วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กระเทียม

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae

ส่วน Magnoliophyta

ชั้น Liliopsida

อันดับ Asparagales

วงศ์ Alliaceae


วงศ์ย่อย Allioideae

เผ่า Allieae

สกุล Allium

สปีชีส์ A. sativum

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn.

ชื่อท้องถิ่น หอมเทียม (ภาคเหนือ) เทียน หัวเทียน (ภาคใต้) กระเทียมขาว หอมขาว (อุดรธานี)
กระเทียม(ภาคกลาง)

ลักษณะของพืช
กระเทียม เป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่าหัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ
ติดกันแน่น เนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะบางครั้งในหัวมีกลีบเดียว เรียกว่า
กระเทียมโทน หัวค่อนข้างกลมใบยาวแบน ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ ดอกสีขาวเหลืองอมชมพูม่วงผลมีขนาดเล็ก

ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวใต้ดิน

การปลูก
ใช้หัวปลูก กะเทียมชอบอากาศเย็นและดินร่วมซุย ปลูกได้ดีในทางภาคเหนือ

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้
แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
สารเคมีในหัวกระเทียม คือน้ำมันหอมระเหย Essential oil
โดยทั่วไปกระเทียมจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 0.6-1 ในน้ำมันหอมระเหย
นี้มีสารเคมีที่มีกำมะถันเป็นองค์หระกอบหลายชนิด ตัวที่สำคัญก็คือ "อัลลิซิน"
นอกจากนี้ยังมี Sulfane dimethy dipropl-disulfide sllinase "อัลลิซิน"
เป็นน้ำมันไม่มีสี ละลายได้ในน้ำ ในแอลกอฮอล์ เบนซิน และอีเทอร์ ถ้ากลั่นโดยใช้การร้อนโดยตรง จะถูกทำลาย"อัลลิซิน"ได้รับความสนใจและแยกสกัดบากกว่า มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิดด้วยกัน หัวกระเทียมสามารถลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด ได้ทั้งคนปกติและคนไข้ที่มีโฆเลสเตอรอลสูง

วิธีใช้
แก้อากาท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ถ้ารับประทานกะเทียมดิบๆ
ครั้งละประมาณ 5-7 กลีบ หลังอาหารจะสามารถช่วยได้ รักษากลาก เกลื้อน
โดยการฝานหัวกระเทียมเอามาถูเบาๆหรือโขลกคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่เป็น

คุณค่าทางอาหาร
ใช้ปรุงรสอาหารได้เป็นอย่างดี มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส
กำมะถัน ไขมัน โปรตีน วิตามิน เอ

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
เก็บในช่วงที่หัวแก่ อายุ 100 วันขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...