วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

ครามดอย

ครามดอย

วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Indigofera cassioides Rottl.ex DC.

ชื่อสามัญ เสียดเครือ (เลย) ; ครามดอย (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่ม (shrub) อายุหลายปี ต้นสูง 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 19.21-40.03 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) ใบเรียงตรงข้ามกัน (opposite) บางกิ่งใบเรียงแบบสลับ (alternate) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่ (oval) ใบยาว 1.76-2.14 เซนติเมตร กว้าง 0.85-1.22 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 12.45-16.29 เซนติเมตร หน้าใบ หลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมจำนวนมาก ก้านใบมีขนคลุมปานกลาง ใบสีเขียวอ่อน ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย เส้นใบ (vein) ปลายโค้งจรดกัน (anastomosing) ขอบใบสีเหลือง เรียบ (entire) ปลายใบ (apex) มีติ่งเป็นเส้นยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หูใบ (stipnle) แบบหนาม (spinous) สีเขียวอมน้ำตาล ลำต้นสีเขียวปนสีน้ำตาล ไม่มีขนคลุม ออกดอกเดือน สิงหาคม – เมษายน ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ชูขึ้น ช่อดอกออกที่ปลายยอดและตาข้าง มีดอกพร้อมกันเต็มลำต้น ช่อดอกยาว 7.69-11.65 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่วมี 12-30 ดอกต่อช่อ กลีบดอกกลาง (standard) สีชมพูสดอมม่วงอ่อนด้านในมีแถบสีขาวตรงกลาง กลีบคู่ข้าง (wing) สีชมพูเข้มกว่า กลีบคู่ล่าง (keel) สีชมพูมีแถบขาวตรงกลาง ก้านเกสรตัวเมีย (stigma) สีเขียวตองอ่อน อับเรณู (anther) สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียวตองอ่อน ฝักขนาดเล็กรูปกลม ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้น สั้น ๆ ขนาดฝักยาว 2.48-3.62 เซนติเมตร กว้าง 0.23-0.31 เซนติเมตร มี 19-30 ฝักต่อช่อ ฝักแก่ไม่แตก
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่พื้นที่ป่าโปร่งเต็ง รัง ป่าละเมาะ ดินร่วนทราย เช่น เขตตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (PC 195)

คุณค่าทางอาหาร ส่วนใบรวมก้านใบย่อยมีค่าโปรตีน 12.78เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.91 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 14.22 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรท (NFE) 46.31 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 34.21 เปอร์เซ็นต์ NDF 43.47 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 9.26 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 10.33 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...