ลักษณะของพืช
ต้นยอเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบใหญ่หนาสีเขียวสด ดอก
เล็กสีขาวเป็นกระจุก ผลกลมยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียวสด เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก
การปลูก
ปลูกโดยการใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด เจริญเติบโตในดินชุ่มชื้น
มักปลูกกันในต้นฤดูฝนจะปลูกลงหลุมเลย หรือเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายไปที่ที่เตรียมปลูกไว้
จะต้องกำจัดวัชพืชบ้างเป็นครั้งคราว
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ต้นยอเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบใหญ่หนาสีเขียวสด ดอก
เล็กสีขาวเป็นกระจุก ผลกลมยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียวสด เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก
การปลูก
ปลูกโดยการใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด เจริญเติบโตในดินชุ่มชื้น
มักปลูกกันในต้นฤดูฝนจะปลูกลงหลุมเลย หรือเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายไปที่ที่เตรียมปลูกไว้
จะต้องกำจัดวัชพืชบ้างเป็นครั้งคราว
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ผลดิบหรือผลห่ามสด
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ผลยอมีสาร Asperuloside, caproic acid,
caprylic acid และ glucoseแต่ไม่มีรายงานทางด้านเภสัชวิทยาด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
วิธีใช้
ในตำราแพทย์แผนโบราณกล่าวว่า ใช้ผลยอหั่นเอาไปปิ้งไฟพอเหลือง
กรอบ ต้มน้ำเป็นกระสายยาใช้ร่วมกับยาอื่น แก้คลื่นไส้อาเจียนได้ผลดีมาก ในการทดลองพบว่า
ใบยอ ไม่มีพิษเฉียดพลัน ใช้เป็นอาหารก็ได้ จึงเป็นยาแก้อาเจียนได้
เลือกเอาผลดิบหรือผลห่าม สดฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆให้เหลืองกรอบ ชงกับน้ำดื่ม
ใช้ครั้งละ 2 กำมือ( 10-11 กรัม ) จิบบ่อยๆ จะได้ผลดีกว่าดื่ม
คุณค่าทางอาหาร
ใบยอแลลูกยอใช้เป็นผักได้ ใบยอเป็นผักเก่าแก่ ที่ใช้เป็นผักรอง
กระทงห่อหมกในใบยอ มีสารอาหารหลายอย่าง ประกอบไปด้วยแคลเซียมมาก
นอกจากนั้นก็มีเกลือแร่ วิตามิน ต่างๆ อีกไม่น้อย
รวมทั้งกากและเส้นใยอาหารนอกจากนี้รากต้นยอที่มีอายุ 3-4 ปีใช้เป็นสี
ย้อมผ้าได้ด้วยเพราะเปลือกรากจะให้สีแดง ส่วนเนื้อเปลือกจะเป็นสีเหลือง
ย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหมให้สีดีคงทนเหมือนกัน
ลักษณะทั่วไปของลูกยอ คือ
ลูกยอ อาจมีชื่อเรียกได้หลาย ๆ ชื่อ เช่น ยอถิ่น, มะตาเสือ เป็นต้น ยอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 5-7 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ใบใหญ่หนาสีเขียวสด ก้านใบมีลักษณะสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง 6-17 ซม. ยาว 19-30 ซม. ผลกลมยาวรีรูปไข่ มีตาปุ่มรอบผล คล้ายสับปะรด ผลอ่อนสีเขียว เมื่อผลแก่จะมีสีเหลือง-ขาว ขนาด 3-10 ซม.ข้างในผลลูกยอมีเมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ใบ นำมาใช้อังไฟพอตาย นึ่งใช้ปิดหน้าอก, หน้าท้อง, แก้ไอ, แก้ม้ามโต, แก้จุกเสียด, แก้ไข้ ใช้ปิดตามแขนขา แก้อาการปวดเมื่อย
ใบสด ใช้ตำพอกศีรษะ ฆ่าเหา, หรือลวกน้ำข้าวร้อน ๆ ปิดพอกแผล รักษาแผล
ผลอ่อน ใช้รับประทานแก้คลื่นเหียน-อาเจียน
ผลสุก ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ โดยฝานเป็นชิ้นบาง ๆ คั่วไฟอ่อน ๆ หรือย่างให้เหลืองกรอบ ต้มหรือชงดื่มกับน้ำครั้งละ 10-15 กรัม น้ำที่ได้จิบทีละน้อยแต่บ่อยครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มทีเดียว
พืชชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ในประเทศไทยรู้จักกันในชื่อ "ลูกยอ" ในประเทศมาเลเซียรู้จักกันในชื่อ "เมอกาดู" (Mergadu) ในเอเซียใต้เรียกว่า "นเฮา" (Nhau) แถบหมู่เกาะตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิคเรียกกันว่า "โนนู" และในเกาะชามัว, ทองกา, ราราทองกา, ตาฮิติ เรียกกันว่า "โนโน" หรือว่า "โนนิ"
คนในสมัยโบราณที่ปัจจุบันเรียกกันว่าชาว เฟร้นซ์ โพลินีเซีย (French Polynesia) ซึ่งอยู่ในแถบตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิค พวกเขาได้เดินทางจากเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่งโดยเรือแคนู และได้นำพืชศักดิ์สิทธิ์จากหมู่เกาะเดิมของพวกเขามาด้วย พืชนั้นเป็นทั้งอาหารขั้นพื้นฐานที่เสริมสร้างส่วนต่างๆของร่างกายและเพื่อเป็นยารักษาโรค ซึ่งใช้สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ พืชชนิดนั้นเรียกกันว่า ต้น โนนิ (NONI) คนโบราณรุ่นแล้วรุ่นเล่าได้ช่วยกันบันทึกและจดจำต่อมายังลูกหลานว่าผลของต้นโนนิช่วยบำบัดอาการป่วยเบื้องต้นได้
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ผลยอมีสาร Asperuloside, caproic acid,
caprylic acid และ glucoseแต่ไม่มีรายงานทางด้านเภสัชวิทยาด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
วิธีใช้
ในตำราแพทย์แผนโบราณกล่าวว่า ใช้ผลยอหั่นเอาไปปิ้งไฟพอเหลือง
กรอบ ต้มน้ำเป็นกระสายยาใช้ร่วมกับยาอื่น แก้คลื่นไส้อาเจียนได้ผลดีมาก ในการทดลองพบว่า
ใบยอ ไม่มีพิษเฉียดพลัน ใช้เป็นอาหารก็ได้ จึงเป็นยาแก้อาเจียนได้
เลือกเอาผลดิบหรือผลห่าม สดฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆให้เหลืองกรอบ ชงกับน้ำดื่ม
ใช้ครั้งละ 2 กำมือ( 10-11 กรัม ) จิบบ่อยๆ จะได้ผลดีกว่าดื่ม
คุณค่าทางอาหาร
ใบยอแลลูกยอใช้เป็นผักได้ ใบยอเป็นผักเก่าแก่ ที่ใช้เป็นผักรอง
กระทงห่อหมกในใบยอ มีสารอาหารหลายอย่าง ประกอบไปด้วยแคลเซียมมาก
นอกจากนั้นก็มีเกลือแร่ วิตามิน ต่างๆ อีกไม่น้อย
รวมทั้งกากและเส้นใยอาหารนอกจากนี้รากต้นยอที่มีอายุ 3-4 ปีใช้เป็นสี
ย้อมผ้าได้ด้วยเพราะเปลือกรากจะให้สีแดง ส่วนเนื้อเปลือกจะเป็นสีเหลือง
ย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหมให้สีดีคงทนเหมือนกัน
ลักษณะทั่วไปของลูกยอ คือ
ลูกยอ อาจมีชื่อเรียกได้หลาย ๆ ชื่อ เช่น ยอถิ่น, มะตาเสือ เป็นต้น ยอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 5-7 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ใบใหญ่หนาสีเขียวสด ก้านใบมีลักษณะสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง 6-17 ซม. ยาว 19-30 ซม. ผลกลมยาวรีรูปไข่ มีตาปุ่มรอบผล คล้ายสับปะรด ผลอ่อนสีเขียว เมื่อผลแก่จะมีสีเหลือง-ขาว ขนาด 3-10 ซม.ข้างในผลลูกยอมีเมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ใบ นำมาใช้อังไฟพอตาย นึ่งใช้ปิดหน้าอก, หน้าท้อง, แก้ไอ, แก้ม้ามโต, แก้จุกเสียด, แก้ไข้ ใช้ปิดตามแขนขา แก้อาการปวดเมื่อย
ใบสด ใช้ตำพอกศีรษะ ฆ่าเหา, หรือลวกน้ำข้าวร้อน ๆ ปิดพอกแผล รักษาแผล
ผลอ่อน ใช้รับประทานแก้คลื่นเหียน-อาเจียน
ผลสุก ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ โดยฝานเป็นชิ้นบาง ๆ คั่วไฟอ่อน ๆ หรือย่างให้เหลืองกรอบ ต้มหรือชงดื่มกับน้ำครั้งละ 10-15 กรัม น้ำที่ได้จิบทีละน้อยแต่บ่อยครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มทีเดียว
พืชชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ในประเทศไทยรู้จักกันในชื่อ "ลูกยอ" ในประเทศมาเลเซียรู้จักกันในชื่อ "เมอกาดู" (Mergadu) ในเอเซียใต้เรียกว่า "นเฮา" (Nhau) แถบหมู่เกาะตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิคเรียกกันว่า "โนนู" และในเกาะชามัว, ทองกา, ราราทองกา, ตาฮิติ เรียกกันว่า "โนโน" หรือว่า "โนนิ"
คนในสมัยโบราณที่ปัจจุบันเรียกกันว่าชาว เฟร้นซ์ โพลินีเซีย (French Polynesia) ซึ่งอยู่ในแถบตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิค พวกเขาได้เดินทางจากเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่งโดยเรือแคนู และได้นำพืชศักดิ์สิทธิ์จากหมู่เกาะเดิมของพวกเขามาด้วย พืชนั้นเป็นทั้งอาหารขั้นพื้นฐานที่เสริมสร้างส่วนต่างๆของร่างกายและเพื่อเป็นยารักษาโรค ซึ่งใช้สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ พืชชนิดนั้นเรียกกันว่า ต้น โนนิ (NONI) คนโบราณรุ่นแล้วรุ่นเล่าได้ช่วยกันบันทึกและจดจำต่อมายังลูกหลานว่าผลของต้นโนนิช่วยบำบัดอาการป่วยเบื้องต้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น