ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus alternifolius Linn.
ชื่อสามัญ : Umbrella plant
ชื่อวงศ์ : CYPERACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่นๆ : กกลังกา กกต้นกลม กกขนาก หญ้าสเล็บ หญ้าลังกา กกดอกแดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : สมุนไพรกกลังกาเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่วลำต้นมีความสูงประมาณ
100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้านลำต้นกลมมีสีเขียว
ใบ : ใบกกลังกาจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ
ดอก : ดอกของกกลังกาออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียวก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม.ดอกแก่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน
ผล : ผลเเห้ง รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 0.4-0.5 มิลลิเมตร ยาว 0.9-1 มิลลิเมตร สีน้ำตาล เปลือกแข็ง มีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์: สมุนไพรกกลังกาเป็นพันธุ์ไม้ที่มักจะขึ้นตามบริเวณที่ ๆ เป็นโคลนหรือน้ำเช่นข้างแม่น้ำ ลำคลอง สระ หรือบ่อน้ำ มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น, ใบ, ดอก, หัว, ราก
กกลังกา สมุนไพร ดอกของกกลังกาออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียวก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม.ดอกแก่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน
สรรพคุณของสมุนไพร
ต้น: รสจืดเย็น ต้มเอาน้ำดื่ม รักษาโรคท่อน้ำดีอักเสบ ขับน้ำดี
ใบ: รสเย็นเบื่อ ตำพอกฆ่าพยาธิบาดแผล ต้มเอาน้ำดื่ม ฆ่าพยาธิ ฆ่าเชื้อโรคภายใน
ดอก: รสฝาดเย็น ต้มเอาน้ำอม แก้แผลเปื่อยพุพองในปาก แก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย หรือปากซีด
หัว: รสขม ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ละลายน้ำร้อนดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้เสมหะเฟื่อง ขับน้ำลาย
ราก: รสขมเอียน ต้มเอาน้ำดื่ม หรือตำกับเหล้า คั้นเอาน้ำดื่ม แก้ช้ำใน ขับโลหิตเน่าเสีย แก้ตกเลือดจากอวัยวะภายใน
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
กกลังกานอกจากจะมีสรรพคุณด้านสมุนไพรแล้ว ยังมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ อีก ได้แก่ ปลูกกกลังกาเป็นไม้ประดับริมสระน้ำในสวนหรือปลูกในภาชนะร่วมกับไม้น้ำอื่นๆ เป็นวัสดุในงานหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน และกกลังกายังมีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย ปรับสมดุลย์นิเวศน์วิทยา
จากเว็บ http://www.samunprix.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น