วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หมากผู้หมากเมีย

หมากผู้หมากเมีย

ชื่ออื่น ๆ
: หมากผู้ (ภาคเหนือ), มะผู้มะเมีย(ภาคกลาง), ทิฉิ่วเฮียะ (จีน-แต้จิ๋ว)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordyline fruticoss A. Cheval

วงศ์ : AGAVACEAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้านสาขามากนัก
ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร

ใบ : ใบออกเป็นวงสลับกัน บริเวณส่วนยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม มีขนาดยาวประมาณ 12-20 ซม. กว้างประมาณ 2-4 นิ้ว ใบมีสีแดงเขียว หรือสีแดงม่วง

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 12 นิ้ว ออกตามบริเวณยอดลำต้น ลักษณะของดอกย่อย มีกลีบเลี้ยง และกลีบดอกอย่างละ 6 กลีบ ดอกมีเป็นสีม่วงแดง หรือสีชมพูสลับด้วยสีเหลือง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม.

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มม. ผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 1-3 เม็ด

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกประเภท มีการขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ แยกลำต้น

ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ราก

สรรพคุณ : ใบ ใช้ใบสด ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือดปัสสาวะ เป็นเลือด ไอ เจ็บกระเพาะอาหาร ไอเป็นเลือด หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกหรือทา บริเวณที่เป็นบาดแผล

ดอก ใช้ดอกแห้ง ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้วัณโรคปอด ไอเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด และเป็นริดสีดวงทวาร หรือใช้ดอกสดนำมาตำให้ละเอียด

ใช้พอก ห้ามเลือด แก้บวมอักเสบ เป็นต้น

ราก ให้รากแห้ง ประมาณ 3-5 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บิด ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย และแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ เป็นต้น

ข้อห้ามใช้ : หญิงที่มีครรภ์ ห้ามรับประทาน




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...