ชื่ออื่น ๆ : หลิว (จีนกลาง), ลิ้ว (แต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Weeping Willow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salix babylonica Linn.
วงศ์ : SALICACEAE
ลักษณะ ทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร กิ่งก้านสาขา ห้อยลู่ลง กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นเล็กน้อย
ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบยาวแหลมเรียว ริมขอบใบหยักเล็กน้อย หลังใบเป็นสีเขียว ใต้ท้องใบมีสีขาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 นิ้ว ยาวประมาณ3.5-6.5 นิ้ว ก้านใบยาวราว 6-12 มม.
ดอก : ลักษณะของดอก ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกเพศผู้และเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้นกัน ดอกเพศผู้มีขนาดยาวประมาณ 1.5-2 ซม. สำหรับดอกเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม.
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดด ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกประเภท ชอบขึ้นอยู่ริมแม่น้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง
ส่วนที่ใช้ : ช่อดอกและยอดอ่อน กิ่ง ใบ
สรรพคุณ : ช่อดอกและยอดอ่อน ใช้สด นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ปวด และลดไข้ เป็นต้น
กิ่ง ใช้กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคปวดข้อขัดเบา ขับปัสสาวะ บวมน้ำ นิ่ว ขับลม ตับอักเสบ หรือใช้กิ่งนำมาเผาไฟ ให้เป็นเถ้าแล้วเอาน้ำผสมทาบริเวณที่เป็นฝีคัณฑสูตร รำมะนาด และไฟลามทุ่ง เป็นต้น
ข้อมูลทางคลีนิค : 1. จากผู้ป่วยที่โรคเกี่ยวกับตับอักเสบชนิดเอ (hepatitis type A) ในจำนวน 253 คน ทดลองการรักษาโดยใช้กิ่งและใบสด ประมาณ 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม) เติมน้ำ 500 มล. แล้วต้มให้เหลือ 300 มล. จากนั้นแบ่งให้กินเป็น 2 ครั้ง ผลจากการรักษาปรากฏว่า มีผู้ป่วยหายขาดเลย ประมาณ 96.3%
2. จากผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก ถึงชั้นหนังแท้ ผิวหนังถูกทำลาย จนเป็นหนังพุพอง ให้ใช้กิ่งสด นำเอามาเผาไฟให้เป็นถ่าน แล้วป่นให้เป็นผงละเอียด ผสมกับน้ำมันงา
ทำให้เหลวข้น แล้วใช้ทาบริเวณแผล ไม่ต้องปิดแผล ใช้เวลารักษาติดต่อกัน 3-14 วัน แผลนั้นก็จะหาย
3. จากผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จำนวน 82 คน มีการรักษาโรค โดยการใช้กิ่ง ประมาณ 120 กรัม นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาต้มกรองเอาน้ำกิน ติดต่อกันนาน
10 วัน ผลปรากฏว่าผู้ป่วยไม่แสดงอาการชั่วคราว 34 คน อาการดีขึ้น 26 คน อาการดีขึ้นบ้าง 21 คน เหลืออีก 1 คน ไม่ได้ผลเลย
ข้อมูล ทางเภสัชวิทยา : จากการสกัด เนื้อเยื่อที่เพาะเลี้ยงจากตากิ่ง จะได้สารชนิดจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบยาวแหลมเรียว ริมขอบใบหยักเล็กน้อย หลังใบเป็นสีเขียว ใต้ท้องใบมีสีขาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 นิ้ว ยาวประมาณ3.5-6.5 นิ้ว ก้านใบยาวราว 6-12 มม.
ดอก : ลักษณะของดอก ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกเพศผู้และเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้นกัน ดอกเพศผู้มีขนาดยาวประมาณ 1.5-2 ซม. สำหรับดอกเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม.
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดด ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกประเภท ชอบขึ้นอยู่ริมแม่น้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง
ส่วนที่ใช้ : ช่อดอกและยอดอ่อน กิ่ง ใบ
สรรพคุณ : ช่อดอกและยอดอ่อน ใช้สด นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ปวด และลดไข้ เป็นต้น
กิ่ง ใช้กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคปวดข้อขัดเบา ขับปัสสาวะ บวมน้ำ นิ่ว ขับลม ตับอักเสบ หรือใช้กิ่งนำมาเผาไฟ ให้เป็นเถ้าแล้วเอาน้ำผสมทาบริเวณที่เป็นฝีคัณฑสูตร รำมะนาด และไฟลามทุ่ง เป็นต้น
ข้อมูลทางคลีนิค : 1. จากผู้ป่วยที่โรคเกี่ยวกับตับอักเสบชนิดเอ (hepatitis type A) ในจำนวน 253 คน ทดลองการรักษาโดยใช้กิ่งและใบสด ประมาณ 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม) เติมน้ำ 500 มล. แล้วต้มให้เหลือ 300 มล. จากนั้นแบ่งให้กินเป็น 2 ครั้ง ผลจากการรักษาปรากฏว่า มีผู้ป่วยหายขาดเลย ประมาณ 96.3%
2. จากผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก ถึงชั้นหนังแท้ ผิวหนังถูกทำลาย จนเป็นหนังพุพอง ให้ใช้กิ่งสด นำเอามาเผาไฟให้เป็นถ่าน แล้วป่นให้เป็นผงละเอียด ผสมกับน้ำมันงา
ทำให้เหลวข้น แล้วใช้ทาบริเวณแผล ไม่ต้องปิดแผล ใช้เวลารักษาติดต่อกัน 3-14 วัน แผลนั้นก็จะหาย
3. จากผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จำนวน 82 คน มีการรักษาโรค โดยการใช้กิ่ง ประมาณ 120 กรัม นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาต้มกรองเอาน้ำกิน ติดต่อกันนาน
10 วัน ผลปรากฏว่าผู้ป่วยไม่แสดงอาการชั่วคราว 34 คน อาการดีขึ้น 26 คน อาการดีขึ้นบ้าง 21 คน เหลืออีก 1 คน ไม่ได้ผลเลย
ข้อมูล ทางเภสัชวิทยา : จากการสกัด เนื้อเยื่อที่เพาะเลี้ยงจากตากิ่ง จะได้สารชนิดจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น