วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อ้อยช้าง

ชื่อสามัญ : Wodier (ฮือการค้า)

ชื่อพื้นเมือง : อ้อยช้าง กุ๊ก (เหนือ); หวีด (เชียงใหม่); กอกกั๋น (อุบลราชธานี) ;ช้งเกาะ ช้างโน้ม (ตราด) ตะคร้ำ (ราชบุรี, กาญจนบุรี) ; มีเชียง, เส่โทกี (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน) ; แม่หยู่ว้าย (กะเหรี่ยง - กาญจนบุรี); เส่งลู้ได้ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

ลักษณะ

ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลางลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่งๆ เปลือกสีเทาอมเขียวหรือขาวปนเทา เรียบ หรือแตกเป็นแผ่นๆ ห้อยย้อยลง
ใบ : เป็นช่อเรียงสลับเวียนกันช่อหนึ่งมีใบย่อย 2-7 คู่ รูปไข่แกมรูปหอก โคนเบี้ยวปลาย เป็นติ่งยาวทู่ๆ เนื้อค่อนข้างหนา หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนประปรายขอบเรียบ
ดอก : สีเหลืองอ่อน กลีบหอม ออกเป็นช่อตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกส่วนมากจะมีอยู่อย่างละ 4 กลีบดอกเพศผู้โตกว่าเพเมียเล็กน้อย
ผล : มีขนาดและลักษณะคล้ายถั่ว
เมล็ด : แข็งมาก

การกระจายพันธุ์

พบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือ จากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 20 - 700 เมตร

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ประโยชน์

ข้อมูลจากเอกสาร : ไม้ ใช้ทำกระดานพื้น ฝา รอด เครื่องเรือน เปลือกเป็นยาใส่แผล แก้ปวดท้อง ทำเชือกและทุบทำเป็นผืนสำหรับปูบนหลังช้างให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า หนัง ฯลฯ และให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol แก้เสมหะเหนียว

ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : แก่น มีรสฝาด ปรุงเป็นยาทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ


กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...