ชื่ออื่น ๆ : ผักบั้ง (ลำปาง), ผักแดง (เลย), หางปลาช่อน (ภาคกลาง), หยางถีฉ่าว, เยวียะเสี้ยหง (จีนกลาง) เอี่ยโต่ยเช่า, เฮียะแอ่อั้ง (แต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Emilia sonchifolia (L) DC. (Cacalia sonchiflolia L.)
วงศ์ : COMPOSITAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นตั้งตรง มีความสูง ประมาณ .4-18 นิ้ว ลำต้นปกคลุมด้วยขนนุ่มทั่วไป
ใบ : ใบมีลักษณะหุ้มห่อลำต้นอยู่ มีขนาดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ปลายใบแหลมเรียว โคนใบกว้างเป็นรูปไข่ ริมขอบใบหยักเว้า หลังใบเป็นสีเขียวเข้มใต้ท้องใบมีสีม่วงแดง
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณกลางลำต้น ช่อหนึ่งจะแยกออกเป็น 2 แขนง ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก กลีบดอกส่วนโคนจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ดอกมีสีแดงเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผล : ผลเป็นผลเดี่ยว เปลือกแข็ง ผลแห้งจะไม่แตกหรืออ้าออก
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้วัชชพืช มักขึ้นตามที่ชื้นขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น, ราก
สรรพคุณ : ลำต้น ใช้ลำต้นสด ประมาณ 30-90 กรัมหรือลำต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ฝีฝักบัว เป็นบิดถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด ท้องร่วง หรือใช้ลำต้นสดตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำพอกหรือทาบริเวณที่เป็นฝีต่าง ๆ แก้ผดผื่นคัน หรือลดอาการบวมน้ำ เป็นต้น
ราก ใช้รากสด ประมาณ 10 กรัม นำมานึ่งกับเนื้อหมูแดง ให้เด็กกินเป็นยาแก้โรคตานซางขโมย
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับสตรีที่ตั้งครรภ์
ข้อมูลทางคลีนิค : จากผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ จำนวน 50 คน และ
เป็น โรคปอดอักเสบในเด็กอีก 25 คน มีการรักษา โดยการใช้ลำต้นแห้ง ประมาณ 1 กรัม นำมาทำเป็นยาฉีด เข้ากล้ามเนื้อ ผลปรากฏว่า จากการรักษา ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ
หมายเหตุ : “หูปลาช่อน (ไทย), เฮียะเอ้อัง (จีน-กรุงเทพฯ) : หางปลาช่อน (เพชรบุรี) ; ผักบั้ง
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น