วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L.

ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae

ชื่อสามัญ มะขามป้อม

ชื่อทางการค้า Emblic myrabolan, Malaccatree
ชื่อพื้นเมือง กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป


ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ขนาดโตวัดรอบต้นไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอบเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด

รูปทรง (เรือนยอด) แผ่กว้างรูปร่มหรือพุ่มโปร่งกรม

ใบ เป็นใบเดี่ยว แต่มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ ขนาด 0.25-0.5x 0.8-12 เซนติเมตร สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน

ดอก ขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3.-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6


กลีบ ไม่มีกลิ่นดอก

สี ขาวหรือขาวนวล

กลิ่น มีกลิ่นหอมคล้ายผิวมะนาว

ออกดอก ช่วงเดือนมกราคม - เมษายน

ผล ทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอบหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด

ผลแก่ ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ


พบขึ้นประปลายเป็นหมู่ๆ ตามป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าแดงทั่วไป มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ทั่วไปใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การกระจายพันธุ์เกิดจากการที่สััตว์ป่าหรือมนุษย์รับประทานแล้วทิ้งเมล็ดไกลออกไป

การขยายพันธ์และการปลูก

การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า เพาะเมล็ด

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก

ดิน ขึ้นได้ในดินทุกประเภทที่มีการระบายน้ำดี

ความชื้น ปานกลาง - น้อย

แสง มาก

ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรม

การเก็บรักษา ดองหรือแช่อิ่ม, ทำแห้งเพื่อใช้ทำยาสมุนไพร

การแปรรูป ดองหรือแช่อิ่ม, ทำแห้งเพื่อใช้ทำยาสมุนไพร

ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ

การตลาด ผล กิโลกรัมละ 18 บาท ราก กิโลกรัมละ 10 บาท ใบ กิโลกรัมละ 13 บาท
ข้อมูลจากคุณถวัลย์ สุวรรณเตมีย์ ร้านเจ้ากรมเป๋อ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2546

การใช้ประโยชน์

การส่งออการใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ สีแดงอมน้ำตาล มีเสี้ยนสนค่อนข้างแข็ง เหนียว ใช้ในน้ำได้ทนทานพอใช้ เลื่อยผ่าง่าย ใช้ทำเสาอาคารบ้านเรือนขนาดเล็ก ไม้กระดาน กรุบ่อน้ำ ด้ามเครื่องมือการเกษตร ใช้เผาถ่านให้ความร้อนสูง (8,080 แคลอรี่/กรัม)

การส่งออการใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ ปลูกเป็นพืชอาหารให้กับสัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง นก หนู ค้างคาว เป็นต้น

การส่งออการใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์ ผลสุกนำมารับประทานสด อาจจิ้มเกลือเล็กน้อย ทำให้ชุ่มคอแก้กระหายน้ำ ผลดิบนำไปแช่อิ่มได้

การส่งออการใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

ราก ต้มน้ำกินเป็นยาลดไข้ เป็นยาเย็น ฟอกเลือด และทำให้อาเจียนถ้ากลั่นรากจะได้สารที่มีคุณสมบัติเป็นยาฝาด สมานที่ดีกว่าสีเสียด ตำพอกแก้พิษสัตว์กัดต่อย

ต้น/เปลือก เป็นยาฝาดสมาน

ใบ น้ำต้มใบใช้อาบลดไข้

ดอก มีกลิ่นหอมคล้ายผิวมะนาว ใช้เข้าเครื่องยาเป็นยากเย็นและยาระบาย

ผล ใช้ได้ทั้งแผลสดและผลแห้ง มีฤทธิ์กัดน้ำลายเป็นยาเย็น ยาฝาดสมานลดไข้ ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ฟอกเลือด น้ำคั้นผลสดมีวิตามินซีสูงกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ในปริมาณเท่ากัน ใช้แก้โรคลักปิดลักเปิด

เนื้อผลแห้ง ที่เรียกว่า Emblic myrabolan ใช้เป็นยาฝาดสมาน เพราะมี tannin แก้โรคริดสีดวงทวาร แก้บิด ท้องเสีย ใช้ควบกับธาตุเหล็กแก้โรคดีซ่าน และช่วยย่อย ถ้าหมักผลจะได้แอลกอฮอล์ กินแก้อาหารไม่ย่อย แก้ไอ และแก้โรคดีซ่าน

ยางจากผล รสเปรี้ยวฝาดขม หยอดตาแก้ตาอักเสบ รับประทานช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ

การใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ


ด้านการทำสีย้อม ชาวเหนือนิยมใช้เปลือกมะขามป้อมย้อมผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ แม้้กระทั่งย่อมสีผม ใช้สีน้ำตาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...