ชื่ออื่น ๆ : หนามขี้แฮด (ภาคเหนือ), มะนาวไม่รู้โห่ (ภาคกลาง), มะนาวโห่ (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa carandas Linn.
วงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะ ทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-3 ฟุต ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขา ทั่วลำต้นมีหนามแหลมยาวประมาณ 2 นิ้ว
ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ป้อม หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว ยาวประมาณ 1.5-3 นิ้ว ริมขอบใบเรียบ ไม่หยัก พื้นผิวใบเกลี้ยงเรียบเป็นมัน ใต้ท้องใบมีเส้นใบมาก และเห็นได้ชัดมาก
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายยอด ดอกมีสีขาว หรือสีชมพู กลิ่นหอม ลักษณะของดอกย่อย มีกลีบรองกลีบดอก ซึ่งมีโคนกลีบเชื่อมติดกัน ส่วนปลายกลีบแยกเป็นรูปหอก กลีบดอกมี 5 กลีบ ยาวประมาณ 1 ซม. ข้างในหลอดดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน และตัวเมีย 1 อัน
ผล : ผลมีลักษณะ เป็นรูปรี มีขนาดยาวประมาณ 0.5-1 นิ้วผลอ่อนมีเป็นสีแดง แต่พอผลแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ข้างในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกประเภทต้องการความชื้นในปริมาณปานกลาง
มีการขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ ใบ ผล ราก
สรรพคุณ : เนื้อไม้ ใช้เนื้อไม้ นำมาปรุงเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงไขมัน ในร่างกายให้แข็งแรง และเป็นยาแก้อ่อนเพลีย เป็นต้น
ใบ ใช้ใบสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ปวดหู แก้ไข้ แก้เจ็บคอ และแก้เจ็บปาก เป็นต้น
ผล ใช้ทั้งผลสุก และผลดิบ กินเป็นยาแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน และเป็นยาฝาดสมาน เป็นต้น
ราก ใช้รากสด นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาขับพยาธิ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร หรือใช้รากสดนำมาตำให้ละเอียด ผสมกับสุรา นำมาทาหรือพอกแก้คัน และใช้พอกบาดแผล เป็นต้น
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa carandas Linn.
วงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะ ทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-3 ฟุต ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขา ทั่วลำต้นมีหนามแหลมยาวประมาณ 2 นิ้ว
ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ป้อม หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว ยาวประมาณ 1.5-3 นิ้ว ริมขอบใบเรียบ ไม่หยัก พื้นผิวใบเกลี้ยงเรียบเป็นมัน ใต้ท้องใบมีเส้นใบมาก และเห็นได้ชัดมาก
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายยอด ดอกมีสีขาว หรือสีชมพู กลิ่นหอม ลักษณะของดอกย่อย มีกลีบรองกลีบดอก ซึ่งมีโคนกลีบเชื่อมติดกัน ส่วนปลายกลีบแยกเป็นรูปหอก กลีบดอกมี 5 กลีบ ยาวประมาณ 1 ซม. ข้างในหลอดดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน และตัวเมีย 1 อัน
ผล : ผลมีลักษณะ เป็นรูปรี มีขนาดยาวประมาณ 0.5-1 นิ้วผลอ่อนมีเป็นสีแดง แต่พอผลแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ข้างในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกประเภทต้องการความชื้นในปริมาณปานกลาง
มีการขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ ใบ ผล ราก
สรรพคุณ : เนื้อไม้ ใช้เนื้อไม้ นำมาปรุงเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงไขมัน ในร่างกายให้แข็งแรง และเป็นยาแก้อ่อนเพลีย เป็นต้น
ใบ ใช้ใบสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ปวดหู แก้ไข้ แก้เจ็บคอ และแก้เจ็บปาก เป็นต้น
ผล ใช้ทั้งผลสุก และผลดิบ กินเป็นยาแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน และเป็นยาฝาดสมาน เป็นต้น
ราก ใช้รากสด นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาขับพยาธิ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร หรือใช้รากสดนำมาตำให้ละเอียด ผสมกับสุรา นำมาทาหรือพอกแก้คัน และใช้พอกบาดแผล เป็นต้น
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น