วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อังกาบหนู

ชื่ออื่น ๆ : อังกาบหนู, เขี้ยวเนื้อ, เขี้ยวแก้ง (ภาคกลาง), อังกาบ (นครศรีธรรมราช), มันไก่ (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria prionitis Linn.

วงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะ ทั่วไป : ต้น : อังกาบหนูเป็นสมุนไพรไม้พุ่ม ที่มีกิ่งก้านแตกออกไปรอบ ๆ ต้น ตามข้อต้นหรือที่โคนต้นจะมีหนามแหลมยาวประมาณครึ่งเซนต์ อยู่ซึ่งมีสีเขียว ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร

ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของบเป็นรูปรี ปลายใบและโคนใบจะแหลม แต่ตรงกลางใบจะกว้าง ขอบใบเรียบไม่มีจัก มีสีเขียว ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5-1 นิ้วยาว 1.5-2 นิ้วมีก้านใบสั้นจะยาวรอบ ๆ ครึ่งเซนต์ได้

ดอก : เป็นไม้ดอกเดี่ยว และจะออกอยู่ตามข้อต้นลักษณะของดอกแยกออกเป็น 5 กลีบเท่า ๆ กัน มีสีเหลือง เกสรกลางดอกมี 4 อัน ใบประดับที่รองรับดอกอยู่จะเป็นหนามแหลม 1 คู่ กลีบรองกลีบดอกสีเขียว 5 กลีบยาว 0.5 นิ้วเช่นกัน

ผล : เป็นฝักมนรี โคนกว้างปลายจะแหลม โตประมาณ 0.8 ซม. ยาว 1.8-2 ซม.

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญงอกงามได้ดีในดินทุกชนิดโดยเฉพาะดินที่ร่วนซุย และมีความชื้นปานกลาง ขยายพันธ์ด้วยเมล็ด และตอน

ส่วนที่ใช้ : ใบ และราก ของอังกาบหนู

สรรพคุณ : ใบ ใช้แก้งูกัด เคี้ยวแก้ปวดฟัน หรือนำใบมาคั้นกิน แก้เป็นหวัด ช่วยลดไข้ แก้อัมพาต โรคปวดตามข้อ โรคคัน บวมใช้ทาแก้ปวดหลัง หรือผสมกับน้ำมะนาวแก้ขี้กลาก แก้ท้องผูก หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรักษาเลือดออกตามไรฟัน ใช้หยอดหู แก้โรครูมาติซั่ม
ราก เป็นยาลดไข้ เมื่อเอารากมาผสมกับน้ำมะนาวแก้ขี้กลากแก้อาหารไม่ย่อย



กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...