วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

หิรัญญิการ์

ชื่ออื่น ๆ : หิรัญญิการ์ (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beaumontia grandiflora Wall.

วงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้เถา ลำเถาเลื้อยยาว แตกกิ่งก้านสาขามาก และทั่วลำเถามีขนขึ้นเป็นสีน้ำตาลแดง มีน้ำยางเป็นสีขาว

ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือเป็นรูปไข่กลับ ปลายและโคนใบแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก พื้นผิวเรียบเป็นมัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 5-7 นิ้ว ใต้ท้องใบมีเส้นใบเห็นได้ชัด มีประมาณ 10-14 คู่ ก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 ซม.

ดอก : ดอกออกเป็นช่อตามบริเวณปลายกิ่งหรือบริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกเป็นสีขาว กลีบรองกลีบดอกมี
5 กลีบ เป็นรูปขอบขนาน หรือเป็นรูปไข่กลับ ยาประมาณ 1-1.5 นิ้ว กว้างประมาณ 0.5-1 นิ้ว กลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 4 นิ้ว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลางดอกมีเกสรตัวผู้ประมาณ 5 อัน และมีเกสรตัวเมียประมาณ 2 อัน จะเชื่อมติดกันอยู่กับกลีบดอก

ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักคู่ มีความยาวประมาณ 6-10 นิ้ว ผลเมื่อแก่เต็มที่ก็จะแตกอ้าออกเป็น 2 ซีก ข้างในผลมีเมล็ด

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิดมีการขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เมล็ด

สรรพคุณ : เมล็ด ใช้เมล็ด นำมาปรุงเป็นยาบำรุงหัวใจ และกำลัง

ถิ่นที่อยู่ : หิรัญญิการ์ เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเนปาล ในประเทศไทยก็นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก





กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...