ชื่อสามัญ : Java Tea, Kidney Tea Plant, Cat is Wiskers
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon stamineus Benth.
วงศ์ : LABIATAE
ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นนั้นจะมีความสูงประมาณ 50-100 ซม. ต้นกิ่งอ่อน จะเป็นสี่เหลี่ยม
ใบ : จะออกเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบนั้นขอบใบจักเป็นสีเขียวเข้ม ตรงปลายใบจะสอบเรียวและแหลม ส่วนตรงโคนใบจะสอบแหลม ตรงกลางนั้นจะกว้างมาก
ดอก : จะออกดอกตรงปลายยอด เป็นสีขาวอมม่วงเรื่อ ๆ มีความยาวประมาณ 20-25 ซม. ดอกจะออกเป็นชั้น ๆ ตามก้านช่อดอกชั้นละประมาณ 6 ดอก มีลักษณะคล้ายดอกกะเพราะ หรือดอกโหระพา
เกสร : เกสรตัวผู้จะมีอยู่ประมาณ 4 อัน จะยาวยื่นออกมาพันกลีบดอก มีลักษณะคล้ายหนวดแมว ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน แต่ยาวกว่าเกสรตัวผู้
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ เป็นยา
สรรพคุณ : ใบ ใช้รักษาโรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคคุดทะราด ใช้ใบกับกิ่งต้มอาบ รักษาโรคหนองใน โดยการใช้กิ่งและใบต้มสารส้มกินวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
อื่น ๆ : พรรณไม้ชนิดนี้ที่ใบจะมีสาร Orthosiphonin และเกลือของโปแตสเซี่ยมจะช่วยทำให้ Uric acid และเกลือ urate ไม่ไปสะสมที่ใด
ถิ่น ที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย พม่า แหลมอินโดจีน หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค ชะวา ฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยก็มีอยู่ทั่ว ๆ ไป บางบ้านมักจะปลูกไว้เป็นไม้ประดับ หรือปลูกตามวัดใช้เป็นยา
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : ใบนั้นจะประกอบด้วยเกลือของโปแตสเซี่ยม ในปริมาณที่สูง จึงมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะในคนไข้ที่เป็นโรคไต และโรคบวมน้ำ (edema) โดยการใช้ใบทำเป็นยาชงดื่มแทนน้ำ และยังเป็นยาบรรเทาอาการปวด และอาการบวมตามข้อได้ สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานให้ดื่มน้ำสกัดจากใบจะทำให้ปริมาณของน้ำตาลใน เลือดลดลง และจะทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงด้วย
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ใบ : จะออกเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบนั้นขอบใบจักเป็นสีเขียวเข้ม ตรงปลายใบจะสอบเรียวและแหลม ส่วนตรงโคนใบจะสอบแหลม ตรงกลางนั้นจะกว้างมาก
ดอก : จะออกดอกตรงปลายยอด เป็นสีขาวอมม่วงเรื่อ ๆ มีความยาวประมาณ 20-25 ซม. ดอกจะออกเป็นชั้น ๆ ตามก้านช่อดอกชั้นละประมาณ 6 ดอก มีลักษณะคล้ายดอกกะเพราะ หรือดอกโหระพา
เกสร : เกสรตัวผู้จะมีอยู่ประมาณ 4 อัน จะยาวยื่นออกมาพันกลีบดอก มีลักษณะคล้ายหนวดแมว ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน แต่ยาวกว่าเกสรตัวผู้
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ เป็นยา
สรรพคุณ : ใบ ใช้รักษาโรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคคุดทะราด ใช้ใบกับกิ่งต้มอาบ รักษาโรคหนองใน โดยการใช้กิ่งและใบต้มสารส้มกินวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
อื่น ๆ : พรรณไม้ชนิดนี้ที่ใบจะมีสาร Orthosiphonin และเกลือของโปแตสเซี่ยมจะช่วยทำให้ Uric acid และเกลือ urate ไม่ไปสะสมที่ใด
ถิ่น ที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย พม่า แหลมอินโดจีน หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค ชะวา ฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยก็มีอยู่ทั่ว ๆ ไป บางบ้านมักจะปลูกไว้เป็นไม้ประดับ หรือปลูกตามวัดใช้เป็นยา
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : ใบนั้นจะประกอบด้วยเกลือของโปแตสเซี่ยม ในปริมาณที่สูง จึงมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะในคนไข้ที่เป็นโรคไต และโรคบวมน้ำ (edema) โดยการใช้ใบทำเป็นยาชงดื่มแทนน้ำ และยังเป็นยาบรรเทาอาการปวด และอาการบวมตามข้อได้ สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานให้ดื่มน้ำสกัดจากใบจะทำให้ปริมาณของน้ำตาลใน เลือดลดลง และจะทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงด้วย
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น