใบเป็นขนครุยสั้นๆ (ciliate) หูใบรูปแถบเรียวยาวไปส่วนปลาย ช่วงออกดอกประมาณเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนมกราคม ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่วออกที่ปลายยอดและตามซอกใบ สีดอกชมพู-แดง ความยาวของดอกถั่ว 0.47 - 0.65 เซนติเมตร ฝักรูปขอบขนาน (oblong) ยาว 0.65 - 0.89 เซนติเมตร กว้าง 0.41 - 0.53 เซนติเมตร เมล็ดรูปกลมสีน้ำตาล-ดำ 1-2 เมล็ด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเมล็ด 2 - 2.3 มิลลิเมตร
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นในพื้นที่โล่งแจ้งและป่าผลัดใบ สภาพดินร่วนทราย ดินเหนียว เช่น ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (PC 181) ตำบลบุโฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (PC 199) ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 543 เมตร และพบมีขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าชุ้มชื้น สภาพดินทรายละเอียด เช่น ตำบลคลองแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คุณค่าทางอาหาร ระยะก่อนออกดอกอายุประมาณ 12 สัปดาห์ มีค่าโปรตีน 16.21 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.41 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 28.66 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 4.77 เปอร์เซ็นต์ NFE 48.95 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 34.08 เปอร์เซ็นต์ NDF 52.33 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 18.25 เปอร์เซ็นต์ และ ลิกนิน 10.93 เปอร์เซ็นต์
การใช้ประโยชน์ เป็นอาหารสัตว์ โค กระบือ แพะ และสัตว์ป่า ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง ดินระบายน้ำไม่ดี
Flemingia lineata (L.) W.T.Aiton var. lineata
(syn. Moghania lineata (L.) O.Kuntze)
ชื่อสามัญ มะแฮะนก (เชียงใหม่) ; ขมิ้นธรณี ,ขมิ้นมัทรี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มลำต้นตั้งตรง สูง 80 - 125 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 4.2 - 6.6 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกมี 3 ใบย่อย (trifoliate) ใบรูปไข่กลับแกมใบหอก (obovate-lanceolate) ใบย่อยบนสุดยาว 6.34 - 8.22 เซนติเมตร กว้าง 1.86 - 2.34 เซนติเมตร ใบย่อยด้านข้างยาว 4.7 - 6.36 เซนติเมตร กว้าง 1.45 - 1.91 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 2.13 - 2.59 เซนติเมตร สีใบเขียว นุ่มปานกลาง หน้าใบ หลังใบ และก้านใบมีขนสั้นๆปกคลุมปานกลาง เส้นใบ (vein) และเส้นกลางใบ (mid rib) ของส่วนหลังใบเป็นสันนูนขึ้น ขอบใบเป็นขนครุยสั้นๆ (ciliate) หูใบรูปแถบเรียวยาวไปส่วนปลาย ช่วงออกดอกประมาณเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนมกราคม ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่วออกที่ปลายยอดและตามซอกใบ สีดอกชมพู-แดง ความยาวของดอกถั่ว 0.47 - 0.65 เซนติเมตร ฝักรูปขอบขนาน (oblong) ยาว 0.65 - 0.89 เซนติเมตร กว้าง 0.41 - 0.53 เซนติเมตร เมล็ดรูปกลมสีน้ำตาล-ดำ 1-2 เมล็ด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเมล็ด 2 - 2.3 มิลลิเมตร
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นในพื้นที่โล่งแจ้งและป่าผลัดใบ สภาพดินร่วนทราย ดินเหนียว เช่น ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (PC 181) ตำบลบุโฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (PC 199) ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 543 เมตร และพบมีขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าชุ้มชื้น สภาพดินทรายละเอียด เช่น ตำบลคลองแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คุณค่าทางอาหาร ระยะก่อนออกดอกอายุประมาณ 12 สัปดาห์ มีค่าโปรตีน 16.21 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.41 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 28.66 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 4.77 เปอร์เซ็นต์ NFE 48.95 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 34.08 เปอร์เซ็นต์ NDF 52.33 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 18.25 เปอร์เซ็นต์ และ ลิกนิน 10.93 เปอร์เซ็นต์
การใช้ประโยชน์ เป็นอาหารสัตว์ โค กระบือ แพะ และสัตว์ป่า ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง ดินระบายน้ำไม่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น