วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาว, Brussels Sprouts

ชื่อพื้นเมือง : กะหล่ำดาว, กะหล่ำหัวลำต้น (ภาคเหนือ), กะหล่ำปลีพวง

ชื่อวิทยาศาสตร์กะหล่ำดาว : Brassica oleracea L. var. gemmifera (DC.) Thell.

ชื่อวงศ์กะหล่ำดาว : BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)

ชื่อสามัญกะหล่ำดาว : Brussels Sprouts

กะหล่ำดาว จัดอยู่ในกลุ่มพืชเมืองหนาว อยู่ในตระกูลกะหล่ำ การเจริญเติบโตเป็นพืชสองฤดู ต้องการสภาพปลูกที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง ส่วนที่ใช้บริโภคคือ หัวขนาดเล็ก เข้าปลีแน่น คล้ายกะหล่ำปลี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.5 เซนติเมตรในยุโรป และ 2.4-4.8 เซนติเมตร ในสหรัฐอเมริกา เจริญจากข้อระหว่างต้นและกาบใบ และเจริญต่อเนื่องจนกระทั่งต้นชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นสูงแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ ลำต้นสูง 60-100 เซนติเมตร หรือสูงกว่า และพันธุ์ลำต้นเตี้ย 60 เซนติเมตร ให้ผลผลิตประมาณ 100 หัวต่อต้น สายพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวเร็ว จะให้ผลผลิตเร็วและผลผลิตต่ำกว่าสายพันธุ์หนักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนาน

สายพันธุ์กะหล่ำดาว
ควรทดสอบสายพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกได้ดี สายพันธุ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน
Jade Cross E hybrid, Royal Marvel and Long Island Improved, Lunet, Oliver, Craton, Fortress, Prince Marvel, Royal Marvel, Rubine (สีแดง)

สภาพดินและการเตรียมดิน
เจริญได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีอินทรียวัตถุและไนโตรเจนสูง ระบายน้ำได้ดี pH 6.0-6.8 การเตรียมดินควรหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนเตรียมดิน ในบางพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินลูกรัง ควรเจาะร่องปลูกและผสมวัสดุปลูกลงในร่องปลูก

การใส่ปุ๋ยเคมี
ควรใส่ตามผลการวิเคราะห์ดินและพืช เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารสูง จึงจำเป็นต้องมีธาตุอาหารพอเพียง สำหรับการเจริญให้ผลผลิตและคุณภาพสูง

การเพาะเมล็ด
จำนวนเมล็ด 1 กรัมมีประมาณ 350 เมล็ด ทดสอบความงอกก่อนเพาะเมล็ด ก่อนเพาะเมล็ดควรแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 25-30 นาที นำออกมาผึ่งให้แห้ง อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ด 20-30 องศาเซลเซียส หยอดเมล็ดในถาดเพาะ วัสดุเพาะ ดินร่วน + ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก + 12-24-12

การย้ายปลูก
ย้ายปลูกหลังหยอดเมล็ด 15-20 วัน ระยะปลูก 30-50 x 75-100 เซนติเมตรขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

การดูแลรักษา
ในแบ่งแห่งนิยมปลิดยอด เพื่อให้เก็บเกี่ยวเร็ว ขนาดสม่ำเสมอ ผลผลิตและคุณภาพสูง โดยปลิดเมื่อต้นเจริญเต็มที่และปลีข้างล่างมีขนาด 0.5-0.75 นิ้ว ในบางแห่งจะทยอยปลิดใบล่างออก เพื่อให้ได้รับแสงแดดและช่วยในการสร้างอาหาร

การให้น้ำ
กะหล่ำดาวเป็นพืชที่ต้องการน้ำสูง และระยะเวลาในการปลูก เก็บเกี่ยวนาน เพื่อให้ปลีขนาดใหญ่ ผลผลิตและคุณภาพสูง ควรให้ความชื้นพอเพียงและสม่ำเสมอ หรือ 1-1.5 นิ้วต่ออาทิตย์ หรือ 15-20 นิ้วต่อฤดูปลูก

การเก็บเกี่ยว
80-100 วันหลังหยอดเมล็ด หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-4.0 เซนติเมตร หัวแน่น ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยเริ่มเก็บเกี่ยวจากโคนต้น

หลังจากเก็บเกี่ยวและปลิดใบล่าง ต้นเจริญสูงขึ้น ทำให้มีใบและปลีเพิ่มขึ้น การเด็ดยอดให้ปลีขนาดใหญ่และสม่ำเสมอ ผลผลิตประมาณ 1 กิโลกรัมต่อต้น หลังเก็บเกี่ยวควรลดอุณหภูมิเฉียบพลันลงถึง 2 องศาเซลเซียส ขนส่งโดยการใส่น้ำแข็งในภาชนะบรรจุ

การบรรจุในถุงพลาสติกที่ระบายอากาศได้ จะช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำในพืช เนื่องจากกะหล่ำดาวมีอัตราการหายใจสูง นอกจากนี้การละสมคาร์บอนไดออกไซด์ในภาชนะบรรจุสูงกว่า 20% ทำให้มีกลิ่นและรสชาติเปลี่ยนไป คุณภาพต่ำ ไม่สามารถขายได้

การเก็บรักษา
เก็บรักษา 30 วัน ในอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% อุณหภูมิสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส ปลีจะเหลืองภายในเวลา 1 อาทิตย์ การเก็บรักษานานจะทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีดำอัตราการเสื่อมของเนื้อเยื่อในอุณหภูมิ 4.4 องศาเซลเซียส จะสูงเป็นสองเท่าของอุณหภูมิ –1 องศาเซลเซียส

การเก็บรักษาในภาชนะบรรจุประกอบด้วย ออกซิเจน 2.5-5% และคาร์บอนไดออกไซด์ 5-7.5% เก็บรักษาในอุณหภูมิ 4.4 องศาเซลเซียส สามารถยืดอายุการเก็บรักษา 1 อาทิตย ์

ประโยชน์
ปลีหรือตาข้างใช้กินเป็นผักได้


จากเว็บ http://www.vegetweb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...