วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ผักกาดขาวปลี

ผักกาดขาวปลี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica rapa var. pekinensis (Lour) Olsson. จัดอยู่ในตระกูล Brassicaceae เป็นผักพื้นเมือง ในแถบ เอเชียตะวันออก เป็นพืช อายุสองปี แต่นิยมปลูก เป็นพืช ล้มลุกปีเดียว มีถิ่นกำเนิด ทางตอนเหนือ ของประเทศจีน มีระบบรากแก้ว แต่ตื้น ลำต้นสั้น ไม่มีกิ่งแขนง ใบมีสีเขียวอ่อน ลักษณะเป็น ผืนเดียวตลอด กาบใบหรือ ก้านใบกว้าง แบน มีสีขาว กรอบ มีน้ำมาก ใบจะห่อคล้ายปลี อาจแน่น หรือหลวม ขึ้นกับสายพันธุ์ จะเริ่มห่อหัว เมื่อมี ใบจริง 12-15 ใบ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
ผักกาดขาวปลี เป็นพืชผักเมืองหนาว ต้องการความหนาวเย็น ในการเจริญ อุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง18-20′C การปลูก ในสภาพอุณหภูมิสูงกว่า 25′C จะส่งผลให้ห่อหัวช้า คุณภาพต่ำ เข้าปลีหลวม มีรสขม การเพาะกล้าหรือ ย้ายกล้าปลูก บนพื้นที่สูง ในช่วงฤดูหนาว หรือสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำจะกระตุ้น ให้แทงช่อดอกเร็วขึ้น ดังนั้นควรเลือก ใช้พันธุ์ที่เหมาะสม

ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรเป็นดินที่ร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง pH 6.0-6.5 การเตรียมดิน ควรขุดให้หน้าดินลึก การระบายน้ำ และอากาศดี ควรให้น้ำอย่างพอเพียง และสม่ำเสมอ และได้รัีบแสงแดดอย่างเต็มที่ ตลอดทั้งวัน

การใช้ประโยชน์และคุณค่าอาหาร
ผักกาดขาวปลี ประกอบไปด้วยคุณค่าทางอาหาร หลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซี ค่อนข้างสูง มีกรดโฟลิค (folic acid) ที่มีบทบาทควบคุม ความเป็นปกติ ของทารกในครรภ์มารดาระยะ 3 เดือนแรก และช่วยกระบวนการ สังเคราะห์ สารพันธุกรรม DNA ทำให้เม็ดเลือดแดง แข็งแรง ถ้ามีกรดโฟลิค ไม่เีพียงพอ อาจทำให้ทารกพิการได้ โดยกระดูกสันหลังปิด ไม่สนิท นอกจากนี้ ผักกาดขาวปลี ยังช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้พิษสุรา

สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลายชนิด เช่น ใส่ซุป ผัด ทำแกงจืด จิ้มน้ำพริก และยังสามารถ นำมาแปรรูปเป็นผักตากแห้ง ทำกิมจิ (ผักดองเกาหลี) ผักกาดดอง หรือนำมาตกแต่งจานอาหาร

การปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า เพาะกล้าในถาดหลุม เพราะจะทำให้การเข้าปลีดีขึ้น ในช่วงฤดูฝน อาจใช้การหยอดเมล็ดได้ หากเป็นฤดูร้อน ควรเพาะในถาดหลุม อายุกล้าไม่ควรเกิน 21 วัน
ข้อควรระวัง

การหยอดเมล็ดไม่ควรเกินหลุมละ 2 เมล็ด
ช่วงเพาะกล้าควรมี การฉีดพ่นธาตุอาหารเสริม และโบรอนด้วย
การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด อย่างน้อย 14 วัน เพื่อกำจัดโรค แมลงและวัชพืช ใส่ปูนขาวอัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. และปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. เก็บเศษวัชพืชออกขึ้นแปลง ขนาด 1 ม.

การปลูก



ข้อควรระวัง

ช่วงการเจริญเติบโต ระวังธาตุโบรอน ซึ่งจะแสดงอาการ กาบใบแตกเป็นรอยดำ หากเปียกจะเกิดโรคเน่าเละ และจำหน่ายไม่ได้ โดยฉีดพ่นทุก 10 วัน หลังจากย้ายปลูก
ระวังโรคใบจุด ที่เกิดจากเชื้อ Alternaria sp. ที่สามารถระบาด ได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ใบเป็นจุดเล็กๆ ไม่สามารถจำหน่ายได้ ระวังการแทงช่อดอก ในช่วงอากาศเย็นโดยเฉพาะต้นกล้าที่ได้รับความเย็นจัดนานๆ เมื่อนำไปปลูกจะทำให้ แทงช่อดอก ได้ง่ายไม่เข้าหัว ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม ในช่วงฤดูร้อน ควรให้น้ำโดยการปล่อยเข้าแปลง หากขาดน้ำ พืชจะชะงักการเจริญเติบโต มีผลต่อการเข้าปลี


การให้น้ำ ให้แบบสปริงเกอร์ หรือตามร่อง ทุก 1-2 วัน/ครั้ง

การให้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. หรือ 46-0-0 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. หลังย้ายปลูก 15-20 วัน และ 13-13-21 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. หลังย้ายปลูก 25-30 วัน โดยให้มีการกำจัดวัชพืช พร้อมกับการให้ปุ๋ย

การเก็บเกี่ยว

เก็บเกี่ยวเมื่อมีขนาด และอายุ เหมาะสมพอดี ห่อปลีแน่น ใช้มีดตัดโคนต้น แล้วทาปูนแดงที่รอบตัด
ควรให้มีใบนอกเหลือ 2-3 ใบ
ฝึ่งให้แห้ง จัดมาตรฐาน และกำจัดหัวที่เน่า หรือถูกแมลงทำลาย
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน ช่วงนี้ไม่ค่อยมีโรคแมลงรบกวน

ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, ด้วงหมัดผัก, หนอนกระทู้ดำ, หนอนใยผัก, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,

ระยะเข้าหัว 28-55 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าเละ, หนอนใยผัก, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,

ระยะโตเต็มที่ 55-56 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าเละ, หนอนใยผัก, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,

ที่มา: http://www.vegetweb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...