วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กระจับนก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euonymus cochinchinensis Pierre

ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE

ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : กระจับนก (เชียงใหม่) มะดะ (เชียงราย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น : สมุนไพรกระจับนกเป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีขนาดเล็ก มีเส้นรอบวงยาวประมาณ 5.5 นิ้ว มีความสูงประมาณ 12 มม.

ใบ: ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบกระจับนกเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบเข้าหากัน ริมขอบใบค่อนข้างเรียบหรือมีหยักเล็กน้อย ผิวเนื้อบางขนาดของใบกว้างประมาณ 1-3 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6.5 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 3-8มม. ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่

ดอก : ดอกกระจับนกออกเป็นช่อ ๆ หนึ่งยาว 1-4 ดอกออกบริเวณง่ามใบ ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลืองออ่น กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบรองกลีบดอกเล็ก ยาวราว 1.5-2.5 มม.กว้างราว 2-4 มม. โคนกลีบของมันเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็นกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 มม.โคนดอกแผ่ออกเป็นจานค่อนข้างกลม ตรงกลางดอกมีทั้งเกสรตัวผู้ และตัวเมีย

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ส่วนปลายผลนูน จักเป็นพูลึก 5 พู ยาวราว 1 ซม.

เมล็ด : เมล็ดกระจับนกเป็นรูปรี ปลายและโคนมน มีขนาดยาวราว 5-6 มม.

การขยายพันธุ์ : กระจับนกเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ทนต่อความร้อน และแสงแดดได้ดี มีการขยายพันุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือก

สรรพคุณของสมุนไพร

เปลือกต้น :นำเอาเปลือกต้นของกระจับนกมาดองหรือแช่ในสุรา ใช้ดื่มกินก่อนอาหารจะทำให้อยากอาหาร รับประทานอาหารได้มาก ทำให้เจริญอาหาร

ถิ่นที่อยู่ : กระจับนก เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณป่าที่มีระดับต่ำถึง 1.3 กม.



จากเว็บ http://www.samunprix.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...