วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ชะพลู (Wildbetal Leafbush)

ชะพลู
ชะพลู (Wildbetal Leafbush) ถือเป็นพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่รู้จักกันในชื่อเรียกตามท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ผักอีเลิศ ผักปูริง ผักอีไร ช้าพลู ผักปูนา ผักพลูนก เป็นต้น

ชะพลู ถือเป็นไม้ล้มลุกต้นเตี้ยเพราะมีเถาเลื้อยไปตามพื้น

ชะพลู มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Piper sarmentosum Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ Piperaceae 

ความนิยม คนไทยนิยมนำใบชะพลูมาประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็น แกงหอย แกงปลาไหล แกงกะทิ ห่อหมก และนำใบมาห่อเป็นเมี่ยงคำ เป็นต้น ใบชะพลูมีกลิ่นฉุนรสชาติจะเผ็ดเล็กน้อย

ลักษณะของชะพลู ใบจะมีลักษณะเป็นรูปหัวใจปลายแหลมคล้ายใบพลู (ชะพลูกับพลูเป็นพืชคนละชนิดกันนะคะ)แต่ใบชะพลูจะมีขนาดใบที่เล็กกว่า ใบมีสีเข้มเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ จะเห็นเส้นใบชัดเจน ใบบางเป็นมันหลังใบจะมีสารคิวตินเคลือบชั้นผิวเพื่อลดการคายน้ำ มีกลิ่นฉุน ต้นชะพลูจะเลื้อยทอดไปตามพื้น ลำต้นเป็นข้อมีสีเขียวเข้ม มีรากออกตามข้อ

การออกดอกของต้นชะพลู จะออกดอกเป็นช่ออัดแน่นที่ปลายยอดรูปทรงกระบอกขนาดเล็กคล้ายๆดีปลีแต่สั้นกว่า มีดอกย่อยขนาดเล็กอัดแน่นบนแกนช่อดอกกลีบดอกมีสีขาว

การขยายพันธุ์ ชะพลูเป็นพืชที่ชอบพื้นที่ลุ่มมีความชื้นสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการปักชำเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ ก่อนจะนำไปปักชำให้เด็ดใบแก่ทิ้งก่อน

สรรพคุณของชะพลู  ชะพลูเป็นพืชที่มี เบตาแคโรทีน สูงมาก (เบตาแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอช่วยในการรักษาสุขภาพและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย สามารถต้านอนุมูลอิสระลและลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง)ทั้งนี้ยังช่วย ขับเสมหะ แก้ธาตุพิการ รักษาเบาหวาน บำรุงน้ำดี แก้ปวดท้องจุกเสียด แก้เบื่ออาหาร  แก้ท้องอืด  แก้โรคบิด ช่วยขับลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วยขับเหงื่อ ช่วยบำรุงสายตา 

ข้อควรระวัง ใบชะพลูมีแคลเซียมออกซาเลตสูง(แคลเซียมออกซาเลต(Oxalate)เป็นสารยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมและแร่ธาตุในร่างกายหลายชนิดในเลือด)ถ้ารับประทานมากๆติดต่อกันนานๆจะเข้าไปตกผลึกสะสมในไตและกระเพาะปัสสาวะทำให้เป็นนิ่วได้

ในการรักษาโรคเบาหวานจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็วต้องวัดระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังการใช้ และควรดื่มน้ำตามเยอะๆหลังจากกินใบชะพลู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...