วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ผักกาดหัว (หัวไชเท้า)

ผักกาดหัว หรือหัวไชเท้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Raphanus sativus Linn., Cv group Chinese radish

ชื่อพ้อง : R. sativus L. var niger (Miller) Persoon, R. sativus L. var hortensis Backer,

ชื่ออื่น ๆ : ไช่เท้า ไช่โป๊ ผักกาดขาว ผักกาดจีน ผักกาดหัว ผักขี้หูด ผักเปิ๊กหัว Chinese radish, Oriental radish, Daikon

ส่วนที่ใช้ : ลำต้นใต้ดิน

สารออกฤทธิ์ : Enzymes


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ผักกาดหัว ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raphanus sativus var. longipinnatus L. เป็นพืชในตระกูล Cruciferae เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ อายุ 1 หรือ 2 ฤดู แต่ส่วนมากจะปลูกเป็นพืชฤดูเดียว
ราก เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารขยายพองโตออก ด้านข้างอาจมีรากฝอยบ้าง เป็นส่วนที่นำมาบริโภคเป็นอาหาร
ลำต้น สั้นเชื่อมต่อยู่ระหว่างรากกับใบ
ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบเรียวยาว ปลายใบมนขอบใบเป็นคลื่นเว้าเข้าหลายหยัก
ดอก ออกเป็นช่อแบบราซีม มีสีขาวหรือสีม่วงติดฝักชนิดผ่าแล่ง

พันธุ์ พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ เคยู-1 ( KU – 1 ), โอดับบลิว 1 ( OW – 1 ), เอเวอเรส ไฮบริด ( Everest Hybrid ), และ ซากาตา ( Sakata ) เป็นต้น

การปลูกและการดูแลรักษา

ควรปลูกผักกาดหัวในดินร่วนปนทราย ไม่ควรปลูกในดินเหนียวจัด จะลงหัวได้ลำบาก ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 18 – 25 องศาเซลเซียส ผักกาดหัวเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรพรวนดินอย่างดี ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก เพื่อบำรุงดินประมาณ 3 ตันต่อไร่ ยกแปลงปลูกขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ใช้ระยะปลูก 20-30 x30-45 ซม. โดยใช้เมล็ดหยอดเป็นแถว แต่ละแถวห่างกัน 30-45 ซม.กลบเมล็ดลึก 1-1.5 ซม. ด้วยดินร่วนผสมปุ๋ยคอกอย่างละเอียด รดน้ำให้ชุ่มแล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟาง เมื่อต้นกล้างอกและมีใบจริงแล้ว 2 – 3 ใบ ให้ถอนแยกเหลือต้นที่แข็งแรงไว้ในระยะห่างแต่ละต้นประมาณ 20 – 30 ซม.

การให้น้ำผักกาดหัว

จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าผักกาดหัวขาดน้ำหัวจะไม่เจริญเติบโตและจะมีเส้นใยมาก

การใส่ปุ๋ยผักกาดหัว

ในระยะต้นกล้าเริ่มตั้งตัวให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 20-25 วัน ให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ประมาณ 100 – 150 กิโลกรัมต่อไร่

โรคและแมลง

โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคเน่าคอดิน โรคเน่าดำ และโรคเน่าเละ
ส่วนแมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก ด้วงปึกแข็ง หนอนชอนใบ หนอนกระทู้ผัก ด้วงหมัดผัก และไส้เดือนฝอย เป็นต้น

การเก็บเกี่ยว

ผักกาดหัว จะแก่เพียงพอที่จะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 40 – 50 วัน สำหรับพันธุ์เบา ถ้าเป็นพันธุ์หนักจะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 70 – 90 วัน


จากเว็บ http://www.vegetweb.com

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ21 ธันวาคม 2554 เวลา 09:06

    อยากให้ทุกคนหันมากินหัวใชเถา..เพื่อสุภาพ ของดีเมืองไทย

    ตอบลบ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...