วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กุยช่าย

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae

ส่วน Magnoliophyta

ชั้น Liliopsida

อันดับ Asparagales

วงศ์ Alliaceae

สกุล Allium

สปีชีส์ A. tuberosum
A. ramosum

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium tuberosum
Allium ramosum

ลักษณะทั่วไป

กุยช่ายเป็นไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ผลกลม ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1- เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล แบน ขรุขระ

คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานกุยช่ายแบบสดๆ กับก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ผัดรับประทานกับข้าวสวย หรือนำมาทำเป็นขนมกุยช่ายที่เรารู้จักกัน แล้วทราบหรือไม่ว่ายังเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้อีกด้วย

สรรพคุณ

- แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และแก้ท้องผูก โดยใช้ใบสดตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำไปผัดรับประทาน เพราะกุยช่ายมีใยอาหารมาก จึงช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดี

- แก้อาการฟกช้ำ โดยใช้ใบสดตำละเอียดพอกบริเวณที่เป็น บรรเทาปวดและแก้อาการห้อเลือดได้

- แก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย โดยใช้เมล็ดแห้งต้มรับประทาน หรือจะทำเป็นยาเม็ดหรือยาผงรับประทาน

- รักษาโรคหูน้ำหนวก โดยใช้น้ำที่คั้นได้จากใบสดทาในรูหู

- บำรุงน้ำนม คนไทยโบราณเชื่อว่าแม่ลูกอ่อนกินแกงเลียงใส่ผักหอมแป้นหรือกุยช่ายจะช่วยบำรุงน้ำนมได้ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...